๓๙๗. ลดเวลาเรียน..เพิ่มเวลารู้..ด้วยเพลง..นกพิราบ


พอเริ่มกิจกรรม..ก็ทราบทันทีว่า นักเรียนของผม..ต้องเตรียมความพร้อมก่อน ต้องสอนจากง่ายไปหายาก..และต้องสร้างความคุ้นเคยให้ได้ก่อน แล้วการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้โดยนักเรียนไม่รู้ตัว..

เริ่มกิจกรรมลดเวลาเรียน..เพิ่มเวลารู้..อย่างเป็นทางการในวันนี้ หลังจากซักซ้อมทำความเข้าใจกับคณะครูในที่ประชุมเป็นที่เรียบร้อย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยบอกครูว่า..อย่าไปตกใจกับกิจกรรมนี้ เป็นเพียงนโยบายที่เน้นย้ำให้ครู..ซ่อมเสริมเด็กอย่างเป็นระบบ..ครบถ้วน...จริงจังและจริงใจ..

เด็กเรียนรู้ช้า..สอนเสริมเติมเต็ม เด็กเก่ง เสริมศักยภาพให้เป็นเลิศ แต่ในขณะเดียวกัน เด็กสองกลุ่มต้องเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข....

คุณครู ป.๑ มีความเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษ ช่วยสอนภาษาเพื่อการสื่อสารแก่นักเรียนชั้น ป.๓ – ๔ คุณครู ป.๖ ถนัดในวิชาวิทยาศาสตร์ ก็ช่วยสอนการคิด วิเคราะห์ อย่างเป็นกระบวนการ แก่นักเรียน ป.๕ – ๖ ส่วนผมรับอาสา..สอนภาษาไทยด้วยเพลง..ให้นักเรียน ป.๑ – ๒

ตั้งใจจะใช้เพลงโรงเรียน..ที่ชื่อ..มาร์ช หนองผือ..เป็นสื่อประเดิมเริ่มต้น ด้วยเหตุผลหลายประการ ที่สำคัญก็คือ ปีการศึกษาที่ผ่านมา นักเรียนชั้นประถมต้น..ร้องกันไม่ค่อยได้..และเพลงประจำโรงเรียน ถ้าร้องได้ ก็ถือว่าเป็นบทเพลงไหว้ครู ปลุกใจให้ฮึกเหิม..อยากเรียนรู้ และสร้างการรวมใจเป็นหนึ่งเดียว..ให้เกิดสมาธิและปัญญา ในช่วงเวลาของการสอนซ่อมเสริม... แต่..ผมคิดผิดครับ..

พอเริ่มกิจกรรม..ก็ทราบทันทีว่า นักเรียนของผม..ต้องเตรียมความพร้อมก่อน ต้องสอนจากง่ายไปหายาก..และต้องสร้างความคุ้นเคยให้ได้ก่อน แล้วการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้โดยนักเรียนไม่รู้ตัว..

ต้องย้อนยุค..กลับไปหาเพลง..นกพิราบ..เริ่มต้นด้วยภาษาท่าทาง..เหมือนฝึกให้นักเรียนเคลื่อนไหวและบินไปอย่างช้าๆ..บอกนักเรียนว่า เรามาร้องเพลงกัน ร้องตามครูนะครับ....

“พรับพรึ่บพรับ พรึ่บพรับขยับบิน (ซ้ำ) ฝูงนกพิราบ ดำและเทา น่ารักจริงนา บินเวียนวน อยู่บนหลังคา กลับไปเกาะบนกิ่งพฤกษา ไซ้ปีกหางกันอยู่ไปมา (ซ้ำ) แสงแดดจ้า พากันคืนรัง “

เป็นเพลงง่ายๆ..แต่นักเรียนไม่คุ้นเคย ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหาของผม..เพราะผมไม่ได้เน้นให้นักเรียนร้องได้คล่องแคล่ว..แต่ผมจะฝึกเรื่องการออกเสียง ร. พูดคุยเรื่อง นกต่างๆ รวมทั้งนกพิราบที่เกาะบนหลังคา... สอบถามเรื่อง พฤกษา จนสุดท้าย..กลับคืนรัง (บ้าน)...

สลับด้วยท่าทางของครู..ที่ให้นักเรียนทำตาม ออกท่าทางไปพร้อมๆกัน จากนั้นก็แยกชายหญิง ท้ายที่สุด ก็ให้นักเรียนแสดงออกเป็นกลุ่ม และเป็นคู่ ดูแล้วสนุกสนาน

ผมทราบมาว่า..เพลงนี้ ใช้ภาษาท่าทางขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ไม่จำเป็นต้องเป๊ะ แบบครูนาฎศิลป์ เพียงแต่ครูกางให้สุดแขน และร้องเพลงให้เต็มเสียงก็พอ...

ช่วงที่ครูกำมือขยับปีก(พรับพรึ่บพรับ) จะงอเข่าหรือขยับเข่าเล็กน้อยก็ได้ เมื่อกางแขนสะบัดข้อมือ(ฝูงนกพิราบ) ครูเอียงคอเล็กน้อย ก็จะสวยงาม ตอนที่นกบินเวียนวน ครูหมุนตัวและซอยเท้าไปด้วย ช่วงไซ้ปีกหาง ครูต้องโน้มตัวไปทางซ้ายและขวา มือทั้งสองกางออกแบบเฉียงและโบกสะบัด แล้วกลับมาท่าจบ ยื่นแขนทั้งสองไปด้านข้างประกบมือซ้อนกัน เพื่อบอกว่า..คืนรัง..

ครับ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ จึงทำให้นักเรียนได้รู้ภาษา ได้ออกท่าทาง และได้ออกกำลังกายไปพร้อมๆกัน ทั้งครูและนักเรียน..

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 607059เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2016 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2016 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พรั่บ พรึบ พรั่บ พรึบ พรั่บ ขยับบิน เฮ้ !


เยี่ยมมากๆเลยค่ะท่าน ผอ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท