​เทคโนโลยีและภูมิปัญญาไทย ในการแก้ปัญหาภัยแล้งระดับชาติ


ประเทศไทยเรามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 512,000 ตารางกิโลเมตร หรือถ้าคิดเป็นจำนวนไร่ ก็มี 320,696,888 ไร่ มีพื้นที่เพาะปลูกด้านการเกษตรอยู่ 149,236,233 ตัวเลขนี้เมื่อปี 2556 ของสำนักเศรษฐกิจการเกษตรที่ได้รวบรวมไว้เมื่อปี 2557 และถ้าเราจะลองย้อนกลับไปดูสักสามสี่ปีที่แล้วคือเมื่อปี 2553ลองเปรียบเทียบดูก็จะพบว่า พื้นที่การเกษตรของเราลดน้อยถอยลงมากว่าแต่ก่อน เพราะสี่ปีที่แล้วนั้นเรายังมีพื้นที่ใช้สอยทางการเกษตรอยู่ที่ 149,416,681 ไร่ซึ่งหายไป180,449 ไร่ และส่วนที่เหลือก็จะเป็นพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่นอกการเกษตรและพื้นที่อื่นๆตามลำดับ

ปริมาณน้ำฝนที่ตกในบ้านเราเฉลี่ยทั้งปีก็จะมีปริมาณ

จากข้อมูลดังกล่าว ประเทศไทยเราจึงไม่น่าจะหลีกหนีความเสี่ยงเกี่ยวกับเรื่องของปัญหาภัยแล้งไปได้ โดยเฉพาะตัวเลขสถิติที่สามารถจับต้องได้จากกรมทรัพยากรน้ำด้วยแล้ว แบบนี้ยิ่งอกสั่นขวัญแขวญเกี่ยวกับภัยแล้งมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชไร่ไม้ผลมีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำเป็นปัจจัยหลักในการเพาะปลูก ในการประกอบอาชีพหลัก เพราะนอกจากเราจะประสบพบเจอปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำที่ไว้ใช้ได้น้อยแล้วเรายังมีปัญหาเรื่องของปรากฎการณ์เอลนีโญที่เกิดขึ้นทุกๆ

ความจริงเราๆท่านๆ ก็สามารถสังเกตความแปรปรวนนี้ได้ด้วยตนเองนะครับ โดยดูตัวอย่างง่ายๆจากห้วงช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาไม่นานนี้เอง

จากปัจจัยลบหลายๆ ด้านที่กล่าวมานี้ทำให้เรามิอาจนิ่งนอนใจมัวแต่รอขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรือขอความช่วยเหลือจากภาครัฐอยู่เพียงอย่างเดียวไม่ได้นะครับ โดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ระบบการชลประทานที่เราฝันกันว่าจะมีให้เกษตรกรได้อย่างทั่วถึงทุกหมู่บ้านหรือทุกพื้นที่ที่มีการเพาะปลูก ก็คงจะนานเกินรอหรืออาจจะเรียกว่าเป็นความหวังลมๆแล้งเสียก็ว่าได้หรือจะมัวหวังให้มีการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำให้เพิ่มมากขึ้นดูแล้วพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการสร้างเขื่อนก็เหลือน้อยเต็มที หรือจะเรียกว่าไม่มีเลยก็ว่าได้

และอีกปัญหาหนึ่งเกี่ยวการสร้างเขื่อนก็คือการประท้วงต่อต้านจากกลุ่มก้อนองค์กรต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับทุนสนับสนุนมาจากต่างประเทศที่ชอบเอารัดเอาเปรียบประเทศด้อยและกำลังพัฒนาอย่างเราๆ ทำให้ปัญหาการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มนั้นเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เมื่อไม่สามารถสร้างเขื่อนสร้างฝายบนพื้นที่ที่เหมาะสมได้ในบ้านเราเอง ประเทศที่มีความโดดเด่นเชี่ยวชาญเรื่องเกษตรกรรม แผ่นดินที่เคยได้ชื่อว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” ก็ไปไม่เป็น ง่อยเปลี้ยเสียขา การทำให้ประเทศเจริญประชาชนมั่งคั่งก็ทำได้ลำบาก เพราะไม่สามารถสร้างแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมได้ (ดูๆ ไปเหมือนประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลายเหล่านั้นจะรู้ว่า ถ้าประเทศเราสามารถบริหารจัดการน้ำได้เพียงพอ เราก็จะร่ำรวยมั่งคั่งเกินหน้ากว่าเขาเป็นแน่แท้

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ต้องท้อใจไปนะครับ เรายังมีทางเลือกอยู่เสมอ อย่างเช่นการน้อมนำทำตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั่นก็คือการสร้างสระนำประจำไร่นา สระน้ำแก้มลิง ให้มากเพียงพอต่อการเพาะปลูกในพื้นที่ของเราเอง เรียกได้ว่าสระน้ำประจำฟาร์มส่วนตัวของเกษตรกร เพื่อรองรับกับปริมาณน้ำฝน ที่นับวันมีพฤติกรรมที่สะเปะสะปะตกไม่เป็นที่เป็นทาง ไม่ยอมไปตกหลังเขื่อน มัวแต่มาตกหน้าเขื่อน จนทำให้ เขื่อนใหญ่ๆหลายแห่ง มีน้ำสำรองน้อยนิดลงๆ ทุกปี พายุที่เข้า มรสุมที่พัดมาก็มีแต่ฝนที่ตกอยู่หน้าเขื่อน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งที่เราจะทำสระน้ำประจำฟาร์มส่วนตัวของเราเอง

แต่อย่างว่าไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบบางพื้นที่ของพี่น้องเกษตรกรก็มีปัญหาในเรื่องของสระน้ำที่รั่วซึมกักเก็บน้ำไม่อยู่โดยเฉพาะเมื่อขุดลงไปแล้วพื้นด้านล่างเป็นพื้นที่ดินทราย ดินร่วน มีรูรั่วซึม ซึ่งทำให้น้ำในบ่อหรือสระนั้นๆ ไม่สามารถที่จะกักเก็บน้ำให้อยู่ได้ยาวนานเพียงพอต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม บางพื้นที่ก็ปล่อยน้ำลงไปแป๊ปเดียวก็แห้งแล้ว เพราะสาเหตุจากปัญหาเนื้อดินที่มี รูรั่ว รอยแยกแตกระแหง มีช่องว่างของท่อแคปปิรารี

ในกรณีของพื้นบ่อหรือพื้นสระมีปัญหาการกักเก็บน้ำไม่อยู่ รั่วซึมได้ง่าย เราสามารถดูแลแก้ไขได้ด้วยการใช้กลุ่มของสารโพลิเอคริลามายด์

กลับมาที่สารอุดบ่อ หรือ โพลิเอคริลามายด์ (

สารอุดบ่อนี้ถือว่าเป็นญาติห่างกับ สารอุ้มน้ำ (

ส่วนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเกี่ยวกับ สารอุดบ่อ (

วิธีการทำให้ทำการหว่าน สารอุดบ่อ (ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการสร้างเมือกธรรมชาติ (Bio Slam) เสริมเข้าไปช่วยอีกทางหนึ่งโดยการทำให้พื้นบ่อเกิดเมือกหรือตะไคร่น้ำขึ้นมาเหมือนกับ ห้วย หนอง คลอง บึง ในสมัยก่อนซึ่งเมื่อลองนึกภาพว่าเราได้จูงควายลงไปเล่นน้ำแบบนิยายเรื่อง ขวัญ-เรียม เมื่อมีโอกาสที่เท้าสัมผัสกับพื้นจะรู้สึกได้ว่ามีความลื่นคล้ายมีเมือก หรือตะไคร่น้ำอยู่ที่พื้นบ่อนั่นแหละครับ คือเมือกธรรมชาติ (Bio Slime) นั่นเอง เราสามารถสร้างมันขึ้นเองโดยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือมูลสัตว์นำไปหว่านโรยให้ทั่วบ่อหลังจากปล่อยน้ำได้ที่แล้ว หรือถ้ากลัวว่าน้ำจะเน่าเพราะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกมากเกินไป ก็แนะนำให้นำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกห่อใส่ผ้ามุ้งเขียวไว้ก็ได้แล้วนำไปปักไว้ตามจุดต่างๆ เมื่อน้ำเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวก็ยกขึ้นไว้ขอบบ่อ เพราะนั่นแสดงว่าเกิดเมือก (Bio Slime) ที่พื้นบ่อขึ้นมาแล้วด้วยเช่นกันเพียงเท่านี้เราก็สามารถสร้างเมือกธรรมชาติเสริมประสิทธิภาพกับสารอุดบ่อให้แก่สระน้ำประจำฟาร์มเขาเราได้ไม่ยากแล้วล่ะครับ หลังจากนี้ยังอาจจะนำไรแดง กุ้งฝอย มาปล่อยสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่งก็ได้เช่นเดียวกันนะครับ

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 606451เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท