ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)


อุปกรณ์การตัดเย็บ

อุปกรณ์การตัดเย็บ หมายถึง เครื่องมือเครื่องใช้ในการตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นองค์ประกอบสำคัญของงานตัดเย็บ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ในการตัดเย็บและใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับหน้าที่ ตลอดจนดูแลรักษาอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพที่ใช้ได้ดีและหยิบใช้ได้สะดวกตลอดเวลา

อุปกรณ์ที่ใช้วัด

1. สายวัด

2. ไม้บรรทัด

3. ไม้ฉาก

4. ไม้โค้งสะโพก

อุปกรณ์ที่ใช้ตัด

5. กรรไกร

6. ที่เลาะผ้า

อุปกรณ์ที่ใช้ทำเครื่องหมาย

7.ลูกกลิ้ง

8. ดินสอ

9. ยางลบ

10. กระดาษกดรอย

11. ชอล์กเขียนผ้า

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเย็บ

12. เข็มมือ

13. เข็มจักร

14. เข็มหมุด

15. ด้ายเย็บผ้า

16. หมอนเข็ม

17. ปลอกนิ้ว

อุปกรณ์ที่ใช้รีด

18. เตารีด

19. ที่รองรีด

20. หมอนรองรีด


ขั้นตอนการตัดเย็บเบื้องต้น

1. ขั้นตอนการวัดตัว เป็นการวัดขนาดเพื่อตรวจสอบความกว้าง ความยาว ความหนา ของสัดส่วน ซึ่งการวัดตัวนี้สำคัญมาก เพราะว่าจะส่งผลถึงลักษณะของผลสำเร็จ เช่น ผลงานได้สัดส่วน สวมใส่ได้สวยงามเหมาะสม หรือผลงานตึงรั้งสวมใส่ไม่ได้

2. ขั้นตอนการสร้างแบบและแยกแบบ ทำได้โดยการนำสัดส่วนที่ได้วัดขนาดไว้หรือการออกแบบมาสร้างแบบตัดหรือแพ็ทเทิร์น (Pattern) ลงกระดาษสร้างแบบ ตามกระบวนการของการสร้างแบบเสื้อผ้าแต่ละชนิด เช่น สร้างแบบตัดเสื้อ สร้างแบบตัดกระโปรง สร้างแบบตัดกางเกง เป็นต้น

ต่อเมื่อสร้างเสร็จแล้วควรทำเครื่องหมายป้องกันความผิดพลาด และควรตรวจสอบขนาดให้ละเอียดถี่ถ้วน โดยทำเครื่องหมายต่างๆ ลงบนแบบตัดและเขียนรายละเอียดต่างๆ ให้ชัดเจน

3. ขั้นตอนการคำนวณผ้า เลือกผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นเราควรคำนวณผ้าให้ถูกต้องเพื่อความประหยัดและเลือกผ้าให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของผ้า ซึ่งผลิตจากเส้นใยแต่ละชนิด เช่น ผ้าฝ้าย จะเป็นผ้าที่ได้จากเส้นใยของเมล็ดฝ้าย ซับน้ำได้ดี ทนต่อความร้อนสูง แต่ยับง่าย, ผ้าไนลอน เป็นผ้าใยสังเคราะห์ ไม่ทนต่อความร้อนและแสงแดด จับจีบได้ คงรูป เป็นต้น

4. ขั้นจัดเตรียมผ้า เป็นการจัดเตรียมวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการเย็บทุกชนิด เช่น เข็ม ด้าย กรรไกร ผ้า จักรเย็บผ้าบริเวณปฏิบัติงาน และแสงสว่าง เป็นต้นสำหรับผ้าที่ต้องการตัดเย็บ ถ้าไม่แน่ใจว่าจะหดหรือไม่ ควรนำผ้าไปแช่น้ำ ถ้าเป็นผ้าขาวให้แช่ด้วยน้ำเปล่า ถ้าเป็นผ้าสีให้แช่ในน้ำเกลือ โดยแช่ประมาณ 3 ชั่วโมง และนำไปผึ่งให้แห้ง พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการตัดเย็บให้ครบถ้วน

5. ขั้นตอนการวางแบบตัดและตัดผ้า ในขั้นตอนนี้ควรระมัดระวัง โดยอ่านรายละเอียดบนแบบตัด การทำเครื่องหมายต่างๆ ที่เขียนไว้ และกดรอยผ้าเส้นเย็บทุกเส้น เพื่อเป็นเครื่องหมายหรือเป็นเส้นแนวในการเย็บ

6. ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของงาน ซึ่งในการตรวจสอบคุณภาพของงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่สวยงาม ไม่ผิดพลาด ควรตรวจสอบทั้งขณะทำการเย็บ เช่น เนาลองตัว ตรวจสอบการประกอบการเย็บทุกขั้นตอน ตรวจสอบความเรียบร้อยของตะเข็บ เป็นต้น

7. ขั้นตอนการแก้ไขจุดบกพร่อง ในการตัดเย็บผ้าทุกชนิด เมื่อพบข้อบกพร่องไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงามและมีคุณภาพ


การวัดตัวเพื่อสร้างแบบเสื้อเบื้องต้น

1. รอบคอ

2. เส้นไหล่

3. รอบอก

4. ยาวหน้า

5. บ่าหน้า

6. อกสูง

7. อกห่าง

8. รอบวงแขน

9. รอบต้นแขน

10. ไหล่ถึงข้อศอก

11. ไหล่ถึงข้อมือ

12. รอบข้อศอก

13. รอบข้อมือ

14. ไหล่กว้าง

15. ยาวหลัง

16. บ่าหลัง

17. รอบสะโพกบน

ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%9A&biw=1366&bih=667&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjg5YuNuNvMAhUBQI8KHZfXA1UQ_AUIBigB#imgrc=cL5Ua7MPtAMi2M%3A

ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%9A&biw=1366&bih=667&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwid0I_Kt9vMAhWJQI8KHY8rAB8Q_AUIBigB#imgrc=-9sQgWSnoT0vwM%3A

ที่มา : http://krununticha.blogspot.com/2013/08/blog-post_11.html

หมายเลขบันทึก: 606449เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท