ใช้สารอุ้มน้ำ (โพลิเมอร์) ปลูกอ้อยสู้ภัยแล้ง ประหยัดต้นทุน


พี่น้องเกษตรกรหลายท่านที่ขาดช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารจากหลายๆ สื่อไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วารสารนิตยสารการเกษตร ทีวี เคเบิ้ล อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตนั้นมีหลายช่องทาง ทั้งเว็บไซด์ เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์ ฯลฯ ซึ่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับการทำอาชีพเกษตรในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายแม้แต่หยดเดียวได้ และโดยเฉพาะที่เว็บไซด์ www.thaigreenagro.com ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการทำอาชีพเกษตรกรรมในหลากหลายสาขาที่เน้นการทำแบบปลอดภัยสารพิษ มุ่งไปสู่การเป็นเกษตรอินทรีย์ เมื่อข้อมูลเข้าไม่ถึงจึงอาจทำให้พี่น้องเกษตรกรมีปัญหาในการแก้ปัญหาโรคแมลงศัตรูพืชทางการเกษตร โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการทางเลือกที่เป็นไปในรูปแบบที่ปลอดภัยไร้สารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค


วันนี้จึงอยากจะแนะนำให้สำหรับผู้ที่อยากจะปรับเปลี่ยนการทำอาชีพเกษตรกรรมแบบเดิม มาเป็นการทำอาชีพเกษตรกรรมแบบปลอดภัยไร้สารพิษด้วยการใช้จุลินทรีชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายกันดูนะครับ ถ้าท่านผู้อ่านหรือพี่น้องเกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของเชื้อราโรครากเน่าโคนเน่า ใบจุด ใบด่าง ใบดำ ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ฟัยท็อปทอร่า (Phytophthora spp.), เชื้อราพิเทียม (Pythium spp), เชื้อฟิวซาเรียม (Fusarium spp), -เชื้อราไรซอคโทเนีย (Rhizoctonia spp), เชื้อราสเคลอโรเทียม (Sclerothium spp) ท่านสามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า (Tricoderma sp) หรือ ชื่อการค้า อินดิวเซอร์ (Indeucer) ในการป้องกันกำจัดรักษาให้หายขาดได้ในแนวทางชีวภาพ ไม่ต้องไปใช้สารเคมีกำจัดเชื้อราแต่อย่างใดนะครับ หรือท่านที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคแคงเกอร์ (Canker) ในพืชตระกูลส้ม สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Xanthomonas axonopodis. pv.citri hasse ในกรณีนี้ท่านผู้อ่านไม่ต้องไปใช้สารเคมีคอปปง คอปเปอร์ หรือสารพิษอื่นๆ แต่อย่างใดนะครับ ให้ใช้จุลินทรีย์ บาซิลลัส ซับธิลิส(Bacillus Subthilis) ไม่ว่าจะเป็น บีเอสพลายแก้ว (Plaikaew), ไบโอเซ็นเซอร์ (BioCencer) ทดแทนได้เลยเช่นเดียวกัน รับรองว่าโรคแคงเกอร์ที่ทำลายมะนาวของท่านจะมลายหายไปในการฉีดพ่นเพียงไม่กี่ครั้งครับ

และในกรณีที่ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการที่ผีเสื้อกลางคืน หรือแมลงตัวเต็มวัยเข้ามาวางไข่ ท่านสามารถใช้ผงสมุนไพรอย่าง ขมิ้นชัน ไพล ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้หอม กานพลู ชื่อการค้า ไทเกอร์เฮิร์บ (Tiger Herbs) มาทำการฉีดพ่นเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปรสกลิ่นของพืชในสวนเราให้ไม่เป็นที่ต้องการหรือพึงประสงค์ของแม่ผีเสื้อกลางคืนหรือแมลงตัวเต็มวัยที่พร้อมจะขยายพันธุ์เหล่านั้น ให้เข้ามาวางไข่ได้น้อยลง หรือบางท่านอาจจะนำเอาสารสกัดจากเมล็ดสะเดา หางไหล หนอนตายอยาก สาบเสือ ฯลฯ เข้ามาผสมผสานด้วยก็ได้ หลังจากนั้นเมื่อมีไข่หลงเหลืออยู่ส่วนหนึ่งก็อาจจะก่อกำเนิดเกิดเป็นหนอน อ๊ะ!ๆ อันนี้ท่านก็อย่าเพิ่งไปซื้อสารเคมีที่เป็นพิษมาปราบอีกเช่นกันนะครับ ให้ท่านใช้จุลินทรีย์ชีวภาพปราบหนอนอย่าง บาซิลลัส ธูริงจิเอนสิส ((Bacillus thuringiensis) ชื่อการค้า บีทีชีวภาพ (Bio BT), ไบโอแทรค (Bio Trac) มาใช้แทนยาฆ่าหนอนได้เลยนะครับ


ส่วนผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อันนี้ต้องใช้เจ้านี่เลยครับ เชื้อราขาวบิวเวอร์เรีย ชื่อการค้า ทริปโตฝาจ (Triptophaj), คัทออฟ (Cut Off) อันนี้จะมีคุณสมบัติเด่นมาในเรื่องของการปราบพวกเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้ง ที่มีเอกลักษณ์ทางด้านป้องกันตัวที่โดดเด่นจากผงฝุ่นแป้ง และคราบน้ำมัน เพราะพวกนี้จะออกไข่มาคราวหนึ่งสองสามร้อยฟอง เกาะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ใช้สารเคมีฉีดพ่น ถ้าเดินแบบเร็ว ๆ ฉีดพ่นผ่าน ก็จะตายเฉพาะตัวพ่อตัวแม่ที่อยู่ด้านบน ตัวอ่อนและลูกๆ จะไม่ตาย แต่ถ้าเราใช้อาวุธชีวภาพอย่างจุลินทรีย์ชีวภาพปราบเพลี้ย “ทริปโตฝาจ (Triptophaj), คัทออฟ (CutOff) ในอัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น และเสริมเทคนิคทำลายจุดอ่อนเขาเสียหน่อยด้วยการเติมสารจับใบ (ชื่อการค้า ม้อยเจอร์แพล้นท์) หรือจะเป็นน้ำยาล้างจานยี่ห้ออะไรก็ได้นะครับ ในอัตรา 20 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรก็ได้เช่นเดียวกัน ก็จะช่วยทำลายจุดแข็งของเพลี้ยเหล่านั้นได้ในระยะเวลาอันสั้นนะครับ


ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่บางทีอาจจะเป็นผู้ที่มีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านไม้และได้รับการรบกวนจากปลวก อันนี้ท่านสามารถใช้จุลินทรีย์เมธาไรเซียม มีชื่อการค้าว่า “เมธาไรเซียม”, ฟอร์แทรน (Fortran) สามารถกำจัดปลวกร้ายให้ตายยกรังได้ ถ้านางพญาเขาไม่รู้ตัวเสียก่อน อย่าลืมนะครับ มนุษย์เราอยู่คู่กับปลวกมาร่วมสองแสนล้านกว่าปี ยังไม่มีใครรบชนะกับใครได้ ดังนั้นถ้านางพญาของปลวกรวมไปถึงองครักษ์ถ้าเขาตื่นตัวระแคะระคายว่าจะมีคนปองร้ายเขาก็จะสร้างผนังกั้นห้องมิให้โซนหรือพื้นที่มีนางพญาอาศัยอยู่ได้รับการติดเชื้อ หรือไม่ถ้าถูกรุกรานหนักก็อพยพหลบหายไป เพราะฉะนั้นบางทีการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพอย่างเมธาไรเซียมก็ไม่สามารถทำให้ปลวกตายยกรังได้เช่นกัน แต่ปลวกจะระมัดระวังป้องกันอพยพโยกย้ายไปจากพื้นที่ ถ้าเขารู้ว่ามีเจ้าเชื้อราเขียว เมธาไรเซียม (Metharhizium Sp) อาศัยอยู่ ทั้งหมดทั้งปวงที่ยกมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบก็มีประมาณนี้ ถ้าสนอกสนใจในเรื่องเหล่านี้เพิ่มเติมท่านสามารถติดต่อสอบถามไปพูดคุยกับฝ่ายวิชาการของชมรมเกษตรปลอดสารพิษได้นะครับที่เบอร์โทรศัพท์ 02 986 1680 – 2

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 606450เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท