การสร้างความสัมพันธ์แบบที่เรียกว่า “rapport” ตอนที่ 1


สิ่งแรก ๆ ที่ต้องทำคือการไปแนะนำตัวเองต่อบุคคลต่าง ๆ ตามสถานภาพและบทบาทที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งสิ่งนี้ควรจะได้รักษาไว้ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานภาคสนามในพื้นที่วิจัย โดยไม่มีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพื่อให้ชาวบ้านและผู้ให้ข้อมูลเกิดความไว้วางใจ

          ครั้งหนึ่งในช่วงปี 2546 เมื่อผมพร้อมด้วยทีมวิจัยได้เข้าไปในพื้นที่วิจัยในเขตอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ก็เป็นครั้งแรกที่ได้นำความรู้ภาคทฤษฎีจากที่เรียนมาสู่การปฏิบัติจริง อย่างไม่ใคร่จะมั่นใจอะไรนัก ที่นี่ทำให้เกิดความมั่นใจขึ้นมาก และที่นี่ก็มีผู้ให้ข้อมูลคนหนึ่ง (P7) เป็นคนสอนประสบการณ์ครั้งสำคัญแก่ผม ที่ผมได้จดจำไปตลอดการทำงานวิจัย รวมถึงการทำงานอื่น ๆ ตลอดมาด้วย

          สิ่งแรก ๆ ที่ต้องทำคือการไปแนะนำตัวเองต่อบุคคลต่าง ๆ ตามสถานภาพและบทบาทที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งสิ่งนี้ควรจะได้รักษาไว้ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานภาคสนามในพื้นที่วิจัย โดยไม่มีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพื่อให้ชาวบ้านและผู้ให้ข้อมูลเกิดความไว้วางใจ เช่น ผู้วิจัยจะแนะนำตัวกับสาธารณสุขอำเภอระโนด ประธานองค์การบริหารส่วนตำบล (สมัยนั้น ซึ่งในปัจจุบันจะเรียกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน หมู่ X และหมู่ Y และชาวบ้าน โดยบอกว่ามาวิจัย “เรื่องประสบการณ์การได้รับความเป็นธรรมของผู้มารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ ตำบล ZZZ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา” และได้มาพักอาศัยที่บ้านพักสถานีอนามัยตำบล ZZZ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือจนกว่าได้ข้อมูลครบ

          ผมและทีมวิจัยได้มีการร่วมกิจกรรมของชุมชนและสถานีอนามัย คือ การเจาะเลือดเด็กนักเรียนเพื่อหาความเข้มข้นของโลหิต หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีขึ้นในระหว่างนั้นอย่างเต็มใจและเป็นธรรมชาติ ขางครั้งก็มีการแบ่ง ๆ กันออกไป เพราะอีกส่วนหนึ่งก็ต้องเตรยมการ และวางแผนการเก็บข้อมูล

          ขณะเดียวกันผมและทีมวิจัย ก็ได้แบ่งพื้นที่จากแผนที่ เพื่อออกไปสร้างสัมพันธภาพกับชุมชนพลาง ๆ โดยการออกไปพูดคุย สอบถามบริบทชุมชน ด้านต่างๆ รวมทั้งประวัติของตำบลZZZ ตำบลที่เป็นพื้นที่เป้าหมายของการวิจัย ซึ่งเป็นการดำเนินการที่พบว่านอกจากจะได้ข้อมูลในเบื้องต้นแล้ว ก็ยังมีส่วนช่วยให้ทีมวิจัย ได้เข้าใจโลกทัศน์ของชาวบ้านได้เร็วขึ้น และยังมีส่วนที่ทำให้ชาวบ้านยอมรับทีมวิจัยว่าเป็นสมาชิกของชุมชนได้อย่างสนิทใจขึ้น โดยที่ไม่คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า อันนี้สังเกตได้จากน้ำใจของชาวบ้านในการนำอาหารมื้อเย็น แบ่งปันมาฝากไว้กับทีมวิจัยกลุ่มที่อยู่ที่บ้านพัก (เพื่อเตรียมงาน) ในทุก ๆ วัน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังจากการเข้าไปอยู่ข้างในแล้ว 2-3 วัน บ้านละถ้วย ในทุก ๆ วันจะมีไม่ต่ำกว่า 10 แกง หรือ 10 อย่าง รวมถึงน้ำพริก ผักเหนาะชนิดต่าง ๆ อีกมากมายในแต่ละวัน จนวันหนึ่งผมและทีมวิจัยนั่งคิดกันสรุปได้ว่าเราต้องทำอะไรคืนให้เขาบ้าง ก็ง่าย ๆ ต้มถั่วเขียวกะทิสดหม้อใหญ่ จ่ายแจกไปทุกบ้านในละแวกนั้น หม้อก็เข้าไปยืมจากในวัดใกล้ ๆ มาใช้ครับ

ติดตามต่อใน การสร้างความสัมพันธ์แบบที่เรียกว่า “rapport” ตอนที่ 2 และ ตอนที่ 3

หมายเลขบันทึก: 6052เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2005 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท