บทบาทของนักการเงินและประชาคมอาเซียน


การรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 10 ประเทศ 600 กว่าล้านคน หรือ ASEAN Economic Community: AEC ที่จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2558 นี้ ซึ่งมุ่งเน้นในอาเซียนเป็นตลาดและศูนย์กลางของฐานการผลิตโลก

นอกจากการเปิดเสรีการค้าบริการ เปิดเสรีแรงงาน และการลงทุน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักแล้ว การเปิดเสรีภาคการเงิน และเงินทุนเคลื่อนย้ายเป็นอีกเรื่องที่อ่อนไหว และนักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจมาก เพราะเป็นโอกาสที่จะเข้ามาทำกำไรในตลาดเงิน และตลาดทุนในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างเสรีมากขึ้น ทำให้ระบบการเงินไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือ

ทั้งนีั้นักการเงินจึงต้องมีความพร้อมต่อเศรษฐกิจอาเซียน ดังนี้

- นักการเงินจะต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นของการรวมกลุ่ม ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

- นักการเงินต้องมีการวางแผนและเตรียมพร้อมกับการปรับเปลี่ยนของการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้าต่างๆในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

- นักการเงินจะต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้รอบรู้และเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองให้เทียบเท่ากับ นักการเงินในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อทำให้เกิดการจ้างงานต่อนักการเงินมากขึ้นด้วย

- นักการเงินจะต้องมีความรอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลในด้านต่างๆ ที่สำคัญๆของบริษัทในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

- นักการเงินจะต้องทราบกฎระเบียบข้อบังคับและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดความเสมอภาคกันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

หมายเลขบันทึก: 604448เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2016 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2016 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท