Digital Economy


เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy หรือ DE) คือ การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีความทันสมัย และสะดวกในการทำธุรกิจ เช่นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการกระบวนการผลิต การมีเครื่องจักรที่ทันสมัยก็สามารถทำให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้น และใช้เวลาในการผลิตน้อยลงและยังสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ได้เกือบทุกด้าน เช่นการดำเนินธุรกิจ การค้าขาย การศึกษา การจ้างงาน การพัฒนาเศรษฐกิจและการพัตฒนาสังคมและการการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันคนไทยส่วนมากใช้เทคโนโลยี Digital ทั้งการใช้ Computer Smartphone และ Tablet ติดต่อสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook Line Instagram และการค้นหาผ่าน Google แต่สิ่งที่พบมากที่สุดคือการใช้เพื่อความบันเทิง และไม่ได้ถูกนำใช้ในด้านการทำงานมากนัก ดังนั้น การเร่งพัฒนาความรู้ การสร้างความตระหนักด้านการใช้เทคโนโลยี Digital ให้กับทุกภาคส่วนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ทั้งภาคธุรกิจ การศึกษา ราชการ เกษตรกรรม การท่องเที่ยว การขนส่ง และการทำอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเข้าสู่ Digital Economy โดยเน้นการปฎิรูปการศึกษาให้เยาวชนไทยมีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น มีพื้นฐานของงานวิจัยและพัฒนาทางด้านไอทีเพื่อลดการนำเข้าอุปกรณ์ Hardware, Communication และ Software จากต่างประเทศ ทั้งยัง พัฒนาให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ที่ผลิตภายในประเทศ ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลกโดยผลิตบุคลากรที่มีความสามารถทางด้านไอทีให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน เมื่อสังคมไทยมีความตระหนักด้าน Digital มากขึ้นการใช้ข้อมูลออนไลน์ต่างๆ ก็มากขึ้นด้วย สังคมและธุรกิจก็จะเข้าสู่การเป็น Digital Economy และเศรษฐกิจของสังคมไทยจะก้าวเข้าสู่ Real-Time Economy

การปรับตัวเข้าสู่ Digital Economy การนำไปใช้ในการขายสินค้าออนไลน์ เช่น การขายสินค้าผ่าน Facebook เราต้องใช้ความรู้ในการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการออกแบบให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าสนใจต่อลูกค้าได้



แหล่งที่มา : http://www.most.go.th/main/index.php/contribution/...

คำสำคัญ (Tags): #Digital economy​
หมายเลขบันทึก: 603868เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2016 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2016 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท