การพัฒนาชุดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3

ชื่อผู้รายงาน นภาดา ผูกสุวรรณ์

ปีการศึกษา 2558

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 40 คนโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดการเรียนการสอน วิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนการสอน วิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ หาประสิทธิภาพของกิจกรรม (E1/E2) หาดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test (Dependent Samples)

ผลการศึกษาพบว่า

1. ชุดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.09/82.13

2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนการสอนการสร้างสรรค์งานศิลป์เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น วิชาศิลปะกับชีวิต สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 มีค่าเท่ากับ 0.7146 แสดงว่านักเรียนมีพัฒนาการความรู้เพิ่มขึ้น 0.7146 หรือคิดเป็นร้อยละ 71.46

3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 ที่เรียนรู้ด้วยชุดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .
05

4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนชุดการเรียนการสอนวิชาศิลปะกับชีวิต เรื่องการสร้างสรรค์งานศิลป์ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.48, S.D. = 0.58) โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ นักเรียนภูมิใจในผลงานกลุ่ม (X-bar = 4.78, S.D. = 0.48) นักเรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ (X-bar = 4.65, S.D. = 0.53) และครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามปัญหาและการอธิบาย (X-bar = 4.55, S.D. = 0.50) ตามลำดับ

หมายเลขบันทึก: 603535เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2016 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2016 00:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท