Quantitative Easing (QE)


มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน Quantitative Easing (QE)

เป็นนโยบายด้านการเงินที่ไม่เป็นแบบแผน ที่ดำเนินการโดยธนาคารกลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีที่นโยบายทางการเงินที่เป็นแบบแผนตามปกตินั้นเริ่มไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถเป็นกลไกขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจได้ ซึ่งธนาคารกลางนี้ได้ดำเนินการมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน ด้วยการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน (financial assets) จากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินของเอกชนอื่น ๆ ด้วยการสร้างเงินใหม่ ๆ เพื่อที่จะอัดฉีดปริมาณเงินที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเข้าสู่ระบบการเงินของประเทศ ซึ่งนโยบายนี้จะมีความโดดเด่นแตกต่างจากการใช้นโยบายซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลที่ดำเนินการตามปกติในการที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน นี้ จะเป็นการไปเพิ่มทุนสำรองส่วนเกิน (excess reserves) ของระบบธนาคารและจะเข้าไปยกระดับราคาสินทรัพย์ทางการเงินที่ซื่อมาซึ่งมีผลตอบแทนที่ต่ำ นโยบายในด้านการเงินแบบขยายตัวนี้จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลในระยะสั้นเพื่อที่จะดำรงอัตราดอกเบี้ยในตลาดให้อยู่ในระดับต่ำ โดยการใช้องค์ประกอบที่เป็นส่วนผสมร่วมกันของสิ่งอำนวยความสะดวกในการกู้ยืมและการดำเนินการในตลาดเปิด เมื่ออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของตลาดนั้นอยู่ในระดับที่เข้าใกล้ศูนย์ นโยบายด้านการเงินแบบปกตินั้นไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ในระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในระยะสั้นได้ มาตรการการผ่อนคลายนี้จะถูกนำเข้ามาใช้โดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในการดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มเติมโดยการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ที่มีการครบกำหนดในระยะยาวมากกว่าที่จะเข้าไปซื้อพันธบัตรในระยะสั้นของรัฐบาล ดังนั้นในการดำเนินนโยบายคงดอกเบี้ยระดับต่ำในระยะยาวจะส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้น

มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน สามารถใช้ในการช่วยเหลือในการควบคุมระดับอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เกินค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายอย่างที่รวมถึงการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

มากกว่าที่จะมีความมุ่งหมายในการปฎิบัติการต่อต้านภาวะเงินฝืด หรืออาจเป็นการดำเนินการที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอถ้าหากธนาคารต่าง ๆ ไม่สามารถที่จะปล่อยการกู้ยืมจากเงินสำรองออกไปได้

เป้าหมายของการนำมาตรการนี้มาใช้เป็นการเพิ่มปริมาณเงิน (money supply) มากกว่าที่จะใช้มาตรการในการลดอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สามารถจะดำเนินการให้ต่ำกว่านี้ได้อีกแล้ว เพื่อลดปัญหากับดักของสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ และสร้างการเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจได้ ซึ่งมาตรการนี้มีความสามารถเพียง แค่ดำเนินการโดยการที่ธนาคารกลางเข้าไปควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น

(ที่มา : http://www.oknation.net/blog/nidnhoi/2013/06/05/entry-3)

คำสำคัญ (Tags): #qe
หมายเลขบันทึก: 603511เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2016 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2016 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท