​ตลาดหลักทรัพย์


ตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกของโลกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1602 เพื่อเป็นกลไกระบบทุนนิยมสมัยใหม่ คือ “บริษัทจำกัด” ทำการซื้อ-ขายหุ้นของบริษัทอินเดีย-ตะวันออกของดัตช์ (The Dutch East India Company) หรือบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย

โดยเป็นภาษาดัตช์ที่สะกดแบบเก่า คือ Vereenigde Oostindische Compagnie (VOC)
ซึ่งเกิดจากความไม่พอใจต่อการผูกขาดการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกส อังกฤษ และสเปน ที่ครอบครองเส้นทางการเดินเรือสู่เอเชีย และผลผลิตเครื่องเทศ VOC มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วนสถานีการค้าใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียอยู่ที่จาการ์ตา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ปัตตาเวีย ปัจจุบัน คือ ประเทศอินโดนีเซีย ทำการค้าขายพร้อมกับการแสวงหาอาณานิคมในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ปัจจุบัน คือ ประเทศ-อินโดนีเซีย และมาเลเซีย VOC มีพันธกิจหลักทางการค้าระหว่างยุโรปและเอเชียด้านการผูกขาดการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกส โดยเป็นบริษัทมหาชนแห่งแรกของโลกที่ใช้วิธีการระดมทุนและเสนอขายหุ้นให้ประชาชนสาธารณรัฐดัตช์โดยตรง และใช้ใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานการรับค่าหุ้นแทน “ใบหุ้น” จำกัดความรับผิดหรือความเสี่ยงตามมูลค่าหุ้นที่ผู้ซื้อระบุในสมุดบัญชี โดยจ่ายเงินปันผลประจำปี 18% เป็นเวลาเกือบ 200 ปี บริษัทฯ ล้มละลายและปิดกิจการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1799 ส่วนทรัพย์สินและหนี้สินถูกครอบครองแทนโดยรัฐบาลของสาธารณรัฐปัตตาเวีย

ตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดทุนแห่งแรกของโลกเกิดขึ้นหลังจากบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ เสนอขายหุ้นเพียง 5 ปี โดยการขายหุ้น 1 ใน 3 จากผู้ซื้อเดิม และทำการซื้อ-ขายกันกลางแจ้ง ต่อมาได้สร้างอาคารขึ้นในปี ค.ศ. 1608 และการเปิดสมุดของบริษัทที่จดทะเบียนผู้ถือหุ้นในทุกสามเดือน ทำให้เกิด “Forward Market” คือ “ตลาดซื้อ-ขายหุ้นล่วงหน้า” หรือการส่งมอบในอนาคต ส่วนธนาคารกลางแห่งแรกของโลก คือ ธนาคารแลกเปลี่ยนอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam Exchange Bank) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1609 เพราะธนาคารยอมรับหุ้นของบริษัทอินเดีย-ตะวันออกของดัตช์ และปล่อยเงินกู้ให้กับนักลงทุนสำหรับการซื้อหุ้น อันเป็นจุดเริ่มต้นของกลไกการเงินของทุนนิยมสมัยใหม่คือ ตลาดหลักทรัพย์ บริษัท และธนาคาร ซึ่งประเทศจีนเองก็ให้ความสำคัญกับตลาดหลักทรัพย์เช่นกัน (Tourani-Rad, Gilbert, & Chen, 2015, pp. 1-5; Xiaofang, & Weirui, 2013, pp. 73-77)

ประเทศไทยเริ่มติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งดัตช์ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร-มหาราช กรุงศรีอยุธยา และในปี พ.ศ. 2503 ประเทศไทยได้จัดตั้ง “บริษัทลงทุน” คือ สถาบันการเงินประเภท บริษัทจัดการลงทุน (Investment Management Company) ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2505 ได้เปิดดำเนินการกองทุนรวม (mutual fund) คือ กองทุน-รวมไทย (Thai Investment Fund--TIF) โดยกลุ่มอุตสาหกิจไทย-เอกชน ร่วมกันจัดตั้ง “ตลาดหลักทรัพย์” คือ “บริษัท ตลาดหุ้นกรุงเทพ จำกัด (Bangkok Stock Exchange)” เป็นสถานที่ให้สมาชิกชุมนุม ซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ ในตลาดหุ้นที่มีอยู่ โดยสมาชิกซื้อ-ขายหุ้นกับลูกค้าตามสำนักงานของสมาชิกเอง ไม่ได้กระทำในตลาดหุ้น

หน้าที่หลักของตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้น คือ เป็นศูนย์กลางหรือตลาดรองสำหรับการติดต่อซื้อ-ขายหลักทรัพย์จดทะเบียน เป็นแหล่งระดมทุนหรือแหล่งจัดหาเงินให้แก่ธุรกิจที่ต้องการขยายตัว โดยไม่ต้องผ่านระบบการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน

หมายเลขบันทึก: 600701เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2016 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท