๓๗๑. การเสริมสร้างจิตสำนึกใหม่...ของผู้นำต้นแบบในสังคมไทย


ท่านมีกระบวนการเสริมสร้างจิตสำนึกใหม่อย่างไร..(ตอบ..เป็นแบบอย่าง ทำให้ดูอยู่ให้เห็น ใช้ภาวะผู้นำ..ทำงานแบบมีส่วนร่วม แบบกัลยาณมิตร)

วันนี้..มีโอกาสได้พบนักเรียนชั้นอนุบาล ๒ เพื่อดูพัฒนาการด้านการอ่าน แล้วก็พบว่า ๒ ใน ๑๐ คน..อ่านไม่คล่องเท่าที่ควร กำลังจะหาวิธีการแก้ไข..ก็พอดีมีโทรศัพท์เข้ามาเสียก่อน จึงต้องปล่อยให้นักเรียนเข้าห้องไปพบครูประจำชั้น.....

ผู้ที่โทรมาเป็นนักศึกษาปริญญาเอก..กำลังเก็บข้อมูลในงานวิจัยเรื่อง “ตัวแบบการเสริมสร้างจิตสำนึกใหม่เชิงพุทธบูรณาการของผู้นำต้นแบบในสังคมไทย” งานวิจัยนี้ เลือก ผอ.โรงเรียนบ้านหนองผือ เป็นกลุ่มเป้าหมาย..ที่จะสัมภาษณ์ในวันพรุ่งนี้...(๒๘ มกราคม ๒๕๕๙)

ว่าแล้วนักศึกษาปริญญาเอก..ก็ส่งคำถาม...มาเป็นการล่วงหน้า โดยกำหนดกรอบคำถามไว้ ๔ กลุ่มได้แก่...เป้าหมาย...แนวทาง...ผลลัพธ์...และเป้าประสงค์ในเชิงสังคม.......

ก่อนนอนคืนนี้..ขอซักซ้อมและตอบคำถาม..ในกลุ่มคำถามที่ ๑ และ ๒ (เป้าหมาย และแนวทาง)

ส่วนกลุ่มคำถามที่ ๓ และ ๔ เอาไว้ไปตอบตอนสัมภาษณ์...คำถามมีอยู่ว่า...

กลุ่มคำถาที่ ๑ (เป้าหมาย)

เป้าหมายในการเสริมสร้างจิตสำนึกใหม่ของท่านคืออะไร...(ตอบ..ทำหน้าที่ข้าราชการ..ให้สมบูรณ์)

มีหลักการอย่างไร...(ตอบ..เข้าใจ...เข้าถึง..และพัฒนา)

ด้วยเหตุผลอะไร...(ตอบ..อยู่ในท่ามกลางความจำกัด..อุปสรรค และความขาดแคลน)

มีอะไรเป็นแรงจูงใจ...(ตอบ...ตำแหน่งหน้าที่...ศักดิ์ศรีข้าราชการ..และความที่เป็นองค์กรขนาดเล็ก)

กลุ่มคำถามที่ ๒ (แนวทาง)

ท่านมีแนวทางที่จะดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างไร..(ตอบ..ใช้วิธีการปฏิบัติที่ดี..เชื่อถือและพิสูจน์ได้)

ท่านมีกระบวนการเสริมสร้างจิตสำนึกใหม่อย่างไร..(ตอบ..เป็นแบบอย่าง ทำให้ดูอยู่ให้เห็น ใช้ภาวะผู้นำ..ทำงานแบบมีส่วนร่วม แบบกัลยาณมิตร)

ท่านมีวิธีการใดในการปลูกฝังจิตสำนึกใหม่...(ตอบ...ตัวอย่างที่ดีมีค่า..กว่าคำสอน)

สำหรับ..ผลลัพธ์และเป้าประสงค์ในเชิงสังคม..คิดว่า..คำตอบ..คงไม่ใช่เรื่องยากแต่ประการใด...

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๒๗ มกราคม ๒๕๕๙


หมายเลขบันทึก: 600073เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2016 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2016 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

" นักเรียนชั้นอนุบาล ๒ เพื่อดูพัฒนาการด้านการอ่าน แล้วก็พบว่า ๒ ใน ๑๐ คน..อ่านไม่คล่องเท่าที่ควร "

..........

โห !..อนุบาล ๒ อ่านคล่อง !!! อย่างนี้ ครู ป.๖ Happy เลยจ้าาา ( อย่า

ว่าแต่ครู ป.๑ จะเบิกบานสราญใจเล้ยยยย !


ผู้นำในอนาคต สู้ๆๆ นะคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท