​“ วันตายของลูก คือวันที่พ่อและแม่จะกระโดดตึก”


โจ๊ก(นามสมมติ) ผู้ป่วยชายไทย อายุ 23 ปี ป่วยเป็นมะเร็งสมอง มา 7 ปี เริ่มป่วยตอนอายุ 15 ปี รักษาโดยการผ่าตัด เคมีบำบัดและฉายรังสี เนื่องจากโจ๊กเป็นลูกชายคนเดียวของแม่จัน(นามสมมติ) และพ่อจวง(นามสมมติ) ทั้งสองท่านรับไม่ได้กับการเจ็บป่วยของลูก จึงพยายามดิ้นรนหาวิธีการต่างๆนอกจากการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบันมารักษาเยียวยา เช่นยาสมุนไพรทั้งในและต่างประเทศ แพทย์ทางเลือกอื่นๆ เป็นต้น จนกระทั่ง มีหนี้สิน กับธนาคาร 2 ล้านโดยเอาสวนยางไปจำนอง

วันหนึ่งคุณโจ๊กต้องมารับการรักษาในโรงพยาบาล ด้วยอาอาการชักเกร็ง เรียกไม่รู้สึกตัว มีปัญหาเรื่องการหายใจลำบาก แขนขาอ่อนแรง ทีมแพทย์ พยาบาล ช่วยโดยการใส่ท่อช่วยหายใจ และแจ้งว่ามะเร็งกระจายไปที่ก้านสมอง ในระหว่างนั้นแม่จันมาเป็นลมอยู่ที่หน้าห้องฉายรังสี ดิฉันและน้องพยาบาลมาช่วยกันดูแลและรายงานแพทย์รังสีมาดูอาการ คุณจันเล่าว่า “เธอนอนไม่หลับและรับอาหารไม่ได้มา 2 วัน พอจะรับประทานอาหารในจานก็เต็มไปด้วยทะเลน้ำตา” และกล่าวต่อว่า “รับไม่ได้ถ้าลูกเสียชีวิต วันตายของลูก พ่อและแม่จะกระโดดตึก”

ดิฉันรับฟังและเปิดโอกาสให้คุณจันระบายความรู้สึกและไปเยี่ยมคุณโจ๊ก ดิฉันนำเรื่องนี้มาปรึกษาทีมการรักษาเจ้าของไข้และหอผู้ป่วยว่า “คุณจันและคุณจวงมีความคิดจะกระโดดตึกในวันที่คุณโจ๊กเสียชีวิต ให้ทางหอผู้ป่วยและญาติช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด” หลังจากนั้นไม่นานผู้ป่วยได้รับการเจาะคอใช้เครื่องช่วยหายใจไปอยู่ที่บ้านและเสียชีวิตที่บ้าน แต่ในระหว่างนั้นบางช่วงอาการของคุณโจ๊กแย่ลง เช่นความดันตก มีไข้จากการติดเชื้อทางเดินหายใจ พ่อจวงจะวิ่งไปที่ระเบียงทุกครั้งญาติต้องล็อคตัวไว้ ช่วงที่กลับไปบ้านมีทีมเยี่ยมบ้านจากโรงพยาบาลใกล้บ้าน ทีมดูแลเครื่องช่วยหายใจ และดิฉันไปเยี่ยมพร้อมแพทย์เจ้าของไข้ /แพทย์-พยาบาลวิสัญญี /เภสัชกร จิตอาสา ไปประมาณ 3 ครั้ง(โดยแม่จันและพ่อจวงขอความช่วยเหลือ)

สรุปการช่วยเหลือแม่จันและพ่อจวงให้ไม่มีภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียที่ผิดปกติ

  • การดูแลพ่อ-แม่คุณโจ๊ก โดยรับฟังความทุกข์ เปิดโอกาสให้ได้ระบาย ยอมรับและเข้าใจ
  • ให้คำปรึกษาช่วยเหลือเมื่อพ่อ-แม่คุณโจ๊กมาขอความช่วยเหลือ เช่นอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ การอยู่เป็นเพื่อนพร้อมทั้งให้กำลังใจ การส่งกลับบ้าน เป็นต้น
  • ติดต่อประสานงานให้ทีมแพทย์/พยาบาลหอผู้ป่วยรับทราบว่าพ่อ-แม่คุณโจ๊กคิดอย่างไร เพื่อหาทางช่วยเหลือโดยปรึกษาทีมทางจิตเวช
  • ติดต่อประสานงานกับญาติพี่น้องคุณโจ๊กเพื่อสังเกตและเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายของพ่อ-แม่คุณโจ๊ก
  • ติดต่อประสานงานทีมเครื่องช่วยหายใจ อจ.แพทย์ อจ.เภสัชกรเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินการใช้เครื่องช่วยหายใจและประเมินอาการ และรวมถึงการใช้ยาต่างๆ นอกจากนี้ยังติดต่อประสานกับอสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้านให้ดูแลต่อเนื่อง เป็นต้น
  • การดูแลต่อเนื่องสม่ำเสมอ ระหว่างการรักษาจนสิ้นสุดการรักษาและรวมถึงการดูแลพ่อ-แม่คุณโจ๊กหลังการเสียชีวิต
  • หลังจากคุณโจ๊กเสียชีวิต เนื่องจากแม่คุณโจ๊กจะไปนั่งที่วัดทุกวัน จึงติดต่อประสานงานกับเจ้าอาวาส /ผู้นำชุมชนที่พ่อ-แม่คุณโจ๊กรักเคารพนับถือช่วยดูแล
หมายเลขบันทึก: 600018เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2016 18:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2016 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท