การจัดหาแหล่งเงินทุน


จะเหนื่อยหรือจะท้อแค่ไหนก็ต้องอดทนกันนะค่ะ เพราะความจนมันน่ากลัว

แหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจ

เงินทุน หมายถึง สิ่งที่กิจการผู้ประกอบการหรืององค์กรจัดหามาเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในการดำเนินธุรกิจอาจมีการกำหนดค่าขึ้นเป็นหน่วยเงินตราและพยายามรักษาค่าให้คงที่อยู่เสมอตลอดเวลา

ประโยชน์ของเงินทุนมี 3 ประการ

1. เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็น

2. เพื่อเป็นเงินสดสำรองไว้ยามฉุกเฉิน

3. เพื่อเป็นการสะสมมูลค่า

ประเภทและลักษณะของเงินทุน

เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. เงินทุนคงที่ หมายถึง เงินทุนที่องค์กรธุรกิจจัดหาเพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินถาวร

*** (ทรัพย์สินถาวร หมายถึง สินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานนานเกินกว่า 1 ปี เช่น อาคาร เครื่องจักร เครื่องใช้สำนักงาน)

2. เงินทุนหมุนเวียน หมายถึง เงินทุนที่องค์กรจัดหาเพื่อนำมาใช้ในการจัดหาทรัพย์สินหมุนเวียนหรือใช้ในการดำเนินกิจการ

*** (ทรัพย์สินหมุนเวียน หมายถึง สินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 1 ปี เช่น เงินเหรียญ ธนบัตร เช็ค)

แหล่งที่มาของเงินทุนในการประกอบธุรกิจ

ธุรกิจจัดหาแหล่งที่มาของเงินทุนได้หลายวิธี ซึ่งสรุปได้เป็น 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

1. เงินทุนส่วนตัว เป็นเงินทุนส่วนตัวของผู้ประกอบการที่นำมาลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆ

2. การระดมเงินทุน ธุรกิจอาจระดมเงินทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนเป็นต้น

3. การกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนในระบบ เช่น การกู้ยืมผ่านธนาคารพาณิชย์และผ่านสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์

4. การกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนนอกระบบ

- การซื้อขายลดเช็ค

- การกู้ยืมจากนายทุนเงินกู้

- เครดิตการค้า

- การเล่นแชร์

- การจำหน่ายพันธบัตรและหุ้นกู้

- สำนักงานเงินกู้เพื่อส่งเสริมการค้า

ประเภทของธุรกิจที่อยู่ในข่ายให้กู้ยืมเงิน

1. ธุรกิจในครอบครัว

2. ธุรกิจอุตสาหกรรมหัตถกรรม

3. ธุรกิจบริการ

4. ธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน

หลักการ 6c ในการวิเคราะห์สินเชื่อ

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER) อุปนิสัยของลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญข้อแรกของการพิจารณาตัวผู้กู้ว่าเป็นคนอย่างไรมีความซื่อสัตย์สุจริตเพียงใดมีความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจที่ประกอบการขนาดไหนมีประวัติที่ไม่ดีทางด้านการเงินหรือไม่หากเป็นลูกค้าเก่าของธนาคารก็จะดูได้จาก ผลการติดต่อกับทางธนาคารที่ผ่านมาว่าปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่มีไว้กับธนาคารดีหรือไม่หรืออาจสืบจากวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็น SUPPLIERS หรือ CUSTOMER ของลูกค้าในตลาดว่าเป็นอย่างไร พึงระลึกว่าถ้าคนไม่ดีแล้วให้โครงการดีแค่ไหนก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY) เป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องศึกษาถึงธุรกิจของลูกค้าว่ามีความสามารถในการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารเพียงใดโดยส่วนใหญ่แล้วควรเป็นรายได้ที่ธุรกิจนั้นสามารถจะทำกำไรเพื่อนำมาชำระหนี้คืนได้หากวิเคราะห์แล้วพบว่าโครงการนั้นๆไม่สามารถทำกำไรได้เพียงพอกับการชำระหนี้ก็ไม่ควรพิจารณาให้สินเชื่อไป รายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นรายได้สุทธิจากการดำเนินธุรกิจหลังจากค่าใช้จ่ายต่างๆ และควรเป็นรายได้ประที่แน่นอนมากกว่าเป็นรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว

3. เงินทุน(CAPITAL) โดยทั่วไปแล้วสถาบันการเงินจะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจใดก็ตามต้องพิจารณาด้วยว่าผู้กู้ได้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงทุนด้วยเท่าไรเพราะยิ่งผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากเท่าใดความเสี่ยงของธนาคารก็น้อยลงเท่านั้นเพราะการที่ผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับธุรกิจจนสุดความสามารถ ฉะนั้นสัดส่วนระหว่างเงินทันกับหนี้ (D/E RATIO) จะต้องมาพิจารณาด้วยทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละประเภทว่าควรจะมี D/E RATIO เท่าไรเช่น ธุรกิจที่มีผลกำไรต่ำก็ควรต้องมีเงินลงทุนสูง

4. หลักประกัน (COLLATERALS) ในการวิเคราะห์สินเชื่อถึงแม้ว่าจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเป็นหัวใจสำคัญแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือหลักประกันเพราะธุรกิจจะดีเพียงใดก็ตามอาจถูกสภาวะแวดล้อมหรือเหตุอันไม่คาดหมายทำให้ธุรกิจเกิดปัญหาได้เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ธนาคารอาจได้รับก็คือหลักประกันซึ่งแล้วแต่การพิจารณาว่าควรมีหลักประกันมากน้อยเพียงไรโดยพิจารณาจากความเสี่ยงถ้ามีความเสี่ยงน้อยหลักประกันก็น้อยถ้ามีความเสี่ยงมากหลักประกันก็ควรมากเช่นกัน

5. สถานการณ์ (CONDITION) เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมอันมีปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศปัญหาทางด้านนโยบายของรัฐบาลการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราปัญหาสิ่งแวดล้อมความผันผวนของตลาด การขึ้นลงของราคาวัตถุดิบเจ้าหน้าที่สินเชื่อควรวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่างๆเหล่านี้และคาดหมายสถานการณ์ล่วงหน้าที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอยู่เสมอหมั่นศึกษาและติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดก็จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีวิธีลดความเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือไม่ควรปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากจนเกินไปควรกระจายไปในธุรกิจหลายๆประเภท

6.ประเทศ (COUNTRY) สำหรับซีสุดท้ายเป็นสิ่งที่วิเคราะห์ถึงเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆว่าเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นอย่างไรมองไปต่อถึงสภาวะการเมืองของประเทศ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรใช้วิเคราะห์ประกอบในการออกสินเชื่อ

อ้างอิงข้อมูล :http://piyapong2013.igetweb.com/index.php?mo=59&ac...






หมายเลขบันทึก: 599766เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2016 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2016 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท