ตัวชี้วัด สกัดมนุษย์ Comfort Zone


คุณคิดว่าการตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันและความยั่งยืนมีความสำคัญมากน้อยพียงใด

กลัวกันเหลือเกินกับการตั้งตัวชี้วัดแล้วไม่สามารถทำได้ตามเป้าหมาย ต่อรองด้วยสารพัดเหตุผลเอย ไม่ส่งข้อมูลสนับสนุนเอย ส่ายหน้าหน่ายหนีเอย กลัวโบนัสตกแต่ไม่กลัวองค์กรย่ำอยู่กับที่ไม่มีการพัฒนา หรือนี่คือส่วนหนึ่งของคุณลักษณะมนุษย์ Comfort zone พอดีนึกขึ้นได้ว่าตอนเรียนวิชา Computer programming สมัยวัยกระเตาะ ว่ามีแนวคิดของ Recurrence, recursive อะไรนี่ เลยคิดขึ้นมาได้ว่าน่าจะมีตัวชี้วัดซักอันไว้เป็น automated control คนจำพวกนี้ จึงขอเสนอตัวชี้วัดร้อยละของผลแบบสอบถามที่ว่า... คุณคิดว่าการตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันและความยั่งยืนมีความสำคัญมากน้อยพียงใด (ระดับคะแนน 1-5 จากน้อยที่สุดไปมากที่สุด)

ถ้าหน่วยงานนั้นมีผลประเมินในระดับคะแนนเฉลี่ยที่สูงก็ได้คะแนนสูง แสดงถึงการให้ความสำคัญ เราก็สามารถกำหนดเป้า กำหนดค่าเกณฑ์วัดที่ท้าทาย (อย่างสบายใจ) กลยุทธ์ที่ออกมาก็จะดูดีมีราศีไปตามระเบียบ แต่ถ้าหน่วยงานใดให้คะแนนออกมาต่ำก็มีทีท่าว่าจะไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กร รังสีมนุษย์ Comfort zone ก็จะเจิดจรัส (กล้าให้ต่ำก็เอาสิ) แถมคะแนนประเมินก็ต่ำอีก เอาสิกระทบโบนัสนะคะะะะะะ

อ้างอิง: thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 599435เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2016 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2016 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท