Benedict Anderson คนที่เห็นชาติเป็นจินตนากร ตายลงเมื่ออายุได้ 79 ปี


Benedict Anderson ซึ่งเป็นนักวิชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อเสียงในด้านความเป็นชาตินิยม (nationalism) โดยการเสนอว่าชาติเป็นชุมชนจินตนาการ ซึ่งเกิดขึ้นมาจากความเป็นทุนนิยมและเครื่องพิมพ์หนังสือ ตอนนี้ได้ตายในคืนวันเสาร์ที่โรงแรม Batu ประเทศอินโดนีเซีย ในอายุ 79 ปี

การตายได้รับการยืนยันจากเพื่อนของเขา ที่ชื่อ Tariq Ali ที่ทำงานร่วมกันกับเขาในนิตยสาร New Left Review นาย Aliได้กล่าวถึงสาเหตุของการตายว่าเกิดจากโรคหัวใจล้มเหลว (heat failure)

หนังสือที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาก็คือ ชุมชนจินตนาการ: ข้อคิดคำนึงในรากเหง้า และการกระจายของความเป็นชาตินิยม (Imagined Community: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism) ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1983 หนังสือนี้เริ่มต้นด้วยข้อขัดแย้ง 3 ประการ ก็คือ 1. ความเป็นชาตินิยมเป็นปรากฏการณ์สมัยใหม่ ถึงแม้ว่าประชาชนจะคิดว่าชาติเป็นสิ่งโบราณและอยู่เป็นนิรันดร์ 2. ชาติเป็นสิ่งสากล (ทุกๆคนมีชาติ) ถึงแม้ว่าชาติและชาติจะแตกต่างกันอย่างสุดขั้วก็ตาม 3. ชาติเป็นสิ่งที่ทรงพลัง (ประชาชนต้องเพื่อชาติได้) ถึงแม้ว่าหากไตร่ตรองให้ถ้วนที่แล้ว ก็ยากที่จะนิยามชาติได้

Dr. Anderson เชื่อว่า นักทฤษฎีชาวมาร์กซิสต์ (Marxist) และชาวเสรีนิยม (liberal) ได้ละทิ้งที่จะซาบซึ่งในอำนาจของความเป็นชาติ เขากล่าวว่า “ความเป็นชาตินิยมไม่เหมือนกับ ism อื่นๆ ความเป็นชาตินิยม ไม่เคยผลิตนักคิดที่ยิ่งใหญ่ของตนเองได้เลย: ไม่มีพวก Hobbeses, Tocquevilles, Marxes or Webers เลย”

เพื่อที่จะเติมเต็มช่องว่าง Dr. Anderson จึงนำเสนอว่า ชาติเกิดขึ้นหลังจากความเชื่อทั้ง 3 ประการนี้อ่อนกำลังลง ได้แก่ 1. ภาษาที่เป็นของชนชั้นสูง (เช่น ภาษาลาติน) ที่นำเสนอทางเข้าที่มีลักษณะเฉพาะไปสู่สัจธรรมเกี่ยวกับสิ่งที่ดำรงอยู่ (existence) 2. สังคมที่ถูกจัดระเบียบโดยผู้นำ ที่ปกครองในนามของอาญาสิทธิ์ และ 3. รากเหง้าที่ว่าด้วยโลกและมนุษย์มีลักษณะเหมือนกันโดยธรรมชาติ

ความเป็นชาติเริ่มต้นที่ยุโรปตะวันตก, การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ, การค้นพบทางวิทยาศาสตร์, และการปฏิวัติของการสื่อสาร ทั้งหมดนี้ทำให้ความเชื่อเก่าลดความสำคัญลง แนวทางใหม่ๆในการเชื่อมภราดรภาพ, อำนาจ, และเวลา เป็นสิ่งที่จะเข้ามาทดแทนความเชื่อเก่าๆเหล่านั้น

Dr. Anderson ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สิ่งที่เป็นแก่นในกระบวนการก็คือ การเกิดขึ้นของทุนนิยมที่อยู่ในพื้นที่ชานเมือง การผลิตซ้ำที่เป็นกลไกของเรื่องการพิมพ์ทำให้ประชาชนเข้าใจเรื่องของประชาชนอื่นๆได้ดี (นำไปสู่ความหลากหลายทางภาษา) ความเข้าใจอันนี้ทำให้พวกเขาตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งในชุมชน นอกจากนี้ยังมีการทำให้ภาษาเปลี่ยนไปยากขึ้น จนทำให้ภาษาจะติดแน่นและมั่นคง สิ่งนั้นยังทำให้เกิดภาษาแห่งอำนาจ ซึ่งมีเกียรติมากกว่าภาษาพื้นเมือง

ผลลัพธ์ก็คือ ความเป็นชุมชน (อีกนัยหนึ่งก็คือชาติ) ที่มีเขตจำกัด (ทุกชาติมีเส้นแดน) และมีอธิปไตย (ในยุครู้แจ้ง และการปฏิวัติทางการเมือง ซึ่งการปกครองแบบราชวงศ์ลดน้อยถอยลงไป)

คำว่า จินตนาการนั้น Dr. Anderson มิได้หมายความว่าสิ่งนั้นไม่จริง เขาเขียนว่า ชุมชนใดก็ตาม ที่ใหญ่กว่าหมู่บ้าน ประชาชนที่อยู่ในนั้นรู้จักหน้าค่าตากันได้ นั่นแหละคือจินตนาการ ความรู้สึกแบบเป็นพี่เป็นน้องเริ่มถูกสร้างขึ้นภายในชาติ ความรู้สึกนี้เป็นไปอย่างแน่นแฟ้นมากขึ้น นี่คือเหตุผลที่ทำไมคนบางคนจึงยอมตาย และรักษาเพื่อชาติของตนเองได้

Dr. Anderson กล่าวว่าในขณะที่เหตุปัจจัยนี้เริ่มเกิดในยุโรปก่อน แต่พัฒนาการของจิตสำนึกความเป็นเมืองเริ่มที่กลุ่มโลกยุโรปตะวันตก (สหรัฐอเมริกา, บราซิล, และอาณานิคมของสเปนก่อนหน้า) ในปลายสตวรรษที่ 18 จากที่นั้น จิตสำนึกความเป็นชาตินี้ได้แพร่มายังยุโรป และอาณานิคมของยุโรปในแอฟริกาและเอเชีย

Benedict Richard O’Gorman Anderson เกิดในวันที่ 26 สิงหาคม ปี 1936 ที่ Kunming ประเทศจีน เป็นลูกของพ่อที่เป็นชาว Irish และเป็นที่เป็นชาวอังกฤษ พ่อของเขาเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก Imperial Maritime Custom Service ซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ยุโรป ผู้เก็นภาษีในนามของรัฐบาลจีน

ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่ California ในปี 1941 และย้ายไปอยู่ Ireland ในปี 1945 เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Cambridge ในปี 1957 หลังจากนั้นจึงไปอยู่ที่ Cornell เขาได้รับปริญญาเอกในสาขาการปกครองปี 1967 และสอนอยู่ที่นั่นจนเขาเกษียณอายุ ที่นั่นเขาได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ของการศึกษานาๆชาติในปี 2002

เมื่อตอนที่เขาเป็นนักศึกษา เขาพิมพ์หนังสือร่วมกับ Ruth T. McVey ในเรื่องการฆ่าชาวอินโดนีเซียในปี 1965-1966 ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด หลังจากการรัฐประหารล้มลง อย่างน้อยมีประมาณ 500,000 คนถูกฆ่า เพราะเชื่อมโยง (จริงหรือทึกทักเอาเอง) กับพรรค Indonesian Communist การรายงานของเขาทำให้เรื่องเล่าที่เป็นทางการของการรัฐประหารมีความแจ่มชัดมากขึ้น ในการแก้เผ็ด เผด็จการซูฮาร์โตซึ่งขึ้นมาครองอำนาจตั้งแต่ปี 1968 ทนข้อวิจารณ์ของเขาไม่ได้ อีกทั้งไม่มีอำนาจจับกุมคุมขัง เช่นที่ได้ทำกับปัญญาชนท้องถิ่นอินโดนีเซีย เขาจึงเพียงถูกห้ามเข้าประเทศอินโดนีเซียนับตั้งแต่ปี 1972 และกลับมาที่ประเทศนี้อีกครั้งเมื่อปี 1998 (หลังจากที่เผด็จการซูฮาร์โตหมดอำนาจ)

Dr. Anderson ตอนนี้มีชื่อเสียงไม่เพียงแต่แนวคิดทางทฤษฎีของเขาเท่านั้น แต่ยังมีการทดสอบเรื่องภาษาและอำนาจในอินโดนีเซีย, ประเทศไทย, และฟิลิปปินส์อย่างมีรายละเอียด นอกจากนี้ยังเขาคล่องแคล่วในภาษาอินโดนีเซีย, ภาษาชวา, ภาษาไทย และภาษาตากาล็อกด้วย

เนื่องมาจากความขมขื่นของสหรัฐอเมริกาต่อสงครามในเวียตนาม และยุคของการแตกหักในประเทศเวียตนาม, กัมพูชา, และประเทศจีน (ทั้งหมดเป็นรัฐแบบคอมมิวนิสต์) ที่ทำให้เขามีความสนใจใคร่รู้ในเรื่องรากเหล้าของชาตินิยม

แปลและเรียบเรียงจาก

Sewell Chamdec. Benedict Anderson, Scholar Who Saw Nations as ‘Imagined,’ Dies at 79

http://www.nytimes.com/2015/12/15/world/asia/benedict-anderson-scholar-who-saw-nations-as-imagined-dies-at-79.html?smid=tw-nytobits&smtyp=cur&_r=0

หมายเลขบันทึก: 598635เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2015 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2015 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พูดได้หลายภาษามากเลยนะครับ

เสียดายเสียชีวิตแล้ว

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท