มนุษย์เผ่าพันธุ์ใหม่


สภาพจิตของบุคคลในสังคมถูกซึมซาบด้วยอำนาจการปรุงแต่งที่ผิดธรรมชาติ ทางสายพันธุ์เทคโนโลยีฯ ซึ่งเป็นการปรุ่งแต่งให้สภาพจิตมีความนึกคิดผิดธรรมชาติบนวิถีธรรมมากขึ้น หากมนุษย์ชาติขาดขบวนการพัฒนาจิตคืนกลับสู่ธรรมชาติโดยใช้ธรรมโอสถบำบัดเข้าช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจอันได้แก่ ศีลธรรม ซึ่งเป็นหลักคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา อันเป็นยาขนานเดียวเท่านั้นที่จะช่วยบำบัดขจัดพิษภัยจากอำนาจปรุงแต่งที่ผิดธรรมชาติจากสายพันธุ์เทคโนโลยีฯ

ด้วยอำนาจการปรุงแต่งที่ผิดธรรมชาติทางสายพันธุ์เทคโนโลยี จึงเกิดมนุษย์เผ่าพันธ์ใหม่

สภาพจิตมีความนึกคิดผิดธรรมชาติบนวิถีธรรมมากขึ้น จึงเกิดมนุษย์เผ่าพันธุ์ใหม่

การยืนอยู่หรือดำรงตนอยู่ในสังคมปัจจุบันของโลกนวัตกรรมยุคใหม่นั้นเป็นเรื่องปกติที่สภาพจิตของบุคคลในสังคมถูกซึมซาบด้วยอำนาจการปรุงแต่งที่ผิดธรรมชาติ ทางสายพันธุ์เทคโนโลยีฯ ซึ่งเป็นการปรุ่งแต่งให้สภาพจิตมีความนึกคิดผิดธรรมชาติบนวิถีธรรมมากขึ้น หากมนุษย์ชาติขาดขบวนการพัฒนาจิตคืนกลับสู่ธรรมชาติโดยใช้ธรรมโอสถบำบัดเข้าช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจอันได้แก่ ศีลธรรม ซึ่งเป็นหลักคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา อันเป็นยาขนานเดียวเท่านั้นที่จะช่วยบำบัดขจัดพิษภัยจากอำนาจปรุงแต่งที่ผิดธรรมชาติจากสายพันธุ์เทคโนโลยีฯ ตามที่กล่าว ซึ่งทำให้หมู่ชนมนุษย์ชาติมัลักษณะอาการจับต้องยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนกล้าแข็งขึ้นกว่าปกติมาก เรียกว่า หลงยึดในอัตตาสูง ปฏิเสธกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่เป็นความจริงโดยปริยาย แม้จะมีคนตายอยู่ข้างหน้าให้เป็นมรณานุสติ แต่จิตดังกล่าวของบุคคลเหล่านั้นที่สั่งสมอำนาจความยึดถือในตัวตนอย่างเข้มแข็งก็ยังคิดว่า "กูไม่ตาย ... กูไม่ตาย ....กูไม่ตาย..." อยู่เสมอและเป็นเช่นนี้อย่างปกติ ด้วยอำนาจอิทธิพลลัทธิวัตถุนิยมที่แผ่ซ่านผ่านโลกนวัตกรรมสู่สายพันธุ์เทคโนโลยีฯ ทั้งหลาย อันทำให้สมองฝั่งซ้าย-ขวา ในกะโหลกศรีษะของมนุษย์เกิดเสียความสมดุลโดยธรรมชาติดังที่เคยมีจากสภาพจิตซึ่งถูกตบแต่งด้วยสภาวะธรรมที่ถูกปรุงแต่งอย่างพิเศษ จึงเกิดมนุษย์เผ่าพันธุ์ใหม่ มีความรู้ความเข้าใจสูง แต่ไร้ค่าในความรู้นั้นเพราะไม่สามารถบรรลุคุณธรรมขั้นสูงอันเป็นไปเพื่อความสุขที่แท้จริงได้ ด้วยห่างไกลธรรมชาติและออกห่างสัจธรรมจึงมีความคิดพิสดารมากขึ้นอย่างน่ากลัว โดยลักษณะของเผ่าพันธุ์ใหม่ดังกล่าวมีลักษะดุจดัง

เข้าใจความจริง แต่ไม่ยอมรับความจริง

พูดคุยดุจมีศรัทธา แต่แท้จริงไม่มีศรัทธา

กล่าวพรรณนาคุณของศีลอย่างรู้ค่า แต่เป็นผู้ทุศีล

กล่าวพรรณนาธรรมดุจพหูสูตร แต่ไม่เคยสดับตรับฟังสิ่งใด

เป็นผู้มีความตระหนี่ แต่พูดจาสร้างภาพ ดุจเป็นผู้มีจาคะ

กระทำตนพูดคุยดุจบัณฑิต แท้จริงเป็นคนพาลอับปัญญา

ลักษณะบุคคลแบบนี้มีมากจริงๆในสังคม หากขาดความเข้าใจโดยธรรม ไม่ใช้หลักพิจารณา โดยแยบคายทางจิต โอกาสที่จะโน้มหลงเชื่อตาม ย่อมมีความเป็นไปได้สูง จึงกล่าวไว้เสมอในการสั่งสอนบุคคลทั้งหลายว่า "ฟังสักครึ่งหู เก็บไว้สักหูครึ่ง" ไม่ใช่ฟังหู ไว้หู อย่างแต่ก่อน ซึ่งคงจะใช้ได้ยาก และอาจจะออกไปในทางปรามาส อยู่กับการดำรงตนอยู่ในสังคมยุคปัจจุบันหากเป็นเช่นนี้

จากที่กล่าวมา จึงเป็นเรื่องไม่แปลกเลยที่จะมีบุคคลจำนวนมากเริ่มสับสน และวิพากษ์ วิจารณ์ ต่างๆ นานา ในเรื่องสวรรค์......นรก ..... โดยให้คำจำกัดความกันไปตามแต่ทัศนะความเห็น อันมีความหมายในความเข้าใจออกจะไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งได้แก่ สวรรค์คือความสุขหรือสุคติ และนรกคือความทุกข์หรือทุคติ ส่วนความสุขเป็นอย่างไร ความทุกข์เป็นอย่างไรนั้น ทุกๆคนคงพอจะคาดเดาเอาจากความรู้สึก อาจจะให้คุณค่าความลุ่มลึกในความหมายของทั้งสองคำคือ สุขกับทุกข์ แตกต่างกันไปตามระดับตวามรู้ ประสบการณ์ และความเข้าใจ อันเป็นความเห็นที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคล แต่อาจจะมีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายกันอย่างหนึ่งคือ ไม่มีใครต้องการความทุกข์.... ทุกคนปรารถนาให้ได้มาซึ่งความสุข ตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดจนถึงผู้สูงชรา ปัจฉิมวัย มีมรณภัยอยู่เบื้องหน้า ทุกคนต้องการให้ได้มาซึ่งความสุขเสมอ

จากความหมายของนรกและสวรรค์ จึงถูกแบ่งตามภูมิความรู้ ความเข้าใจของจิตใจแต่ละระดับ ดุจบุคคลที่มีสายตาอันมองได้ไกล-ใกล้ มืดมัวหรือชัดเจนที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความหมายในความรู้สึกที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งคงหมายถึงความเห็นที่ต่างระดับของบุคคลในปัจจุัยดังกล่าวในความหมาย ความเข้าใจในเรื่องนรก-สวรรค์นั้น ย่อมต่างกันไปตามระดับความเห็นของภูมิจิต

กรรมบถ 10

กรรมบถ 10 แบ่งไปตาม กาย วาจา ใจ เอาสติเข้าไปควบคุมว่า ศีล 5 ก็ดี กรรมบถ 10 ก้ดี มีอะไรบ้าง คุมไวไม่ยอมลืม

กรรมบถ 10 ทางกายมี 3 คือ

1.ไม่ฆ่าสีตว์

2.ไม่ลักทรัพย์

3.ไม่ประพฤติผิดในกาม

ทางวาจามี 4 คือ

1.ไม่พูดปด

2.ไม่พูดคำหยาบ

3.ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน ไม่นินทา

4.ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

ทางใจมี 3 คือ

1.ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น โดยไม่ชอบธรรม

2.ไม่จองล้างจองพลาญใคร คือ ไม่พยาบาท

3. มีความเห็นถูกคือ สัมมาทิฏฐิ มีความเห็นตรงตามที่พระพุทธเจ้าสอน ไม่คัดค้าน

กระบวนการพัฒนาจิตคืนกลับสู่ธรรมชาติ

สภาพจิตของบุคคลในสังคมถูกซึมซาบด้วยอำนาจการปรุงแต่งที่ผิดธรรมชาติ ทางสายพันธุ์เทคโนโลยีฯ ซึ่งเป็นการปรุ่งแต่งให้สภาพจิตมีความนึกคิดผิดธรรมชาติบนวิถีธรรมมากขึ้น หากมนุษย์ชาติขาดขบวนการพัฒนาจิตคืนกลับสู่ธรรมชาติโดยใช้ธรรมโอสถบำบัดเข้าช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจอันได้แก่ ศีลธรรม ซึ่งเป็นหลักคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา อันเป็นยาขนานเดียวเท่านั้นที่จะช่วยบำบัดขจัดพิษภัยจากอำนาจปรุงแต่งที่ผิดธรรมชาติจากสายพันธุ์เทคโนโลยีฯ

คัดลอกจากหนังสือ "จึงเกิดมนุษย์พันธุ์ใหม่" ด้วยอำนาจการปรุ่งแต่งที่ผิดธรรมชาติทางสายพะนธุ์เทคโนโลยีฯ โดยพระอาจารย์ อารยะ วัง โส วัดป่าพุทธหจน์หริภูญไชย

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

14/02/2559

คำสำคัญ (Tags): #มนุษย์เผ่าพันธุ์ใหม่#อำนาจปรุงแต่ง#ผิดธรรมชาติ#เทคโนโลยี#พระอาจารย์ อารยะ วัง โส#สภาพจิต#วิถีธรรม#สังคม#มนุษย์ชาติ#ขบวนการพัฒนาจิต#กลับสู่ธรรมชาติ#ฟื้นฟูจิต#โอสถบำบัด#ศีลธรรม#หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา#ขจัดพิษภัย#อัตตา#กฏเกณฑ์ธรรมชาติ#ความจริง#มรณานุสติ#ลัทธิวัตถุนิยม#สมองฝั่งซ้าย-ขวา#ความรู้#ความเข้าใจ#ไร้ค่า#ขาดความเข้าใจในธรรม#หลักพิจารณาโดยแยบคายทางจิต#จิต#ฟังสักครึ่งหู#เก็บไว้สักหูครึ่ง#สวรรค์#ความสุข#นรก#ความทุกข์#มรณภัย#ภูมิความรู้#ระดับของบุคคล#ระดับความเห็นของภูมิจิต#กรรมบถ ๅจ#กาย#วาจา#ใจ#ศีล 5#ไม่ฆ่าสัตว์#ไม่ลักทรัพย์#ไม่ประพฤติผิดในกาม#ไม่พูดปด#ไม่พูดคำหยาบ#ไม่พูดส่อเสียด#ไม่พูดเพ้อเจอ
หมายเลขบันทึก: 598440เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2015 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2015 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท