ประสบการณ์ 5 วัน ที่ปาปัวนิวกีนี


ประสบการณ์ในปาปัวนิวกินี 22 - 26 พ.ย. 2558

ตอนที่ได้รับการติดต่อให้ร่วมทีมสำรวจเบื้องต้นเพื่อวางแผนแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาในเด็กของประเทศปาปัวนิวกินิ ก็ตอบตกลงไปทันที ด้วยความสนใจประเทศแบบนี้ในแง่ของ "ความสด" ต่อ Globalization ที่น่าจะมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ ยังเป็นดั้งเดิมอยู่เยอะ

พอมาดูข้อมูลเบื้องต้นก่อนเดินทางยิ่งน่าสนใจ เพราะ GDP ของประเทศค่อนข้างสูง แต่คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติแบบดั้งเดิม และแม้ปัญหาสุขภาพหลักๆ จะเป็นขาดสารอาหารแต่ก็เริ่มมีภาวะโภชนาการเกินมาบ้างแล้ว ทางทีมซึ่งประกอบไปด้วยอาจารย์จากภาคโภชนวิทยา พยาบาลสาธารณสุข และอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล จึงต้องวางแผนกันแบบเครียดๆ ว่าจะตอบโจทย์ที่ได้มาอย่างไร

วันเดินทาง ประมาณ 2 ชม. จากไทยไปสิงคโปร์ ก่อนจะพักเล่นเน็ตฟรีกว่า 6 ชม. ที่นั่น แล้วเดินทางต่ออีกประมาณ 6 ชม. สู่เมืองหลวงของปาปัวนิวกินิ ถึงเช้าของเวลาท้องถิ่น ก็เช็คอินเข้าโรงแรมฮอลิเดย์อินน์ ดูชื่อคล้ายม่านรูดบางแห่งที่เมืองไทย แต่ของจริงเป็น International standard ที่หรูที่สุดที้นี่ เห็นว่าเป็นแห่งเดียวที่ทีบริการอาหารเช้าและอินเตอร์เน็ตฟรี

โปรแกรมเริ่มด้วยเที่ยง 22 พ.ย. กับอาหารเที่ยงที่นี่ โดยบรรยากาศออกไปทางร้านอาหารจีนกับเมนูที่เราคุ้นปาก คือ ปูทอดแบบที่นี่ ไก่ หมู ก็อิ่มหน่ำสำราญกันดี ด้วยการต้อนรับของ Deputy Representative, UNICEF ซึ่งเป็นคนไทยและเป็นศิษย์เก่าของคณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล นี่เอง

หลังกินอิ่มก็มานั่งวางแผนการทำงานกันต่อว่า 5 วันที่นี่ จะสามารถตอบโจทย์ของการมาที่นี่ได้อย่างไร ตบท้ายด้วยการ Brief การใช้ชีวิตที่นี่ ซึ่งข้อมูลที่ได้ค่อนข้างน่าแปลกใจว่า แม้ปาปัวนิวกินีจะเป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่ก็มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงสิบปีนี้ค่อนข้างเร็วด้วยความอุดมสมบูรณ์ของน้ำมันและทอง GDP จึงสูงและส่งผลให้ค่าครองชีพสูงไปด้วย โดยอัตราแลกเปลี่ยนเ 1 งินกีนาของที่นี่ เท่ากับ 2.8 US dolla หรือประมาณ 13 บาทไทย ค่าครองชีพที่นี่จึงสูง ข้าราดอาหารหนึ่งอย่างที่นี่จึงตกจานหนึ่งประมาณ 300 บาทไทย แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจว่าส่วนใหญ่คนที่นี่ยังยากจนเป็นส่วนใหญ่ ที่ไม่ถึงบริการพื้นฐานต่างๆ จึงมีอาชญากรรมค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการปล้นคนต่างชาติ คำเตือนของการอยู่ที่นี่จึงขอให้เราอยู่เพียงในโรงแรมเท่านั้น การเดินตลาดสดเป็นข้อห้ามโดยเด็ดขาดเพื่อความปลอดภัย แต่จะไปเดินรอบๆ โรงแรมต้องมีกาดไปด้วยเท่านั้น จึงทำให้ตลอดทริปนี้อาจจะไม่ค่อยได้เห็นวิธีชีวิตของคนที่นี่สักเท่าไหร่

หมดวันแรกไปด้วยความเหนื่อยและสงสัย ก่อนจะเริ่มวันใหม่ด้วยการไปพบกับปลัดกระทรวงสุขภาพ ซึ่งที่นี่เรียก National Department of Health และคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทริป pre-survey เพื่อการวางแผนแก้ปัญหาการขาดสารอาหารในเด็กครั้งนี้้ โดยเน้นที่การเรียนรู้หลักสูตรด้านโภชนาการของที่นี่ในระดับมหา'ลัย ช่วงสายถึงบ่ายจึงไปต่อที่มหา'ลัยทางการแพทย์แห่งชาติของปาปัวนิวกีนี (Medical School, University of Papua New Guinea) ซึ่งเปิดสอนทางการแพทย์และสา'สุข ต่อด้วยช่วงบ่ายไปที่ Division of Higher Education เพื่อเรียนรู้โครงการและการจัดการเรียนของมหา'ลัยต่างๆ ที่นี่ ซึ่งข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดกับไทย คือ มหา'ลัยที่นี่มีความเป็นอิสระในการทำหลักสูตรโดยไม่ต้องผ่านมาที่ สกอ. แต่ให้พอจารณาตามความเกี่ยวข้องของหลักสูตรว่าเป็นวิชาชีพใด ให้ปรึกษาหรือพิจารณาร่วมกับหน่วยงานนั้น ก่อนที่ช่วงค่ำจะแวะไปหารือกับ UNICEF Head Office ที่นี่ ก่อนสิ้นสุดวันด้วยความสงสัยมากมาย

วันต่อมาเดินทางแต่เช้าเพื่อไปมหา'ลัยเทคโนโลยีแห่งชาติปาปัวนิวกีนิ (University of Techlnology, Papua New Guinea) เพื่อเรียนรู้หลักสูตรทางด้านโภชนวิทยาใน School of Applied Science ซึ่งตั้งอยู่อีกเมืองห่างไปจากเมืองหลวงโดยการเดิทางด้วยเครื่องบินภายในประเทศ 45 นาที ซึ่งตลอดการเดินทางเป็นไปด้วยความน่าสนใจ ตั้งแต่ตอนเช็คอินที่เกือบไม่ได้ตั๋วโดยไม่ทราบวาเหตุ ซึ่งมาทราบในภายหลังว่าเป็นเรื่องปกติมากสำหรับนี่ที่ เพราะการเดินทางหลักคือทางเตรื่องบิน ด้วยสภาพพื้นที่เป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ผู้ที่มารอเป็น waiting list ในแต่ละวันจึงเยอะ ถ้าเช็คเินช้าจะถูกนำตั๋วไปขายได้โดยง่ายด้วยการคอร์รับชั่นของพนักงาน หลังงเคจืรองที่เมือง Lae ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหา'ลัย ซึ่ง "สถานี" ปลายทางน่าสนใจทีเดียวเพราะเป็นสถานีพัดลม ไม่มีแอร์และการตรวจเช็คก็ไม่ค่อยเข้มงวด จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถยนต์อีกแระมาณ 45 นาที ซึ่งตลอดสองข้างทางเต็มไปด้วยโรงงาน และถนนที่กำลังขยายและการก่อสร้างมากมาย ถามเจ้าหน้าที่กระทรวงสา'สุข ที่เดินทางมาด้วย ได้ความว่า เมืองนี้เป็นเมืองท่าที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีโรงงานเพิ่มขึ้นมากในช่วง 10 ปี โดยเฉพาะโรงงานทูน่ากระป๋อง ที่นี่เป็นแหล่งส่งออกสำคัญของโลก และหนึ่งในจำนวนนั้นมีเจ้าของเป็นคนไทย

เมื่อเดินทางถึง UNITEC ก็ได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์สาขาเทคโนโลยีการอาหาร (Food Technology) มีความน่าสนใจตรงที่หลักสูตรที่นี่จะถูกออกแบบภายใต้กสรแนะนำของภาคอุตสาหกรรมโดยตรง ซึ่งให้การวนับสนุนอุปกรณ์หลายอย่างแก่สถาบันการศึกษาด้วย ดั้งนั้นบัญฑิต 100% ของที่นี่จึงถูกป้อนเข้าโรงงายอุตสาหกรรมการอาหาร ซึ่งก็ตามมาด้วยคำถามสำคัญว่า แลเวเทคโนโลยีการอาการเพื่อชาวบ้านและเด็กๆ หละ ? แน่นอนคำตอบที่ได้ คือ เขาสนใจมาก แต่ที่ผ่ายมาบังไม่ได้คิดสักเท่าไหร่ !

หลักสิ้นสุดการแลกเปลี่ยนก็เข้าพักในโรงแรมที่เมืองนี้ แม้จะติดทะเลแต่ดัวยความปลอดภัยก็แน่นอนว่าออกไปข้างนอกไม่ได้เลย ได้แต่มองออกไปเห็นทาเรือสำคัญ บรรยากาศคล้ายๆ กับระยองบ้านเรายัไงยังงั้น

เริ่มวันใหม่ด้วยการเดินทางกลับมาที่เมืองหลวงแต่เช้าเพื่อเดินทางกลับไปที่ UPNG อีกครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนกับหลักสูตรทางพยาบาล ซึ่งให้ความสำคัญกับงานโภชยาการมาก เพราะเปิดสาขาการพยาบาลโภชนาการชุมชนด้วย

ก่อนจะเดินทางต่อไปที่ UNICEF เพื่อสรุปการเรียนรู้ ข้อค้นพบที่สำคัญ และแนวท่งการแสวงหาความร่วมมือต่อเนื่อง แต่ก่อนจะถึงห้องประชุมก็เกิดเรื่องตื่นเต้นด้วยดารติดอยู่ในลิฟท์เกือบ 10 นาที เพราะไฟที่อาคารมีปัญหา ท้ายที่สุดต้องขึ้นบันได 14 ชั้นเพื่อไปที่ห้องประชุม หลังสิ้นสุดวันก็ไป farewell dinner ก่อนที่จะเดินทางกลับโรงแรมตอนสามทุ่ม ด้วยการมีรถการ์ดประกบอีกคัน ตามมาตรฐานความปลอดภัยของ UN

สิ้นสุดทริปกับวันสุดท้ายด้วยการนำเสนอบทเรียนต่างๆ และการวางแนวทางความร่วมมือทั้งในระดับมหา'ลัย และระดับประเทศ โดยมีภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาการขาดวารอาหารในเด็กของปาปัวนิวกินี โดยมีกระทรวงสา'สุข เป็นเจ้าภาพ ซึ่งผลที่ได้เป็นไปด้วยความพอใจของทุกฝ่าย ซึ่งถ้ามีโอกาสได้มาร่วมทีมอีก จะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไปครับ

26 พฤศจิกายน 2558

บนน่านฟ้าสิงคโปร์

หมายเลขบันทึก: 597852เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2015 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2015 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท