วงจรชีวิตยุลาย


วงจรชีวิตยุงลาย และภาชนะเผลอ

วงจรชีวิตยุงลาย

นายอานนท์ ภาคมาลี (คนหาปลา)

วงจรชีวิตยุงลาย แหล่งที่ยุงลายวางไข่ ภาชนะทุกชนิดที่มีน้ำสะอาดขังอยู่ ยุงลายจะวางไข่ทุกภาชนะได้แก่ โอ่งน้ำ ถังน้ำ กระป๋อง อ่างน้ำต่างๆเช่นอ่างน้ำให้สัตว์เลี้ยงเช่นวัว ควาย ไก่เลี้ยงไก่ชน กระมัง แจกัน ถุงพลาสติก กะลา รองเท้า ยางรถยนต์ กระถางต่างๆในห้องน้ำตามอาคารบ้านพักและโรงเรียน โรงงานต่างๆที่รกร้าง และกองวัสดุอื่นๆที่สามารถทำให้มีน้ำขังยุงลายจะวางไข่ 2 – 3 วันและจะออกมาเป็นลูกน้ำ 4 – 5 วัน จะเป็นตัวโม่ง และกลายเป็นยุงลาย ยุงลายจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 45 วัน

ยุงลายจะวางไข่ในน้ำใสนิ่ง โดยจะวางไข่ตามขอบผนังของพาชนะเหนือน้ำ 1 – 2 เซนติเมตร เมื่อน้ำท่วมถึงจากการเติม หรือฝนตก(ยุงลายอาจจะวางไข่ไว้ล่วงหน้าในภาชนะที่มีความชื้นหรือมีน้ำขังเล็กน้อย แฉะๆ) ไข่ฟักตัวกลายเป็นลูกน้ำภายใน 2 ชั่วโมง แต่หากไม่มีน้ำท่วมถึง ก็จะแห้งติดทน ต่อความแห้งแล้งได้นานถึง 6 – 12 เดือน (จะเห็นได้ว่ายุงลายสามารถวางไข่ล่วงหน้าในภาชนะที่น้ำไม่มีหรือน้ำท่วมไม่ถึง)

ระยะไข่ ยุงลายจะวางไข่อยู่เหนือระดับน้ำเล็กน้อย ไข่มีลักษณะรี คล้ายกระสวย เมื่อออกมาใหม่ๆมีสีขาวนวล และมาเป็นสีน้ำตาล และดำ จะฟักเป็นตัว ลูกน้ำภายใน 2 – 3 วัน

ระยะลูกน้ำ ลักษณะลูกน้ำยุงลาย ที่แตกต่างกว่ายุงรำคาญก็คือ ท่อหายใจยุงลายจะสั้นและอ้วนป้อม มีลำตัวยาวเรียว ลำตัวเกือบอยู่ในระระดับแนวตั้งฉากกับผิวน้ำ ระยะลูกน้ำในระเวลา 4 – 5 วัน

ระยะตัวโม่ง ตัวโม่งนี้เป็นระยะไม่กินอาหาร จ้เคลื่อนไหวได้ช้าลง ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 1 – 2 วัน ก่อนเป็นยุง

อาการของไข้เลือดออก มีไข้สูงกะทันหันเกิน 38 องศา ประมาณ 2 – 7 วันคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร หน้าแดง อาจพบจุดเลือดที่ผิวหนัง มักจะไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก กดเจ็บบริเวณชายโครงด้านขวา(มีเชื้อไวรัสบางตัวที่มีอาการใกล้เคียง คล้ายอาการไข้เลือดออก)

การดูแลรักษาเบื้องต้น ดื่มน้ำผลไม้ หรือเกลือแร่ บ่อยๆ กินยาลดไข้ตามแพทย์ สั่ง (เฉพาะพาราเซตามอลเท่านั้น) เช็ดตัวช่วยลดไข้เป็นระยะๆ ให้อาหารอ่อนๆงดอาหารที่มีสีคล้ายเลือด เช่น แดง ดำ

พาไปพบแพทย์ เพื่อตรวจดูอาการ และตรวจเลือด

สัญญาณอันตรายในช่วงไข้ลด มีอาการซึม อ่อนเพลียมากในช่วงไข้ลด กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง

กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น มีเลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ ชีพจรเต้นเบาเร็ว ปวดท้องกะทันหัน

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ณ วันที่ 20 เดือนพฤศจิกายน 2558 มีผู้ป่วยทั่วประเทศจำนวน 111,826 ราย เสียชีวิตจำนวน 108 ราย (สำหรับผู้เขียนขอแสดงความเสียใจด้วยกับครอบครัวผู้เสียชีวิต) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุมากขึ้น คือในกลุ่ม เด็ก 0 – 12 ปี ลดลง แต่อายุ 12 ปีขึ้นไปมีจำนวนมากขึ้นและมักมีอาการรุนแรง

แนวทางการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของทางราชการได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง หรือ องค์การบริหารงานส่วนจังหวัด เทศบาลมหานคร จัดซื้อเครื่องพ่นหมอกควัน สนับสนุนน้ำมัน น้ำยา ทรายอะเบท บุคลากร อาหาร ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ในแต่ละพื้นที่ ขอความร่วมมือ คือ โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ออกเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ขอความร่วมมือประชาชน ให้ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในแต่ละครอบครัวโดยเฉพาะภาชนะกักเก็บน้ำในครัวเรือน และปรับปรุงสิ่งแวดล้อม กองขยะต่างๆทั้งที่บ้านและในชุมชนเช่น วัด โรงเรียน ที่อาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ใส่ทรายอะเบท แบบทั่วถึง ทุกๆ 3 เดือน (ตามกรอบหรือแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้) หรือตามแผนของชุมชนกำหนดไว้ และอาจะมีการพ่นหมอกควัน ในชุมชน และโรงเรียนก่อนโรงเรียนเปิดเทอม และปิดเทอม

ปัญหาอุปสรรค งบประมาณในแต่และแห่งของแต่ละเทศบาลค่อนข้างมีจำนวนจำกัดและล่าช้าใน

การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในแต่ละพื้นที่ จึงมีการแพร่ระบาดของโรค ขาดความร่วมมือของชุมชน มีบางครอบครัวไม่ให้ความร่วมมือในการใส่ทรายอะเบท หรือให้เอาทรายอะเบทวางไว้ หน้าบ้าน ทรายอะเบทลงไม่ถึงภาชนะกักเก็บน้ำ บางครอบครัวไม่อยู่บ้าน (ขาดการติดตาม) บางครอบครัวมีภาชนะวัสดุจำนวนมาก เช่น ถังใส่น้ำต่างๆ ยางรถยนต์ กะลา (สิ่งเหล่านี้เป็นภาชนะเผลอ) หรืออ่างน้ำต่างๆเช่นอ่างน้ำวัว ควาย ไก่ชน และน้ำในกรงนกเลี้ยงต่างๆ

การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประชาชนทุกๆคนต้องตื่นตัวในการดูแลชุมชนของตนเองและครอบครัว สิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะภาชนะเผลอ เช่น ยางรถยนต์ โดยเฉพาะร้านที่นำยางเก่ามาเปลี่ยนหรือจำหน่าย อ่างน้ำที่ใช้ที่ประกอบใช้ในการปะยาง เขตการก่อสร้างต่างๆที่เก็บอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆไม่ดีพอหรือทิ้งระเกะระกะ เทศบาลต่างๆต้องเอากฎหมายมาบังคับใช้อีกทางหนึ่งอาจจะเป็นผลดีแก่ชุมชน และแนวทางการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

หมายเลขบันทึก: 597559เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2015 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2015 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิธี แก้สาเหตุของไข้เลือดออก ต้อง" ฆ่ายายลุง" (ยุงลาย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท