นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

บันทึกการนิเทศ : โรงเรียนสะอาดไชยศรี "การศึกษาชั้นเรียน"


ฟังดูอาจเป็นวิชาการ แต่ถ้ามานั่งสังเกต ในชั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า กลุ่มเด็กเหล่านี้ น่าเห็นใจ

19 พฤศจิกายน 2558 ภาคเช้า

นัดหมายกับโรงเรียนเพื่อติดตามประเด็น การดำเนินงานนิเทศภายใน นโยบาย สพฐ.และ สพป. แต่กิจกรรมที่ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การศึกษาชั้นเรียน "Lesson Study" โรงเรียนได้เตรียมครูไว้ให้ ศึกษานิเทศก์ สังเกตการสอน สองท่าน ในชั้น ปฐมวัย และ ชั้น ป.1 กิจกรรม เริ่มด้วย

  • แจ้งวัตถุประสงค์การนิเทศ การสังเกตการสอน ซึ่งมีขั้นตอนคือ การประชุมก่อนสอน , สังเกตการสอน และ สะท้อนผลหลังสอน
  • ได้สอบถาม ผอ.ร.ร.ว่า ตอนสะท้อนผล ผอ.จะให้ครูทุกคนเข้าร่วมฟัง หรือไม่ เพื่อจะได้เห็นมุมมอง ของข้อค้นพบหลังการสังเกต การสอน ทาง ผอ.ร.ร. ได้ตัดสินใจ ที่จะให้ครูทุกคนเข้าฟัง

ขอสรุปการดำเนินงาน ดังนี้

การประชุมก่อนสอน ศึกษาแผนการจัดกิจกรรมร่วมกัน
ครู ปฐมวัย , ป.1 ได้เล่าให้ฟังทีละคนเกี่ยวกับการออกแบบการสอนของแต่ละคน

ครูชั้น ป.1 ทำแผนได้สมบูรณ์มาก มีองค์ประกอบของแผนการสอนครบถ้วน ตั้งแต่ การเชื่อมโยง มฐ.และตัวชี้วัด จนถึงการวัดผลประเมินผล และเมื่อสอบถามในรายละเอียดในการจัดกิจกรรม คุณครูจึงได้มีการปรับการจัดกิจกรรมใหม่ และ ไม่วัดผล ตามแผนที่เขียน ซึ่งท่าน บอกว่า นึกว่า ศน..จะมาแค่ดูผิวเผิน และกลัวทำได้ไม่ดี ท่านจึงเขียนแบบ full จัดเต็มให้ก่อนแต่ตอนสอน หนึ่งชั่วโมงเต็ม คงจะประเมินตามที่เขียนไม่ได้

ครูปฐมวัย : จะสอนเรื่อง ของเล่นกับของใช้ โดยเตรียม ใบงาน สื่อการสอน ไว้เรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อศึกษาแผนร่วมกัน คลี่ลงไปในกิจกรรม คุณครูลังเลเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม และสิ่งที่จะสังเกตเด็กว่าจะต้องดูอะไรบ้าง .หลังจากที่พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน แล้ว ครูจึงได้มีการปรับการจัดกิจกรรรม

หลังจากนั้น จึงให้ท่านทั้งสอง ได้ไปเตรียมตัว

สังเกตการสอน (1 ชั่วโมง)

สะท้อนผลการจัดกิจกรรม

เมื่อจบการสังเกตฯ ผอ.ร.ร. ศึกษานิเทศก์ ได้สะท้อนผลการจัดกิจกรรม ในการสอนครั้งนี้ ว่าบรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางแผนออกแบบหรือไม่
การสอนครั้งนี้ โดยภาพรวมทั้งสองท่าน มีความตั้งใจ เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่อาจจะตื่นเต้น ไปบ้าง ทำให้การสอนไม่เป็นไปตามแผน ..แต่ สังเกตได้ว่า ครูต้องให้ความสำคัญกับ การออกแบบการสอน การจัดการกับพฤติกรรมเด็ก ในห้องที่มีหลายรูปแบบ เช่น เรียนไม่ทันเพื่อน ช้า ไม่สนใจ คุย -- และควรมี การวางแผนการจัดกิจกรรม (ออกแบบการสอน) เพื่อให้เด็กในห้องที่มีวิธีการเรียนรู้ รับรู้ ที่แตกต่างกันด้วยการ คิด หากิจกรรมที่ สอดคล้องเหมาะสมกับ ของผู้เรียน และ เพื่อให้การสอน ในครั้งนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ ฟังดูอาจเป็นวิชาการ แต่ถ้ามานั่งสังเกต ในชั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า กลุ่มเด็ก ที่มีปัญหา เหล่านี้ น่าเห็นใจ

ครู ป. 1 สะท้อนตนเอง :

ดีใจที่มี ศน.มาสังเกตชั้นเรียน ซึ่งเป็นครั้งแรกในชีวิตราชการ ที่ได้คุยกับศึกษานิเทศก์อย่างใกล้ชิด จริงๆ แผนที่ใช้สอนวันนี้ เนื้อหามันเยอะเกินไป ในชีวิตปกติประจำวัน ก็จะเป็นลักษณะบูรณาการ กันไป สอนหลายสระ ไม่แยกสอนแบบวันนี้ แต่ เนื่องจาก ผอ.ร.ร. แจ้งให้ต้องเตรียมตัว สอน ให้จบภายใน 1 ชั่วโมง ดังนั้น จึงเลือกเรื่อง สระ ออ --เลยทำให้การสอน ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เท่าใดนัก แต่ก็ ดีใจที่มีคนมาสังเกต ทำให้รู้ข้อบกพร่อง ของตัวเองซึ่ง เป็นคนสอนเร็วมาก และ ยิ่งเมื่อ ศน.ชี้ให้เห็นว่า มีเด็ก สามคน ที่เป็น เขามีปัญหาเรียนไม่ทัน ทำให้ คิดได้ว่า ต้องหาสื่อ นวัตกรรม ต่างๆ มาสอนเด็กกลุ่มพิเศษ นี้ ซึ่งแต่ก่อน ใช้แค่การมาให้ อ่านและเขียน เพิ่มเติม นอกเวลา ซึ่งเด็กก็ไม่ค่อยได้ ดังนั้น ก็จะนำไปคิดเป็นการบ้านต่อ

ครูปฐมวัย สะท้อนตนเอง :

เป็นครั้งแรกที่มีคนมาสังเกตการสอน ทำให้ตื่นเต้นมาก วันนี้ทำได้ไม่ดี คือ พูดเร็ว เด็กยังไม่เข้าใจ และ การใช้คำถามของครูไม่ชัดเจน ทำให้เด็กตอบ สะเปะสะปะ และ ครูรีบสรุปคำตอบของเด็ก เร็วเกินไป ซึ่งจะได้แก้ไข และปรับปรุงตัวเอง ให้ดีขึ้นกว่านี้

ตอนท้ายๆ ศึกษานิเทศก์ ได้ถามว่า ถ้า โรงเรียนมีกิจกรรมสังเกตการสอน ในลักษณะนี้ พอจะทำได้หรือไม่ และเปิดใจ รับฟังความเห็นที่มีความแตกต่าง ได้หรือไม่ คุณครูทุกๆ ท่าน บอกว่า ได้และเป็นเรื่องที่ดี ดังข้อคิดเห็นบางประการ ต่อไปนี้


"ผมสอบแบบ PBL ดีมากๆ เลย บางครั้งก็อยากให้เพื่อนๆ ได้รับทราบวิธีสอนของผม ตอนนี้ พยายามพูดกับภรรยาให้สอนเหมือนผม แต่เขาบอกว่าไม่ถนัด ใครชอบอะไรก็ต่างคนต่างทำ ซึ่งถ้ามีกิจกรรมแบบนี้ ก็จะแชร์ประสบการณ์สอนให้ครูคนอื่นได้รับทราบ"
" ก็ดีอยู่ แต่มันจะมีเวลาไหมล่ะครับ ผมน่ะได้แต่ผมห่วงคนอื่น"
" ผมก็ คุยกับ ครู ป.2 ตลอด เพราะสอนกับทีวี ถ้าจะให้มีการสังเกต ก็ไม่ใช่เรื่องลำบาก เพราะเราสองคนคุยกันบ่อยมาก แต่ผมไม่ชอบการเขียนแผนการสอนเยอะๆ มันทำไม่ไหว น่าจะมีวิธีการอื่นบ้าง"

สะท้อนคิด
เป้าหมายของเรา คือ ให้ ผอ.ร.ร. และ ครู ได้เห็นกระบวนการ AAR หลังการปฏิบัติ เผื่อว่า ท่านมีความสนใจ และ ชอบ นำแนวคิดนี้ไปพัฒนาสถานศึกษา โดยได้ทิ้งท้ายไว้กับผู้อำนวยการโรงเรียนว่า เราอยากเห็นรูปแบบนี้ในโรงเรียนขนาดเล็ก มีการทบทวนการทำงาน วัฒนธรรมการเปิดใจ โดย มีเป้าหมายในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน .ให้ดีขึ้น .ก็ได้แต่สรุป และเสนอแนะผ่านกระบวนการทำงาน ..ก็เป็นโจทย์ของ ผอ.โรงเรียน ....จะบริหาร จัดการอย่างไร ..

หมายเลขบันทึก: 597477เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2015 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2015 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท