AFS VTP Reunion 2015


สังคมอาเซียนบังคับให้เราต้องแข่งขัน เผชิญกับสิ่งท้าทาย ต้องมีความตื่นตัว เตรียมความพร้อมในทกๆด้าน และพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพ เพื่อดำรงตนอยู่ในสังคมโลกอย่างมีความสุข จึงต้องเริ่มพัฒนาที่นักการศึกษาก่อน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษา

กิจกรรมงาน AFS VTP Reunion 2015 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2558 ณ ห้องฟินิกซ์บอลรูม อาคารอิมแพ็คเอ็กซิบิชั่นเซ็นเตอร์ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบรี โดยมีคุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานมูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานฯ ในพิธีเปิดฯ


คุณสนั่น อังอุบลกุล

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ ผู้เคยเข้าร่วมโครงการเอเอฟเอสแลกเปลี่ยนครูฝึกงานในโรงเรียน ณ ต่างประเทศ ( Visiting Teacher Program) ได้มีโอกาสสังสรรค์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หลังการเข้าร่วมโครงการฯ
ประวัติ- ความเป็นมา : โครงการ VTP เริ่มดำเนินการขึ้นเมื่อปี พศ 2526- พศ 2552 มีทั้งประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดาและประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 24 รุ่น รวมได้ 509 คน ปัจจุบันหยุดดำเนินการเนื่องจากประเทศอุปถัมภ์ไม่พร้อมที่จะรับ คาดว่าจะมีการผลักดัน ให้โครงการฯ ดำเนินการต่อไปเนื่องจากเป็นโครงการฯ พัฒนาบุคลากรวิชาชีพครูที่ได้ ประโยชน์คุ้มค่า

จำนวนผู้ร่วมงาน
ผู้เคยเข้าร่วมโครงการ VTP จำนวน 52 คน
อาสาสมัครเอเอฟเอส จำนวน 10 คน
คณะกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิ จำนวน 4 ท่าน
คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ มูลนิธิฯ จำนวน 10 ท่าน



กลุ่มท้ายสุด ก่อนปิดฉากงาน AFS VTP Reunion 2015

สาระสำคัญ : ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ บรรยายพิเศษ หัวข้อ " Read the World in Century 21" ให้กับคณะ VTP ( Visiting Teacher Program) และอาสาสมัครเอเอฟเอสประเทศไทย


ดร สุรินทร์ พิศสุวรรณ


สรุปใจความสำคัญดังนี้

ช้างเผือกในป่า

ดร สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นหนึ่งในเยาวชนจากภุมิภาคที่ได้รับโอกาส จากมูลนิธิเอเอฟเอสประเทศไทย ให้ไปร่วมโครงการแลกเปลี่ยนในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2510 นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความรู้-ภาษา และศักยภาพ ซึ่งเอเอฟเอสมองเห็นความสำคัญของหลักการฯ จึงกระจาย โอกาสให้กับเยาวชนทั่วประเทศฯได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมในต่างประเทศ ทั้งทุนเต็มจำนวน และสมทบทุนบางส่วน หลายคนที่ได้รับทุนฯ กลับมาพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญรุ่งเรือง ดร.สุรินทร์ เองได้ทำงานในบทบาทสำคัญๆที่ช่วยพัฒนาประเทศชาติ และASEAN รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนานาชาติ มาโดยตลอด จึงตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานของมูลนิธิเอเอฟเอสประเทศไทย และเห็นคุณค่าของครูมืออาชีพ ฯ

แนวทางการพัฒนาฯ
ประเทศไทย-คนไทย ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและการเป็นประชาคมโลก จึงเตรียมความพร้อมในการพัฒนาประชาชนและเยาวชน อย่างจริงจัง ที่สำคัญ ต้องก้าวให้ไกล ไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่ลืมความเป็นไทย และมีคุณสมบัติแบบ Multiple Identity จะเป็นโอกาสให้พัฒนาได้อย่างเห็นผล

อุปสรรคในการพัฒนาของประเทศไทย

1.ระบบอุปถัมภ์ ผู้นำ/ผู้บริหารไม่มีความรู้-ขาดประสบการณ์ –ความสามารถ ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง ด้วยระบบอุปถัมภ์ สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติ(อย่างมหันต์)
2 การเมืองไม่เสถียร ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด 83 ปี ประชาธิปไตย คือเสียงข้างมาก เหมือนได้ใบอนุญาตสัมปทาน แสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนและพวกพ้องโดยไม่ได้ใส่ใจต่อการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง
3 ไม่มีหลักการในการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวอ้างแต่ความเป็นเลิศในทุกสิ่ง แต่เป็นเพียงชั่วครู่-ชั่วยาม เพราะไม่มีแผนในการสืบสาน-ธำรงรักษา สิ่งที่อ้างว่าเลิศนั้นจึงหลุดลอย เช่นด้านการท่องเที่ยว ด้านการเกษตร การแปรรูปอาหาร ฯลฯ

ความสำคัญของภาษาต่างประเทศ

หากเยาวชนมีความรู้ในภาษาอื่นเพิ่มขึ้น จะเข้าถึงข้อมูล ได้มากขึ้น ช่วยให้เขาสามารถสืบค้นข้อมูลและพัฒนาได้ก้าวไกลมากขึ้น




บทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21

ครูเป็นผู้แนะนำ ส่งเสริมการเรียนรู้ ให้เด็กรู้จักคิด-วิเคราะห์ และสนับสนุนให้เด็กๆ มีความมั่นใจ กล้าคิด กล้าตอบ ส่งเสริมการสร้างวินัย สร้างความเป็นเลิศ สร้างความภูมิใจในตนเอง
กิจกรรม-การสอนในห้องเรียน
สร้างเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้คิด-วิเคราะห์ เรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่ใช่การท่องจำ

คนไทยกับการพัฒนาฯ ในศตวรรษที่ 21

สังคมอาเซียนบังคับให้เราต้องแข่งขัน เผชิญกับสิ่งท้าทาย ต้องมีความตื่นตัว เตรียมความพร้อมในทกๆด้าน และพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพ เพื่อดำรงตนอยู่ในสังคมโลกอย่างมีความสุข จึงต้องเริ่มพัฒนาที่นักการศึกษาก่อน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษา เห็นความสำคัญของการศึกษาภาษาต่างประเทศ และการสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพในทุกๆด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา




คุณสนั่น อังอุบลกุล มอบของที่ระลึกให้กับ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ


สาระแห่งสาระของ VTP

การพบปะ-แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
การประมูลของรัก เพื่อสมทบทุนเข้าบัญชี กลุ่ม VTP
การเลือกตั้งประธานและคณะกรรมการชุดใหม่

มีการเลือกประธานกลุ่ม VTP คนใหม่ขึ้นมา เนื่องจากประธานคนเดิมอำลาตำแหน่ง และส่งมอบงานกันอย่างเป็นทางการ




คุณปัทมา เอี่ยมสุวรรณ ประธานกลุ่มปี 2557-2558



คุณเฉลียว ปัทมาลัย(ลำดับที่ 2 จากซ้าย) ประธาน AFS VTP คนใหม่และคณะฯ

กำหนดหลักการ-นโยบายฯ

มติของกลุ่มเห็นชอบให้มีการสืบสานกิจกรรม VTP Reunion ขึ้นทุกปีในเดือนตุลาคม



รุ่น 4 มากันเพียบ แนะนำตัว- เล่าความหลังคนละ 1-2 นาทีอย่างได้อรรถรส



รวมดาว หลายรุ่น- หลายสมัย -หลาย Generation



ถ่ายภาพเป็นหลักฐาน คณะกรรมการที่ปรึกษา- ผู้อำนวยการใหญ่ - อาสาสมัครเอเอฟเเอส

สาระแห่งความบันเทิง : คุณชเนศ นาคะวิทย์ อดีตผู้อำนวยการฝ่ายธุรการและกิจกรรม ให้เกียรติเป็นพิธีกรและดำเนินกิจกรรมภาคบันเทิงอย่างสนุกสนาน แม้แต่การประมูลของรักก็ยังสนุกโดนใจกันโดยถ้วนหน้า ขอคารวะจากใจจริงๆ



คุณชเนศ นาคะวิทย์ พิธีกรชั้นเทพฯ

กระเป๋าผ้า ประมูลได้ในราคาเบา-เบา



โฆษณาชวนเชื่อ บรรยายสรรพคุณ-คุณภาพ โชว์ให้เห็นกันจะจะ

เจ้าของภาพมอบของที่หิ้วมาจากอเมริกา ให้กับผู้ประมูลได้...เยี่ยมจริง

แม่ยกคนเดิมฯมอบดอกไม้ให้นักร้องเสียงเพชร คุณสุรวัฒน์ ชมภูพงษ์ กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิฯ

รอยยิ้มหวานแหววกับกิจกรรมสนุกสนาน เต็มสตรีม -เต็มอิ่ม-เต็มหัวใจ เชิ๊บๆๆๆๆๆๆ


ผลการดำเนินงาน AFS
วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เคยเข้าร่วมโครงการฯ ได้พบปะ-สังสรรค์ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่สิ่งที่ได้รับนั้นทวีคูณกว่า 3 เท่า คือ

1. ข้อคิด-มุมมอง ที่ล้ำค่า

2. การสืบสาน-ประสานโครงการฯ

3. ความอิ่มเอมใจ - เต็มตื้นกับความสนุกสนาน


เจ้าภาพหลัก : เอเอฟเอสประเทศไทย


คุณรัชนีกร ภู่สุโข ผอ.ฝ่ายฯ ผู้รับผิดชอบงานหลัก


คณะผู้สง่างาม คุณประจวบ - คุณสุวณีย์ - ผศ.พราวพรรณ และคุณปัทมา

คุณจิรวัฒนา จรูญภัทรพงษ์ ผู้อำนวยการใหญ่มูลนิธิฯ

***…ขอขอบคุณเอเอฟเอสประเทศไทย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมงาน AFS Reunion 2015 ให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น บรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ และขอบคุณ Spirit ของ AFSers ทุกท่านที่มาร่วมกิจกรรมด้วยกันอย่างเต็มใจ-เต็มที่ พบกันใหม่เดือน ตุลาคม 2559 …***


***...ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ...***

หมายเลขบันทึก: 596332เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2015 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2015 08:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท