Parts of Speech ตอนที่ 1


Parts of Speech คือ ส่วนที่ประกอบออกมาเป็นคำพูด ออกมาเป็นประโยค ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ เปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่งที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ เช่น รากฐาน ผนัง เพดาน หลังคา ประตู หรือหน้าต่าง เป็นต้น ซึ่งส่วนประกอบที่ประกอบขึ้นมาเป็นคำพูด มี 8 ชนิด ได้แก่

1. Noun – คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก ชื่อ คน สัตว์ วิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ รวมถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม (อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด สภาวะ) สามารถใช้ได้ทั้งประธาน กรรม ส่วนขยาย และกรรมของบุรพบท เช่น

คน – เช่น ชื่อคน Gary (แกรี่), James (เจมส์), Peter (ปีเตอร์), David (เดวิด), man, woman, boy, girl

สัตว์ – เช่น elephant (ช้าง), dog (หมา), bird(นก), penguin (เพนกวิน)

สิ่งของ – เช่น boat (เรือ), house (บ้าน), car (รถยนต์), computer (คอมพิวเตอร์), book (หนังสือ), pan (กระทะ), tree (ต้นไม้), hand (มือ), finger (นิ้วมือ), kidney (ไต)

สถานที่ – เช่น hospital (โรงพยาบาล), restaurant (ร้านอาหาร), police station (สถานีตำรวจ), school (โรงเรียน), train station (สถานีรถไฟ)

ความรู้สึก หรือสภาวะ – เช่น love (ความรัก), loyalty (ความจงรักภักดี) success (ความสำเร็จ), friendship (มิตรภาพ), honesty (ความซื่อสัตย์)

2. Pronoun – คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อที่จะได้ไม่ต้องใช้คำนามนั้นซ้ำเวลาพูดถึงอีกในประโยคอื่นๆ มีทั้งอยู่ในรูป Subject (ประธาน) และ Object (กรรม)

Subject (ประธาน) : I, She, He, We, They, You, It

Object (กรรม) : me, her, him, us, them

3. Verb – คำกริยา คือ การกระทำ หรือคำที่แสดงอาการทางกาย ทางใจ หรือบ่งบอกถึงสภาวะ

การกระทำ : run (วิ่ง), smell(ดม), eat (กิน), drunk (ดื่ม)

แสดงอาการทางใจ : feel (รู้สึก), think (คิด)

สภาวะ : have (มี), exist (มีอยู่)

นอกจากนี้ยังมีผู้ที่แบ่งกริยาออกเป็นประเภท ได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1. คำกริยาอาจแบ่งออกเป็น main verbs และ 2. กริยาช่วย auxiliary verbs

1 Main verbs คือคำกริยาแท้หรือคำกริยาหลักในประโยค พอพูดปุ๊บแล้วรู้ปั๊บกำลังทำอะไร ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ intransitive verbs, transitive verbs และ linking verbs

1.1 Intransitive verbs คือคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรมมารองรับ เช่น run, fly swim, shout เป็นต้น

1.2 Transitive verbs คือคำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ เช่น eat, cut, give, produce, provide เป็นต้น

1.3 Linking verbs คือคำกริยาที่เชื่อมประธานกับคำนามหรือคำคุณศัพท์ที่ตามมา ได้แก่ รูปต่าง ๆ ของคำกริยาที่คล้ายกับกริยา to be เช่น seem, look, become, turn, smell, sound, taste, feel, etc. คำกริยาประเภทนี้จะต้องมีส่วนเสริมประธาน (subject complement) ส่วนเสริมประธานอาจเป็นคำนามหรือคุณศัพท์ก็ได้

2. กริยาช่วย auxiliary verbs ก็คือ กริยาที่พอพูดปุ๊บแล้วไม่รู้ปั๊บว่าจะทำอะไร เช่น have, has มี ผมต้องถามว่า มีอะไร หรือ can, could สามารถ ผมต้องถามว่า สามารถทำอะไร เป็นต้น การใช้กริยาช่วยมีข้อแม้ว่า หลังกริยาช่วยต้องไม่มี to นำ เช่น I can do my homework ไม่ใช่ I can to do my homework. อนึ่งกริยาที่เป็น linking verbs จัดว่าเป็นกริยาช่วยเช่นเดียวกัน

4. Adjective – คำคุณศัพท์ คือ คำที่วางไว้หน้าคำนาม หรือสรรพนามเพื่อขยายความเหล่านั้นในเชิงลักษณะ คุณภาพ ปริมาณ เป็นต้น

คำต่อไปนี้คือคำคุณศัพท์

สี (color) –red (สีแดง), brown (น้ำตาล), green (สีเขียว)

ขนาด (size) –short (เตี้ย), tall (ยาว), deep (ลึก), shallow (ตื้น), fat (อ้วน), thin (ผอม)

คุณลักษณะ (property) –beautiful (สวย), young (วัยรุ่น), comfortable (สะดวก), ugly (น่าเกลียด), dirty (สกปรก)

.......................

หมายเลขบันทึก: 595669เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2015 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2015 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท