ไข้เลือดออก ภัยเงียบ ที่มักมากับหน้าฝน


โรคไข้เลือดออก โรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคที่เป็นปัญหาของประเทศในเขตร้อนชื้น และนำพามาซึ่ความกังวลต่อประชากรในแต่ละประเทศมาช้านาน และถือเป็นโรคประจำท้องถิ่นมากกว่า 100 ประเทศ ทั้งในเขต แอฟริกา อเมริกา และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสาเหตุเกิดจากยุงลายตัวเมีย กัดคนและแพร่เชื้อไวรัสเด็งกี่ (Dengue Virus) จะอยู่ในร่างกายคนเป็นเวลา 3 – 7 วัน ช่วงเวลานี้จะมีไข้ และจะแพร่ไปยังผู้อื่นเมื่อยุงลายมากัดคนในช่วงนี้ โดยเป้าหมายที่น่าเป็นห่วงส่วนใหญ่จะเป็นเด็กยังไม่สามารถป้องกันตัวจากไข้เลือดออกได้อย่างเต็มที่

โรคไข้เลือดออกมีกี่ระยะ

1.ไข้เลือดออกระยะไข้ขึ้นสูง: เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีไข้ขึ้นสูงลอย 38 – 40 องศา แม้จะรับประทานยาลดไข้ก็ไม่เป็นผล อาการจะทรงอยู่ 2 – 7 วัน แล้วแต่รายไป ปวดท้อง อาเจียนเป็นสีน้ำตาลปน ปวดศรีษะรุนแรง ร่างกายและใบหน้าออกสีแดงผิดธรรมชาติ มีผื่นและจุดจ้ำเลือดขึ้นตามร่างกาย บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเยื่อบุตาอักเสบ

2.ไข้เลือดออกระยะวิกฤติ: เป็นระยะที่ไข้เริ่มลดลง และลดลงอย่างรวดเร็ว เข้าสู่ภาวะช็อค ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย เนื้อตัวมือเท้าอุณหภูมิลดต่ำ มีอาการรั่วของพลาสมา (Plasma) หรือน้ำเหลืองอกนอกเส้นเลือด ชีพจรเต้นเร็ว เบื่ออาหาร ยังคงมีอาการปวดท้อง อาเจียน ความดันเลือดต่ำ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง ในรายที่มีอาการรุนแรงหากไม่สามารถให้สารน้ำ เพื่อทดแทนน้ำเหลืองที่รั่วไหลได้ทัน ผู้ป่วยอาจช็อคจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

3.ไข้เลือดออกระยะพักฟื้น: เมื่อสามารถผ่านพ้นวิกฤติจากจากระยะวิกฤติมาได้ ร่างกายจะเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ มีการดูดกลับของพลาสมาเข้าสู่กระแสเลือด ความดันเลือดและชีพจรเป็นปกติ เริ่มกลับมาเจริญอาหาร มีผื่นแดงขึ้นตามมือ เท้า ปัสสาวะถี่ขึ้น และเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก

1.สามารถป้องกันโดยการเลี่ยงไม่ให้โดนยุง โดยเฉพาะยุงลายกัด ทั้งการใช้มุ้ง มุ้งลวด การใช้โลชั่น

2.การกำจัด ทำลาย แหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยปกติธรรมชาติของยุงจะวางไข่ ในน้ำสะอาด และไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น แจกันดอกไม้ จานรองขาตู้ ยางรถยนต์ที่ไม่ใช้แล้ว หรือแหล่งอื่นๆที่เข้าข่าย

3.การฉีด พ่น ยาฆ่ายุง เมื่อสังเกตุเห็นจำนวนยุงมากผิดปกติ

4.การใช้กลิ่นในการไล่ยุง เช่นตระไคร้ เปลือกส้ม หรือยากันจุดกันยุง

5.การใช้อุปกรณ์กำจัดยุง หรือไล่ยุง เช่น ที่ช๊อตยุง เครื่องดักยุง

ไข้เลือดออก

การรักษาอาการและเผ้าระวังไข้เลือดออกเบื้องต้น

1.ในรายที่น่าสงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก กรณีที่ไม่มีการอาเจียน ให้ผู้ป่วยทานน้ำเกลือแร่มากๆ และเพียง โดยเกตุจากสีของปัสสาวะที่ควรมีสีใส

2.เมื่อยังอยู่ในระยะเฝ้าระวังจะเป็นอาการของไข้เลือดออกหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์เป็นระยะและไปตามนัด เพื่อให้สามารถติดตามได้อย่างใกล้ชิด

3.ในกรณีมีไข้ขึ้นสูง งดใช้แอสไพรินโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีฤทธิ์กัดกระเพาะ และมีอากาสที่เลือดจะออกบริเวณกระเพาะ ส่งผลให้การทำงานของเกร็ดเลือดผิดปกติ

4.กรณีที่มีการอาเจียนอย่างรุนแรง มีอาการเพลีย อาเจียนอย่างรุนแรง ไข้ขึ้นสูง ควรเร่งนำผู้ป่วยให้ถึงมือแพทย์ ณ โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

นี่ก็เริ่มเข้าหน้าฝนแล้ว ยังไงก็ระวังโรคไข้เลือดออกที่มาตามฤดูด้วยนะครับ

หนึ่งในวิธีการป้องกันไข้เลือดออก คือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงที่มีคุณภาพ เพราะยุงลาย คือสาเหตุหลัก นะครับ

ที่มา :ไข้เลือดออก ภัยเงียบ ที่มักมากับหน้าฝน

<img alt="เครื่องดักยุง" https:="" cdn.gotoknow.org="" assets="" media="" files="" 001="" 110="" 936="" default_11111.jpg"="">

เครื่องดักยุง

หมายเลขบันทึก: 595358เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2015 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2015 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท