จิรอาจ สมิงชัย(11)


ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2549

          วันนี้ไม่มีงานถ่ายวีดีโอครับความรู้สึกของผมคือเหมือนกับว่าพี่พี่ที่หน่วยเค้าอยากให้พวกผมได้พักบ้าง  แต่ในเมื่อได้พักแล้วก็ใช่ว่าผมจะใช้เวลาที่ว่างนั้นนอนหลับ  หรือไม่ก็เดินเล่นนะครับ  แต่ผมได้ใช้เวลาที่ผมว่างนั้นในการสอนให้นิธิการณ์  ฝึกทำไตเติ้ลโดยใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอยอดฮิต นั่นก็คือ Adobe Premiere Pro 1.5  ผมสอนให้นิธิการณ์รู้จักหลักการทำงานของโปรแกรมพื้นฐาน นั่นก็คือเครื่องมือต่างๆ โดยผมได้แนะนำว่าเครื่องมือหลักๆ ที่ใช้กันนั้นจริงๆ แล้วใช้อยู่แค่ 2 ชนิดก็คือ

          1.Selection tool หรือว่าลูกศร  ใช้สำหรับเลือกชิ้นงาน  ใช้ลากชิ้นงานไปวางในตำแหน่งที่ต้องการ

          2. Razor tool หรือตัวที่ใช้สำหรับตัดเนื้อหาที่เป็น Video(ภาพ) หรือเนื้อหาที่เป็น Audio (เสียง)

           แค่เครื่องมือแค่นี้เองก็สามารถที่จะทำให้คนที่เป็นเป็นโปรแกรมนี้เลยเริ่มสนใจครับ  ไว้ต่อไปผมจะค่อยๆ อธิบายถึงเครื่องมือต่างๆ ให้นิธิการณ์เค้าฟังอีกที่ครับ  เดี๋ยวมันจะมากเกินไปสำหรับเค้า  ให้เค้าค่อยๆ เรียนรู้ดีกว่าครับ 

          เมื่ออธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือแล้วนั้นผมก็มาอธิบายถึงหลักการทำงานของโปรแกรมนี้ว่า  โปรแกรมนี้จะมีหลักการทำงานคือสมมุติว่า  ในTimeline นั้นมี บรรทัดทั้งหมด 6 บรรทัดซึ่งจะแบ่งเป็น Timeline ของภาพ(Video) 3 บรรทัดบน โดยบรรทัดแรกจะเป็นVideo3 ไล่ลงมาจากบนลงล่าง จนถึง Video 1 เป็นอันว่าTimeline ภาพหมดแล้ว  เราจะสามารถนำไฟล์ที่เกี่ยวกับภาพมาวางได้เช่น jpeg , avi เป็นต้น และTimeline ภาพ จะสามารถเพิ่มเท่าไหร่ก็ได้แล้วแต่ความพอใจครับ อาจจะถึงVideo10 เลยก็ยังได้

          ถัดจากบรรทัดVideo1 ลงมาก็จะเป็นAudio1 ไล่ลงมาจนถึงAudio3  Timeline เสียง(Audio) นี้จะสามารถนำไฟล์ที่มีนามสกุลดังต่อไปนี้มาวางได้ยกตัวอย่างเช่น wave, mp3 เป็นต้นนะครับ  จะไม่สามารถนำไฟล์ที่เป็นภาพมาวางได้ Timeline เสียงก็เช่นกันนะครับสามารถเพิ่มเท่าไหร่ก็ได้ตามความพอใจครับ

          เมื่ออธิบายถึงการทำงานของโปรแกรมแล้ว  ครั้งนี้ก็มาถึงการให้นิธิการณ์ได้ลงมือปฏิบัติจริงครับ  โดยผมแนะนำเทคนิคต่างๆ ในเรื่องการใช้สี  ใช้แบบตัวอักษรอย่างไรให้น่าสนใจโดยอธิบายว่า  ให้เราดูในใบงานแผ่นพับที่ทางหน่วยส่งมาให้  ว่าในใบงานแผ่นพับนั้นเค้าใช้สีอะไร  ให้เราใช้ตามเค้า  เช่นใบงานแผ่นพับเค้าออกโทนสีม่วง  ก็ให้ใช้สีไปในโทนนั้นจะทำให้ไตเติ้ลที่เราทำนั้นออกมาโทนเดียวกับของเค้า  ยกตัวอย่างเช่น ถ้างานของเค้ามาโทนสีม่วง  เราไม่ดูในใบงานแผ่นพับเค้า  อาศัยว่าเลือกตามถูกใจเราก็ใช้สีส้ม  ก็จะทำให้มันกลายเป็นคนละเรื่องกันเลยครับ  อาจจะโดนเค้าว่าเอาได้   แต่ถ้าแผ่นพับที่เค้าให้มาไม่มีสีเลย  อันนี้ก็ต้องใช้ประสบการณ์หน่อยครับ  ถ้าเป็นผมผมจะดูที่หน่วยงานภาควิชาเป็นหลักเช่นภาควิชากุมาร ผมก็จะใช้โทนน่ารักสดใส เช่นสีชมพูอะไรประมาณนี้ครับ

          เมื่อเลือกสีได้ถูกต้องแล้ว  ก็มาถึงการใส่เอฟเฟคให้กับภาพบ้าง

ผมได้บอกนิธิการณ์ว่า  เอฟเฟคที่ใช้สำหรับภาพนั้นได้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

          1.Video Effect เอาไว้สร้างลูกเล่นให้กับภาพหรือข้อความให้มีความน่าสนใจมากกว่าที่จะเป็นข้อความเกิดขึ้นมาทื่อๆ ครับ

          2.Video Transistion เอาไว้ใส่ระหว่างชิ้นงานเพื่อใช้สำหรับเวลาเปลี่ยนฉาก  เพื่อให้มีความต่อเนื่อง  ดูแล้วไม่สะดุดตาครับ

          การเรียนรู้ของนิธิการณ์ถือว่าใช้ได้มีลืมๆ บ้าง  แต่เค้าก็คอยถามผม  ผมก็มีดุบ้างแหละครับ  แต่ถือว่านี่คือครั้งแรกของนิธิการณ์  ก็เป็นอย่างนี้แหละครับ  ไม่มีใครเก่งมาแต่เกิด  ค่อยๆเรียนรู้เอา  ผมยินดีที่จะคอยสอนและให้คำแนะนำเค้าถ้าเค้าอยากรู้นะครับ  สำหรับวันนี้ผมขอตัวลาไปนอนพักก่อนนะครับ  ราตรีสวัสดิ์

                                                            จิรอาจ  สมิงชัย

 

หมายเลขบันทึก: 59427เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2006 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท