เห็ดฟาง....ในกองปุ๋ยหมัก


แม่ครัว ขออนุญาตครูเก็บไปรับประทาน โดยแบ่งให้ครูครึ่งหนึ่ง ผมมีโอกาสได้เห็นเห็ดฟาง ที่เป็นส่วนแบ่งที่ครู ป.๑ ได้รับ ก็รู้สึกว่า พอเพียงสำหรับมื้อหนึ่ง ดอกสวยมีทั้งดอกบานและดอกตูม ผมเริ่มสงสัย เห็ดเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครนำมาเพาะไว้ ตั้งแต่เมื่อไหร่...

หลายวันมาแล้ว..ผมให้นักเรียนนำใบไม้แห้งที่ยังไม่ย่อยสลายกลายเป็นดิน ที่เรียกว่า..ปุ๋ยหมักใบไม้..ของโรงเรียน ออกจากคอกปุ๋ยหมัก เพื่อจะได้นำดินที่อยู่ข้างใต้ไปใส่ในแปลงผักและใส่ในไม้กระถาง เพื่อปลูกไม้ประดับ..ทำเช่นนี้ทุกๆ ๕ เดือน..

ครั้งนี้พบปรากฎการณ์ใหม่ ที่ไม่เคยพบมาก่อน เป็นไปได้จริงๆ ผมก็ไม่มีความรู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำให้รู้สึกรักในกิจกรรมทำปุ๋ยหมักของโรงเรียนมากขึ้น..

ครูประจำชั้น ป.๑ ไปเก็บเห็ดนางฟ้าที่โรงเรือน ที่อยู่ใกล้กับคอกปุ๋ยหมัก พบเห็ดดอกใหญ่มากมายขึ้นอยู่ตามดินสีดำร่วนซุยที่เป็นปุ๋ยหมักใบไม้ ครูไม่รู้ว่าเป็นเห็ดอะไร แต่ดูแล้ว ไม่ใช่เห็ดนางฟ้าแน่นอน

ครูรีบไปบอกแม่ครัว พร้อมหยิบยื่นเห็ดนางฟ้า ให้แม่ครัวใช้ประกอบอาหารกลางวัน..ต้มยำขาหมู เมนูที่นักเรียนชื่นชอบ ..แม่ครัว ต้องทิ้งงานครัวไว้ชั่วคราว เพื่อไปดูดอกเห็ดในคอกปุ๋ยหมัก แล้วก็ได้คำตอบในทันทีทันใด จะเป็นเห็ดอะไรไปไม่ได้ นอกจาก..เห็ดฟาง..เท่านั้น

แม่ครัว ขออนุญาตครูเก็บไปรับประทาน โดยแบ่งให้ครูครึ่งหนึ่ง ผมมีโอกาสได้เห็นเห็ดฟาง ที่เป็นส่วนแบ่งที่ครู ป.๑ ได้รับ ก็รู้สึกว่า พอเพียงสำหรับมื้อหนึ่ง ดอกสวยมีทั้งดอกบานและดอกตูม ผมเริ่มสงสัย เห็ดเกิดขึ้นได้อย่างไร ใครนำมาเพาะไว้ ตั้งแต่เมื่อไหร่...

หรือจะเป็นเพราะดินถูกหมักจนร้อนระอุ ช่วงหลังๆมีฝนตกบ่อยๆ ทำให้ใบไม้ที่เนาเปื่อยเกิดปฏิกิริยา แต่ก็ต้องมีเชื้อเดิมของเห็ดฟางอยู่ก่อนแล้ว จึงจะออกเป็นดอกเห็ดได้ ผมพยายามนึกว่า มีใครมาโรยเชื้อบ้างหรือไม่อย่างไร ก็พอจะมองเห็นภาพนั้น คือ เมื่อเห็ดนางฟ้าเพาะเลี้ยงในโรงเรือนได้ราว ๔ เดือน แล้ว ก็จะหมดสภาพ ไม่ออกดอกอีกต่อไป ผมจะให้นักเรียนแกะถุงพลาสติกออก แล้วนำเศษเชื้อเห็ดนางฟ้าที่หมดอายุแล้วทิ้งลงไปในคอกปุ๋ยหมัก ทุบให้ป่น เกลี่ยให้เรียบ ..วันต่อมา..ใบไม้แห้งก็จะถมทับลงไป จนมองไม่เห็นเศษเชื้อเห็ดเก่าอีกเลย....

แต่นั่น..เป็นเห็ดนางฟ้า ไม่ใช่..เห็ดฟาง ที่ผมเห็นในวันนี้

วันต่อมา เห็ดฟางก็ออกอีกสองดอก ผมก็ให้ครูเก็บไป แล้ววางแผนทดลองและจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงสักครั้ง หลังจากที่เคยเรียนรู้มาว่า..เห็ดฟาง เขาเลี้ยงในโรงเรือน ในโอ่ง ในสุ่มไก่ แต่ต้องไปซื้อเชื้อเห็ดฟางมาเป็นจุดเริ่มต้นก่อน...

วันนี้..เห็ดฟาง..ออกดอกเดียว ผมรีบเก็บไว้ในโรงเรือนเห็ดนางฟ้า ให้เห็ดทั้งสองทำความรู้จักและคุ้นเคยกันสักพัก เมื่อเห็ดฟางร่วงโรย ผมจะนำมาโปรยในคอกปุ๋ย เพื่อเป็นเชื้อต่อไป เหมือนกับที่ผมทำที่บ้าน คือ เมื่อพบเห็ดโคน ขึ้นในสวนรอบบ้าน ผมจะยังไม่นำมารับประทาน ปล่อยให้แห้งเพื่อเป็นเชื้ออยู่ตรงนั้น เท่าที่สังเกตก็พบว่า เห็ดโคนจะออกดอกให้เห็นทุกปี ในที่เดิมๆ

ครับ..ว่าแล้ว ผมก็นำฟางมาวางทับบนดิน ในคอกปุ๋ยหมัก..สักพัก ไม่ทันจะพรมน้ำให้ชุ่มฉ่ำ ก็มีฝนตกลงมาเสียก่อน ก็มองว่าดูดี เหมือนว่าผมได้เริ่มเพาะเลี้ยงเห็ดฟางแล้ว แม้ว่าตอนนี้ ยังมองเห็นแต่ฟาง...ส่วนเห็ด..ผมยังไม่ค่อยแน่ใจเท่าที่ควร..

ถ้าฟาง..ไม่ใช่ส่วนประกอบสำคัญ..เห็ดฟาง..สามารถขึ้นได้ในกองปุ๋ยหมัก..รับรองว่า นักเรียนของผม จะมีเห็ดฟางรับประทานสลับกับเห็ดนางฟ้าอย่างแน่นอน เพราะที่โรงเรียนมีคอกปุ๋ยหมักอยู่รอบโรงเรียน งานนี้..มีกิจกรรมให้นักเรียนทำและทดลองสังเกตอีกแล้ว...แต่อาจจะต้องทำ..หลังบ่ายสองโมงไปแล้ว.

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๘



หมายเลขบันทึก: 594073เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2015 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2015 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็ดฟางมักขึ้นอยู่ในธรรมชาติ โดยไม่มีการเพาะเลี้ยงก็มีนะ

อย่างแถวกอกล้วยที่มีต้นกล้วยหรือกาบกล้วยที่เน่าเปื่อย

ในกองผักตบชวาที่เน่าเปื่อยก็พบได้บ่อย

ลองเลี้ยงไส้เดือนดีไหมครับ

คอบติดตามบทความอยู่เนืองๆครับ ชอบประสบการณ์ที่ครูได้มาแชร์ครับผม

ชอบวิธีนี้ของท่านเจ้า..ค่ะ..สุดยอด นักวิจัย...

มีดอกไม้ไม่เน่าตามธรรมชาติมาฝากเจ้าค่ะ..ยังสงสัยว่าแมลงที่กินน้ำหวานดอกไม้ชนิดนี้เข้าไป..แล้วมันจะไม่เน่ารึเปล่า..ตอนตาย..อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท