จดหมายข่าวฯ : 1 หลักสูตร 1 ชุมชน...วิจัย รับใช้สังคม


ได้รวบรวม “เรื่องเล่า” จากนิสิตที่เคยได้ลงพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนเมื่อปี 2557 มานำเสนอ เพื่อยืนยันความสำเร็จของการปฏิรูปการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอนที่มุ่งให้ “นิสิตและชุมชนเป็นศูนย์กลาง” โดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรม/โครงการอย่างเป็นทีม สอดรับกับกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรือการศึกษาเพื่อรับใช้สังคม



จดหมายข่าว มมส งานวิชาการรับใช้สังคม : เล่ม 7




บรรณาธิการ

เดือนสิงหาคม 2558 เป็นห้วงวาระการจัดงานการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 11 (จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากลในโอกาสเฉลิมฉลอง 150 ปี จังหวัดมหาสารคาม) ระหว่างวันที่ 17-21 สิงหาคม 2558

ด้วยเหตุนี้จดหมายข่าวเล่ม 7 จึงมุ่งนำเสนอเรื่องเล่าจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับใช้สังคมเป็นประเด็นหลัก ประกอบด้วยเรื่องเล่าจากงาน “วิจัยเพื่อท้องถิ่น” อันเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับ สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น และงาน “วิจัย มมส เพื่อชุมชน” ซึ่งงานวิจัยทั้งสองกลุ่มได้ถูกขับเคลื่อนร่วมกันเป็นระยะๆ สืบมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2556-2558


งานวิจัยทั้งสองกลุ่ม มีทั้งที่ต่อยอดจากงานบริการวิชาการแก่สังคม (หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน) และงานวิชาการจากภารกิจอื่นๆ ทั้งที่เป็นภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การวิจัย หรืออื่นๆ เพื่อค้นหาชุดความรู้บนฐานคิดของการเรียนรู้คู่บริการ หรือปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน รวมถึงภาคีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เสมือนการพัฒนาชุมชนผ่านระบบและกลไกทางการศึกษาเป็นที่ตั้ง

ในทางการขับเคลื่อนอาจยังไม่สำเร็จครบถ้วนตามเป้าประสงค์เสียทั้งหมด ส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า “งานวิจัย-วิชาการรับใช้สังคม” เป็นทิศทางใหม่ หรือเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่กำลังเติบโตเบ่งบานอยู่ในรั้วอุดมศึกษา โดยเฉพาะการขับเคลื่อนด้วยการบูรณาการผ่านภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา หลายสิ่งอย่างจึงเป็นการ “ทำไปเรียนรู้ไป” อย่างอดทนและมีจิตอาสา หรือกระทั่งการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ซึ่งวิสัยทัศน์ที่ว่านั้นย่อมเป็นวิสัยทัศน์แบบมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน มิใช่วิสัยทัศน์ หรือความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

นอกจากนี้ยังได้รวบรวม “เรื่องเล่า” จากนิสิตที่เคยได้ลงพื้นที่ขับเคลื่อนโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนเมื่อปี 2557 มานำเสนอ เพื่อยืนยันความสำเร็จของการปฏิรูปการเรียนรู้ หรือการเรียนการสอนที่มุ่งให้ “นิสิตและชุมชนเป็นศูนย์กลาง” โดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรม/โครงการอย่างเป็นทีม สอดรับกับกระบวนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หรือการศึกษาเพื่อรับใช้สังคม พร้อมๆ กับการยึดโยงกลับสู่หมุดหมายของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ประกอบด้วยแก่นสารสำคัญๆ อาทิ ปรัชญา (ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน) เอกลักษณ์มหาวิทยาลัย (เป็นที่พึ่งของสังคมและชุมชน) และอัตลักษณ์นิสิต (เป็นผู้ช่วยเหลือสังคมและชุมชน)

ครับ-นี่คือส่วนหนึ่งโดยสังเขปของเรื่องราวที่ปรากฏในจดหมายข่าวเล่ม 7 ประจำเดือนสิงหาคม 2558 ที่ยังคงยืนยันอย่างหนักแน่นว่า “เพราะมหาวิทยาลัย (มหาสารคาม) เป็นส่วนนึ่งของชุมชน” มิใช่การขับเคลื่อนอย่างฉาบฉวยและผ่านเลยไปตามตัวชี้วัด !

ด้วยมิตรภาพแห่งการเรียนรู้

พนัส ปรีวาสนา





ครับ-เรียนเชิญเข้าอ่านในระบบ E-book จดหมายข่าว มมส งานวิชาการรับใช้สังคม : เล่ม 7


เชิญครับ

หมายเลขบันทึก: 594019เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2015 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2015 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทุกสถานศึกษา คือส่วนหนึ่งของชุมชนเหมือนกันจ้ะ

เป็นเรื่องเล่า รวมเล่ม ถูกมั๊ยคะ

เก็บไว้ให้คนอื่นได้เรียนรู้ด้วย

นิสิตต้องภูมิใจมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท