ชีวิตที่พอเพียง : ๒๔๘๕. ท้องถิ่นร่วมใจ สานสายใยสุขภาพ



หนังสือ ท้องถิ่นร่วมใจ สานสายใยสุขภาพ” ของ สปสช. เตะตาผม ค้น pdf file ของหนังสือนี้ไม่พบ แต่มีเรื่องราวการประชุมของอีสาน ที่นี่ผมเอามาบอกต่อ ก็เพราะเห็นว่า นี่คือแนวทางการดำเนินการระบบสุขภาพที่ถูกต้อง

ระบบสุขภาพที่ผิด คือระบบที่รวมศูนย์อยู่ที่ศูนย์กลาง เน้นให้ชาวบ้านพึ่งพาระบบบริการของรัฐเมื่อเจ็บป่วย

ระบบสุขภาพที่ถูกต้องคือระบบที่เน้นให้ชาวบ้านและประชาชนทั้งมวล รวมตัวกันดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ให้ท้องถิ่น ทั้งที่เป็นทางการ และที่ชาวบ้านรวมตัวกันเอง ดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ยิ่งทำอย่างมีข้อมูลหลักฐาน กำหนดเป็นธรรมนูญสุขภาพของท้องถิ่น ยิ่งดี

การมีกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนตำบล) จึงเป็นสิ่งที่ดี เป็นนวัตกรรมของระบบ สุขภาพไทย การเคลื่อนไหวใดๆ เพื่อล้มล้างกองทุนนี้จึงเป็นมิจฉาทิฐิ

ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย (หรือ R2R Forum) ครั้งที่ ๘ วันที่ ๒๒ - ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ที่ศูนย์ประชุม อิมแพ็คท์ เมืองทองธานี ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลชิ้นหนึ่งคือ “การพัฒนาต้นแบบการขับเคลื่อนสุขภาพระดับตำบล สู่การจัดการระบบสุขภาพแบบบูรณาการของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนตำบล) โดยใช้เครื่องมือธรรมนูญสุขภาพ” โดย วันรพี สมณช้างเผือก และนงลักษณ์ ยอดมงคล อ่านบทคัดย่อแล้ว เห็นการขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับตำบล ที่ได้ผลอย่างน่าชื่นชม



วิจารณ์ พานิช

๒๒ ก.ค. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 593988เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2015 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2015 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท