หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

เสียค่าผ่านด่าน


เห็นเศษซากใบไม้ทับถมกันอยู่บ้างไม่เห็นไส้เดือนก็ไม่นึกว่าจะมีสัตว์หน้าดินอื่นอีกนอกจากมด กระทั่งถั่วงอกไม่ได้เป็นต้นถั่วเขียวจึงเอะใจค้นหาสัตว์หน้าดินตัวอื่น แหวกลงไปในเศษซากใบไม้ตอนแห้งๆไม่เจออะไร ก็แหวกดูเรื่อยๆ จนวันหนึ่งจึงเจอเจ้านี่ "กิ้งกือ" ทีแรกเจอไม่คิดว่ามันจะเป็นผู้ร้าย จนไปอ่านเจอว่า "กิ้งกือมีเขี้ยวลักษณะเป็นแผ่นฟันคล้ายช้อน เขี้ยวนี้ไม่ได้มีไว้กัด แต่มีไว้สำหรับกัดแทะซากพืชหรือแทงเข้าไปในลำต้นของซากพืชหรือยอดอ่อนแล้วดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช" จึงถึงบางอ้อว่าเจอตัวผู้ร้ายแล้ว

ตื่นเต้นกับความรู้ที่ต้นไม้สอน ตระกูลต้นไม้ที่ได้ความรู้เพิ่มมาชี้ทางสว่างเรื่องพันธุ์ไม้ ดินมีน้ำน้อยไม้คลุมดินที่เหมาะๆจะเป็นพันธุ์ไหนหนอ ตามล่าหาพันธุ์ไม้คลุมดินต่อไปทาเคชิ

ด้อมๆมองๆใต้ร่มเงาดงยอต่อ สายตาไปสะดุดกับเจ้าต้นนี่ ไหงโตดี เจ้าต้นที่ว่าคนเมืองมักจะนำไปปลูกทำรั้วบ้าง ทำบอนไซบ้าง ทำบอนไซได้นี่หมายความว่าเป็นไม้โตช้า ตายยากละนะ มันคือชาดัด หรือชาฮกเกี้ยน หรือต้นเมี่ยง ได้การละนี่คือหนึ่งพันธุ์ไม้พื้นถิ่นที่ปลูกเติมลงในดงไม้นี้ได้

ก้มมองต้นไม้ที่ขึ้นคลุมดิน โบ๋เบ๋จริง เห็นจุดหนึ่งมีต้นหญ้าขึ้นอยู่ ดูลักษณะแล้วน่าจะเป็นหญ้ามาเลเซีย หญ้าแบบนี้จะพบอยู่ในสวนยาง ลงทะเบียนพืชคลุมดินที่ขึ้นได้ใต้ร่มเงาตรงนี้ไว้ก่อนเลย

พอรู้ว่าพืชตระกูลถั่วยืนต้นเหมาะปลูกเติมในดงยอป่า ก็ควานหากล้าขี้เหล็กมาลองปลูกดู ปลูกลงไปต้นหนึ่ง ระยะแรกโตช้า ระยะล่าโตเร็ว และโตเร็วมากขึ้นอีกเมื่อเติมกากชาที่ขอจากตลาดกองคลุมโคนต้นไว้ สิ่งที่เห็นชี้แนะว่า ปลูกต้นไม้เพิ่ม จะให้โตเร็ว ต้องเตรียมอินทรีย์วัตถุไว้ใส่เพิ่มให้ดินด้วย

วันหนึ่งกิ่งยอถูกชาวบ้านตัดสาง ได้แสงเพิ่มขี้เหล็กต้นนี้ก็ยืดตัวชะลูดตั้งตรง ไม่แตกกิ่งก้าน ใต้ร่มยอชุ่มชื้นขึ้น ไร้กิ่งยอชะลอลมให้ ต้นขี้เหล็กก็รับลมเต็มที่ เมือ่ลมแรงพัดฝนมาให้ ลมเหวี่่ยงยอดของมันหมุนไปมา ถึงชะลูดต้นมันก็ไม่หัก ดีจัง

ในช่วงเวลาต่อมา ชาวบ้านไม่รู้คิดอะไร ฟันโคนขี้เหล็กต้นนี้ให้เกิดแผลซะงั้น พอลมพัดยอดมันอีก ต้นก็หัก มีเหลือต้นเหนือดินอยู่ราวๆกว่าเมตร ก็ลุ้นที่จะได้เห็นการมีชีิวิตต่อไปของมันอยู่ เฮ้อ เซ็ง

ไหนๆก็คิดว่าพืชตระกูลถั่วเหมาะจะปลูกในดงยอ ลองเลือกถั่วเขียวเป็นพืชคลุมดินดูหน่อย อยากรู้ว่าผลจะเป็นยังไง โปรยถั่วเขียวกลบด้วยดินทิ้งไว้ก่อนฝนมา อีกสัปดาห์ตามดูก็เห็นถั่วงอก ตามดูต่อต้นถั่วเขียวหายเกลี้ยง รู้สึกแปลกใจว่านอกจากมดแดงแล้ว มีสัตว์อื่นมาหากินอยู่แถวนี้ด้วย

ตอนขุดดินปลูกต้นไม้ใหญ่ เห็นเศษซากใบไม้ทับถมกันอยู่บ้าง แต่ขุดเท่าไรๆก็ไม่เจอไส้เดือนสักตัว ขุดดินเป็นหลุม เติมขี้ไก่ผสมแกลบรองก้นหลุม โรยต้นกล้วยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆทับ เติมดินปิดทับ วางต้นไม้ลง กลบดินทับรากและโคนต้นไม้ ปิดหลุม อัดดินจนแน่น ไม่เห็นไส้เดือนก็ไม่นึกว่าจะมีสัตว์หน้าดินอื่นอีกนอกจากมด จนถั่วงอกไม่ได้เป็นต้นถั่วเขียวจึงเอะใจค้นหาสัตว์หน้าดินอื่นๆ

แหวกลงไปในเศษซากใบไม้ตอนแห้งๆไม่เจออะไร ก็แหวกดูเรื่อยๆ จนวันหนึ่งเจอเจ้านี่ "กิ้งกือ" ทีแรกเจอก็ไม่คิดอะไร จนไปอ่านเจอว่า "กิ้งกือมีเขี้ยวลักษณะเป็นแผ่นฟันคล้ายช้อน เขี้ยวนี้ไม่ได้มีไว้กัด แต่มีไว้สำหรับกัดแทะซากพืชหรือแทงเข้าไปในลำต้นของซากพืชหรือยอดอ่อนแล้วดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช" จึงถึงบางอ้อว่าเจอตัวผู้ร้ายที่แอบโขมยกินถั่วงอกแล้ว

สัตว์หน้าดินอย่างกิ้งกือกินแมลง ไส้เดือน และสัตว์ตัวเล็กๆในดินเป็นอาหารด้วย ในตัวกิ้งกือนั้นมีสารเบนโซควิโนนอยู่ สารตัวนี้ฆ่ามดได้ ในเมื่อมันดูดน้ำเลี้ยงยอดอ่อนของต้นไม้เป็นอาหารด้วย ก็ไม่ควรเลือกพืชคลุมดินที่โปรยเมล็ดปลูกอย่างถั่วทั้งหลาย

พบกิ้งกือก็เหมือนธรรมชาติได้ส่งผู้ช่วยปรับปรุงดินมาให้ มูลของมันนั้นมีธาตุอาหารและจุลินทรีย์สูง เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มธาตุอาหารในดิน เป็นปุ๋ยปรับปรุงดิน การเจอกิ้งกือ ทำให้ดีใจว่า หน้าดินได้ความชุ่มชื่นคืนกลับมาแล้ว

การปลูกต้นไม้ด้วยวิธีข้างบน ใช้น้ำเพียงแก้วเดียวรดแล้วปล่อยทิ้งไว้ตามมีตามเกิด ต้นไม้ก็รอดเขี้ยวกิ้งกือมาได้ ช่วยเติมความรู้ใหม่เรื่องกล้าไม้ให้ว่า ถ้าเลือกกล้าที่มีลำต้นเปราะบาง ชอบน้ำมาก มาปลูกจะไม่รอดปากกิ้งกือนะเธอ

หมายเลขบันทึก: 593919เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2015 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2015 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Thanks for that note on 'millipedes'.

I learned from a farmer (thank you sir) that if we love to live with Nature, then "live with ALL in Nature".

This Winter we have severe problems with some birds damaging flowers, tips of branches, little young fruits and digging for grubs around trunks of fruit trees (making ways for other insects to bore in and ...)

One more thing about Internet info. Look at this from https://th.wikipedia.org/wiki/ด้วงกว่าง :

วงจรชีวิต

ด้วงกว่างทั้งหมดมีวงจรชีวิตที่คล้ายกัน คือ จะวางไข่และตัวอ่อน คือ ตัวหนอนและดักแด้ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธาตุอาหารทางระบบนิเวศ เช่น มีไม้ผุหรือมูลสัตว์ผสมอยู่ในนั้นเป็นจำนวนมากพอ ตัวหนอนของด้วงกว่างจะมีขนาดใหญ่และป้อมสั้นกว่าแมลงจำพวกอื่น มักมีลำตัวสีขาวหรือเหลืองอ่อนจะขดตัวเป็นรูปตัวซี (C) และจะมีความแตกต่างจากตัวหนอนของแมลงจำพวกอื่น คือ มีส่วนหัวขนาดใหญ่ที่มีสีเข้มกว่าลำตัวเรียกว่าหัวกะโหลก มีกรามหรือมีเขี้ยว และจะมีรูหายใจที่ข้างลำตัวโดยมีปล้องทั้งหมด 8 ปล้อง ปล้องละคู่ และจะมีขาจริงหลังส่วนหัวด้วยรวม 3 คู่ โดยปกติแล้วจะกินอาหารและอยู่เฉย ๆ ในดินเท่านั้นจะไม่เคลื่อนไหวเท่าใดนัก จึงมีลำตัวที่ใหญ่ ตัวหนอนจะกินธาตุอาหารต่าง ๆ ในดิน

The fact is (not as they say --where highlighted--) grubs do move about to search for and eat "roots" of plants.

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนี้ครับ อ.

กิ้งกือดูดน้ำเลี้ยงยอดอ่อนของต้นไม้เป็นอาหารด้วย.....
มูลของมันนั้นมีธาตุอาหารและจุลินทรีย์สูง เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มธาตุอาหารในดิน เป็นปุ๋ยปรับปรุงดิน.....

ตอนนี้มีคนทำตลาดมูลไส้เดือน
ต่อไปคงจะมีคนทำตลาดมูลกิ้งกือ

ค่ะ คุณ sr ตอนที่ปลูกอะไรต่ออะไร ไม่ได้นึกถึงความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่นเลยค่ะ เวลาเห็นฝักเมล็ดไม้เคยนึกว่าต้นไม้หลายพันธุ์จะผลิตเมล็ดซะมากมายไปทำไม จนกระทั่งได้ลงมือเพาะต้นไม้กับมือเองนี่แหละจึงเข้าใจ กว่าต้นไม้แต่ละต้นจะเติบใหญ่จนมีขนาดมหึมาได้นั้น มีอุปสรรคมากมายที่ได้เผชิญ แค่ที่เจอแถวผิวดินนี่ก็เยอะแล้ว ไหนยังมีใต้ดินอีก

สวัสดีค่ะคุณ rojfitness เคยหมักเศษอาหารทิ้งไว้ให้ไส้เดือนกิน ปรากฏว่ากิ้งกือเข้าไปจัดการก่อน ซากที่เหลือก็ไม่ต่างจากไส้เดือนค่ะ แล้วก็ได้น้ำหมักสีเหมือนฉี่ไส้เดือนและเยอะมากเหมือนกัน ไม่น่าเชื่อว่าสัตว์ตัวเล็กแค่นี้ จะกลั่นน้ำทิ้งจากวิธีกินอาหารของมันได้เยอะขนาดนั้น ขอบคุณนะคะที่แวะมาอ่านและคุยกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท