​ผู้คนและวิถีชีวิต วัฒนธรรมอดีต-ชีวิตปัจจุบัน


ผู้คนและวิถีชีวิต วัฒนธรรมอดีต-ชีวิตปัจจุบัน

แนะนำหนังสือดี
โดย วาทิน ศานติ์ สันติ

เผยแพร่ครั้งแรก facebook fanpage บทความคติชนวิทยา 29 ก.ค.2558


หนังสือคติชนวิทยาและไทยคดีศึกษาดี ๆ มีน้อยนัก ส่วนใหญ่อยู่ในแวดวงการศึกษาในรูปแบบงานวิจัยหริอวิทยานิพนธ์ ซึ่งประดับอยู่ในหอคอยงาช้างยากที่คนทั่วไปจะเข้าถึง แต่ยังดีที่สมัยนี้งานเหล่านั้นได้ถูกย่อยให้อ่านง่ายในรูปวรสาร ทำให้พอหยิบอ่านได้ไม่ยากนัก

ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จำหน่ายวรสารไทยคดีศึกษา รวมบทความทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องไทย ๆ ในเรื่องคติความเชื่อและเรื่องราวต่าง ๆ ของไทยเรา

ผมขอแนะนำ "ผู้คนและวิถี วัฒนธรรมอดีต-ชีวิตปัจจุบัน" ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เมษายน - กันยายน 2554) แค่หน้าปกก็มีความน่าสนใจ เป็นภาพเครื่องจักสานที่ใช้ในวิถีชีวิตคนไทยอันเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุที่สำคัญ

ในเล่มแบ่งเนื้อหาเป็นสามส่วนคือ บทบรรณาธิการ บทความงานวิจัย วิจารณ์หนังสือ และรวมข่าวกิจกรรมทางวิชาการ-ศิลปะและวัฒนธรรมไทย

บทความเด่นที่ผมสนใจเช่น

"คนไทยยุคบุกเบิกมาจากลุ่มน้ำแดงในเวียดนาม หลักฐานจากภาษาในปฎิทินโบราณและจารึก" โดยวิไลวรรณ ขนิษฐานันท์
ผู้วิจัยใช้หลักฐานสนับสนุน (1) คำเรียกชื้อปีนักษัตรของไทยเหมือนกับคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาเวียดนาม (2) พระนามกษัตรย์สุโขทัยกับพระนามกษัตริย์เวียดนามพ้องกัน (3) คำศัพท์ดั่งเดิมของไทย พ้องกับคำศัพท์ดั่งเดิมของคนเวียดนาม

บทความนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยและคนไทยเดิมมีความสำพันธ์กับคนเวียดนามในลุ่มน้ำแดง แต่อย่สงไรก็ไม่อาจสรุปได้ว่าคนไทยมีถิ่นฐานเดิมมาจากเวียดนาม

"ปู่แสะย่าแสะ : อารักษ์ผีเมือง เจนบ้านเจนเมืองในตำนานและประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่" โดยอาสา ึำภา
เป็นบทความทางวิชาการที่พูดถึงพิธีกรรมการเลี้ยง "ผี" "อารักษ์" สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองเมืองเชียงใหม่ ที่ชาวบ้านเรียกว่า "ปู่แสะ ย่าแสะ" ผีบรรพบุรุษที่เกี่ยวข้องกับตำนานการสร้างเมือง
การจัดพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวเมืองและเป็นการแสดงความกตัญญต่อผีบรรพบุรษ

พิธีนี้มีความเกี่ยวพันธ์กับชาวลัวะ แรกเริ่มเป็นพิธีในระดับชาวบ้านพัฒนาขึ้นมาพิธีสำคัญของเจ้าเมืองจนหายไป และสุดท้ายกลับถูกรื้อฟื้นขึ้นมาในเชิงพิธีกรรมแฝงเชิงท่องเที่ยวอีกด้วย

ตามตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และตำนานพระธาตุดอยคำกล่าวว่า ปูแสะย่าแสะคือยักษ์พื้นเมืองคอยจับกินผู้คนมานาน เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาก็จะกินเป็นอาหาร แต่ก็พ่ายต่อพุทธบารมี รับใช้พุทธศาสนา เป็นการสะท้อนเรื่องพุทธเหนือผี

นอกจากนี้พิธีกรรมเป็นการแสดงถึงท้องถิ่นนิยม คติชน พหุวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการผสมผสานคติความเชื่อแบบผีและพุทธได้ พิธีกรรมมัความสำคัญต่อคติความเชื่อ วิถีชีวิตของชาวเชียงใหม่อย่างแน่นแฟ้น

นี่เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในวารสารเล่มนี้ ซึ่งยังมีบทความที่น่าสนใจอีกมากมาย หากผมนำมาเล่าหมดคงไม่ต้องซืเอหาอ่านกัน แนะนำให้ไปซื้อมาอ่านครับ

หมายเลขบันทึก: 593914เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2015 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2016 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท