กามสูตรเป็นหนังสือเพื่อสิทธิสตรีในเรื่องความรักอันเย้ายวนจริงหรือ? ตอนจบ


ความทันสมัยที่มหัศจรรย์

ความคิดในเรื่องเพศสภาพในภามสูตรเป็นเรื่องที่ทันสมัย นอกจากนี้ความคิดเรื่องผู้ชาย-ผู้หญิงก็มีความสลับซ้อน

กามสูตรยังเปิดเผยให้เห็นถึงเจตคติเกี่ยวกับการศึกษาของผู้หญิง, อิสรภาพทางเพศ, การไม่มีเรื่องผิดชอบชั่วดี ที่มีต่อการกระทำแบบรักร่วมเพศ ซึ่งเสรีนิยมมากกว่าคัมภีร์อินเดียโบราณ และอินเดียในยุคปัจจุบันนี้ด้วย

แล้วกามสูตรจะเป็นหนังสือที่ว่าด้วยสิทธิสตรีในเรื่องความรักแบบเย้ายวนหรือไม่

หล่อนกล่าวกับเราว่า “ฉันจะไม่เรียนกามสูตรเป็นหนังสือเพื่อสิทธิสตรีในความหมายที่แน่ชัด เพราะว่าจุดประสงค์ของกามสูตรก็ไม่ใช่เพื่อสิทธิสตรี จริงๆแล้วก็เพื่อพวกผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำสำหรับพวกผู้ชายในการควบคุมผู้หญิงด้วย”

              “ฉันคิดว่า กามสูตรเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับพวกสิทธิสตรี เพราะในนั้นจะมีการให้เหตุผลเกี่ยวกับความเสมอภาคของผู้หญิง, ความเสมอภาคในการหาความหฤหรรษ์ทางเพศ, สิทธิสตรีในการดำรงอยู่กับผู้ชายที่ตนเองสนใจ”


(Doniger กล่าวว่า กามสูตรยังคงมีความสำคัญในโลกทุกวันนี้)

Doniger เชื่อว่า หนังสือที่สลับซับซ้อนนียังคงเกี่ยวข้องกับโลกทุกวันนี้ กามสูตรปรากฏครั้งแรกในอินเดีย ในขณะที่ชาวยุโรปกำลังโหนต้นไม้อยู่เลย

“จิตวิทยาพื้นฐานซึ่งยังคงจริงอยู่ตลอดเวลา และระดับความรุนแรงทางด้านเพสทำให้เราจำเป็นต้องใช้หนังสือแบบนี้ เพื่อที่จะสอนเราในการควบคุมด้านมืดของแรงขับทางเพศ และนับถือความรู้สึกของคู่นอนของเรา ในทางปฏิบัติ กามสูตรจะเตือนพวกผู้ชายให้ต่อสู้กับเพศวิถที่ควบคุมไม่ได้ และจบลงด้วยการข่มขืน ด้วยเหตุดังนี้ ฉันจึงเชื่อว่ากามสูตรเหมาะกับศตวรรษที่ 21”

แปล และเรียบเรียงจาก

Soutik Biswas. Is Kama Sutra a feminist book of erotic love?

http://www.bbc.com/news/world-asia-india-33685043

หมายเลขบันทึก: 593799เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2015 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2015 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กามสูตร...คิดได้ก่อน นะคะ .... อยากให้เรื่อง...

ชั้นวรรณะในอินเดีย พัฒนาไปได้ดี นะคะ ....


ขอบคุณค่ะ

ผมว่านะครับ กามสูตร เป็นดราม่าเสียดสีสังคมวัฒนธรรม โดยสื่อถึง ธรรมชาติ อิสรภาพ อารมณ์ ความรู้สึก เป็นเรื่องที่น่าทำวิจัยต่อยอดอย่างจริงจัง และก็นึกถึงหนังสือเล่มหนึ่ง ‘เปลี่ยนมุมคิดด้วยจิตวิทยาภาคพิสดาร’ (Quirkology) ของ ‘ริชาร์ด ไวส์แมน’

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท