​การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน(Community-based Learning Management = CBLM) โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง


การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง

(Community-based Learning Management = CBLM)

1. ความสำคัญของผลงาน

โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง เป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลควนชะลิก อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ในบริเวณใกล้เคียงกับโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้มากมาย เช่น แหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ แหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ทางประเพณีและวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ทางอาชีพ โครงการพระราชดำริ และ ปราชญ์ท้องถิ่น เหล่านี้ล้วนเกื้อหนุนต่อวิถีชีวิตของคนหัวไทรอย่างลงตัวและสืบเนื่องมาช้านาน ทำให้ท้องที่ของอำเภอหัวไทรเป็นดินแดนที่น่าอยู่ น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based Learning Management = CBLM) เป็นแนวคิดหนึ่งซึ่งโรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุงประยุกต์มาจาก แนวคิดการจัดการศึกษาฐานชุมชน (Community-based Education Management = CBEM) คือ เป็นการศึกษาที่เอา “ชีวิตเป็นตัวตั้งแทนการเอา “วิชาเป็นตัวตั้งโดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมจริยธรรม รูปแบบการศึกษา เป็นการศึกษาระบบเปิด ที่บูรณาการทั้งการศึกษา ในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ทุกคนมีสิทธิ เพื่อที่จะให้ความเห็น หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาฐานชุมชน เป็นการเพิ่มความสำคัญของเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่น สถาบันศาสนาและสถาบันสังคมอื่นๆ โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว ต้องหันมาให้ความสำคัญกับเยาวชนและบุตรหลาน โดยร่วมกันปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มารยาท ประเพณีและวัฒนธรรมภายในครอบครัวและชุมชน โดยรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง เป็นฐานรากของสังคม

โรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง ได้นำเอาแนวคิดการจัดการศึกษาฐานชุมชนเพียงบางส่วนมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมสภาพแวดล้อมและความเป็นไปได้ของโรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุงชื่อว่า “การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน” (Community-based Learning Management = CBLM) เพราะเชื่อว่าโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาเพื่อชุมชน นักเรียนจะต้องเรียนรู้และเข้าใจกับสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน ทั้งความรู้ ภูมิปัญญา และทรัพยากร เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ รักษา พัฒนา และประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนอย่างสมดุล คุ้มค่า และมีความความสุข โดยใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ และทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน

2. จุดประสงค์และเป้าหมาย

2.1 เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในสภาพแวดล้อม อาชีพ วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และปราชญ์ท้องถิ่น ที่มีอยู่ในชุมชนที่ตนเองอาศัย

2.2 เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความรักต่อชุมชนที่อาศัย และมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

2.3 เพื่อพัฒนานักเรียนให้สามารถทำงาน และดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในสังคมได้

3. ขั้นตอนการดำเนินงาน

3.1 ขั้นตอนการดำเนินการ

1) ประชุมวางแผน มอบนโยบาย กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานและมอบหมาย

หน้าที่

2) สำรวจสภาพชุมชน สภาพแวดล้อม อาชีพ วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม แหล่ง

เรียนรู้ ภูมิปัญญา และปราชญ์ท้องถิ่น ที่อยู่ใกล้กับโรงเรียน

3) กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของโรงเรียน และสภาพ

ชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน

4) วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

5) จัดทำแผนบูรณาการการจัดการเรียนรู้ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้และกิจกรรม

ให้เหมาะสมกับสภาพชุมชน และศักยภาพของโรงเรียน

6) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน

7) ประเมินผลการเรียนรู้และพิจารณาผลการเรียนรู้

7.1) ไม่ผ่าน ดำเนินการแก้ไขตามขั้นตอน ดังนี้

- วิเคราะห์ปัญหา

- วางแผนการแก้ปัญหาและพัฒนา

- จัดกิจกรรมการแก้ปัญหาและพัฒนา

- เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล

- สรุปผลการแก้ปัญหาและการพัฒนา

7.2) ผ่าน ดำเนินการขั้นต่อไป

8) สรุปและรายงานผลการจัดการเรียนรู้

3.2 การดำเนินงานตามกิจกรรม(ตามวงจร PDCA)

1) ขั้นเตรียมการ (Plan)

1.1) ประชุมครู วางแผน มอบนโยบายเรื่องการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็น

ฐาน (Community-based Learning Management = CBLM) กำหนดกรอบแนวทางการดำเนิน งานโดยใช้ความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ แหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญา แหล่งเรียนรู้ทางประเพณีและวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ทางอาชีพ โครงการพระราชดำริ และปราชญ์ท้องถิ่น มาใช้บูรณาการในการจัดการเรียนรู้ และมอบหมายหน้าที่ให้กับครูในการสำรวจชุมชน และดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ และทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน

1.2) ครูผู้รับผิดชอบแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ สำรวจสภาพชุมชน สภาพ

แวดล้อม อาชีพ วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และปราชญ์ท้องถิ่น ที่อยู่ใกล้กับโรงเรียน

1.3) นำผลการสำรวจชุมชนมาประชุม และกำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้

ให้เหมาะสมกับสภาพชุมชน และศักยภาพของโรงเรียน

2) ขั้นดำเนินการ (Do)

2.1) ครูผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดำเนินการวิเคราะห์วิเคราะห์

หลักสูตรสถานศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2.2) ครูผู้สอนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทำแผนบูรณาการการจัดการ

เรียนรู้ ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ วิธีการวัดผลประเมินผล ให้ให้เหมาะสมกับสภาพชุมชน และศักยภาพของโรงเรียน

2.3) ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ และทำ

กิจกรรมร่วมกับชุมชน

3) ขั้นตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนา (Check)

3.1) ประเมินผลการเรียนรู้และพิจารณาผลการเรียนรู้ของนักเรียน ทั้งใน

ด้านของความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการปฏิบัติ และทัศนคติการของผู้เรียน ทั้งรายบุคคลและภาพรวม

3.1.1) ไม่ผ่าน ดำเนินการแก้ไขตามขั้นตอน ดังนี้

- วิเคราะห์ปัญหา

- วางแผนการแก้ปัญหาและพัฒนา

- จัดกิจกรรมการแก้ปัญหาและพัฒนา

- เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล

- สรุปผลการแก้ปัญหาและการพัฒนา

3.1.2) ผ่าน ดำเนินการขั้นต่อไป

4) ขั้นสรุปและรายงาน (Act)

ครูผู้รับผิดชอบสรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และรายงานผลการจัดการ

เรียนรู้

3.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน

ดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบ PDCA ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ ดำเนินกิจกรรมการ

จัดการเรียนรู้ตามแผน นักเรียนร่วมกิจกรรมตามแผนและมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการปฏิบัติ และทัศนคติที่ดีต่อชุมชน

3.4 การใช้ทรัพยากร

3.4.1 ใช้แหล่งเรียนรู้ ปราชญ์ท้องถิ่น และทรัพยากรจากชุมชน

3.4.2 ใช้วัสดุการเรียนรู้ ของนักเรียน โรงเรียน และชุมชนร่วมกัน

4. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ

4.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์

1) นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในสภาพแวดล้อม อาชีพ วิถีชีวิต ประเพณี

วัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และปราชญ์ท้องถิ่น ที่มีอยู่ในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่

2) นักเรียนมีความรัก ความผูกพันธ์กับชุมชนที่อาศัย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

มากขึ้น

3) นักเรียนสามารถทำงาน และดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในสังคมได้อย่างมี

ความสุข

4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน

1) นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อชุมชน และดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนได้

อย่างมีความสุข มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

2) ครูมีการพัฒนาตนเอง ในการจัดการเรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพ

ชุมชน

3) ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้

4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ

1) โรงเรียนได้รับความไว้วางใจ และความมั่นใจจากชุมชนในการจัดการเรียนการสอน2) ชุมชนมีความภาคภูมิใจ ศรัทธาต่อโรงเรียนและช่วยกันพัฒนาโรงเรียนเพิ่มขึ้น

5. ปัจจัยความสำเร็จ

5.1 โรงเรียนมีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

5.2 ผู้บริหารให้โอกาส ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินการ และการติดตามการดำเนินงาน

5.3 ชุมชนให้การสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้

6. บทเรียนที่ได้รับ ปรับคุณภาพมุ่งพัฒนาต่อไป

6.1 บทเรียนที่ได้รับ

1) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่วนหนึ่งเป็นกิจกรรมนอก

ห้องเรียนจะสร้างแรงกระตุ้นทางการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้มาก ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย และมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และทัศนคติที่ดีต่อชุมชน

2) โรงเรียนได้รับการยอมรับจากชุมชนมากยิ่งขึ้น

6.2 ปรับคุณภาพมุ่งพัฒนาต่อไป

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน มีการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ

สู่การเรียนรู้ที่สมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จของโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง และโรงเรียนมาตรฐานสากลต่อไป

6.3 ข้อพึงควรระวัง

การทำงานโดยอาศัยชุมชน พึงควรระวังเรื่องความเข้าใจและความมุ่งหวังของชุมชนที่มีต่อโรงเรียน ซึ่งบางครั้งความมุ่งหวังเหล่านั้นโรงเรียนมีข้อจำกัดในการดำเนินการ อาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อโรงเรียน โดยผู้บริหารและครูจะต้องทำความเข้าใจกับบุคคลในชุมชนให้ชัดเจน

หมายเลขบันทึก: 593203เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2015 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2015 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท