อาการผิดปกติในมันสำปะหลัง


รูปแรกน่าจะโดนแดดแผดเผา

รูปล่างน่าจะมีประเด็นให้ถกเกียง

ได้รับรูปนี้จากเจ้าของแปลง แปลงนี้ปลูกข้ามแล้งมา แต่ให้น้ำหยด ด้วยความหวังว่าฝนปีนี้คงมาปกติ หรือย่างร้ายก็พอๆ กับปีที่ผ่านมา แต่จนป่านนี้ก็ยังไม่มีผนพอที่จะทำให้มันเจริญเติบโตได้ย่างปกติ รูปนี้ถ้าไม่อยู่ในสภาพที่แห้งแล้งก็คงจะเดาว่าเป็นโรคแอนแทรคโนส ซึ่งปกติ เรามักจะเจอโรคนี้ในสภาพที่อากาศซื้นฝนตกหลายๆวัน หรือตกติดต่อกัน แผลที่เห็นก็จะถูกเข้าทำลายจากปากใบ อาการในรูปนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดแต่น่าจะเกิดนานสักเดือนแล้ว มีผู้ให้ความเห็นมากมายจากรูป แต่ไม่มีใครเข้าพื้นที่สักคน แล้วคำตอบของนักโรคพืชที่ให้ดูจากภาพ ตอบว่าโรคแอนแทรกโนส แต่ตามความเห็นส่วนตัวแล้วและวิธีการปฏิบัติที่สอบถามไปแล้วนั้นน่าจะมีการฉีกยาคุมซ้ำในพื้นที่บริเวณนั้นทำให้อัตรายาลงเกินไป ประกอบกับเป็นดินทราย รวมกับข้อเท็จจริงที่ควรระวังเกี่ยวกับไดยูรอน (diuron) และที่สำคัญอาการที่แสดงจะเกิดขึ้นกับส่วนที่อ่อนๆของพืชซึ่งตรงกับลักษณะการทำงานของสารชนิดนี้

1.ไดยูรอนจะไปยับยั้งการสังเคราะห์แสง เคลี่ยนที่ได้ง่ายในดิน และเข้าสู่ต้นทางราก และเคลิ้่อนย้ายไปยังส่วนที่อ่อน ๆของพืช ทำลายกระบวนการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชแสดงอาการที่ส่วนยอด ซีดเหลือง และ แห้งในที่สุด

2.สอดคล้องกับรยะเวลาในการสลายตัวของสาร ในดินใช้่วลา 372-995 วัน ในดินที่มีการถ่ายเทอากาศดีและมีน้ำขัง มีความสามารถในการคงตัวอยู่ในดิน และเคลี่ยนย้ายได้ การให้น้ำหยด จะเป็นตัวพาที่ดีในการนำสารนี้ไป

ในต่างประเทศเขากังวลเรื่องผลตกค้างในพื้นที่ที่มีการใช้ติดต่อกันนาน ๆ

หมายเลขบันทึก: 593099เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2015 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2015 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท