สร้างยุคสมัยแห่งความหวัง - Generation Hope


ในปัจจุบันเทคโนโลยีนวัตกรรมอุตสาหกรรมรวมถึงระบบเศรษฐกิจ ได้ก้าวไกลและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป แต่ในยุคปัจจุบันที่ก้าวเข้าสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระดับการพัฒนาการศึกษาของไทยก้าวไปถึงจุดใด?

คุณวิศรุต นุชพงษ์ ได้กล่าวถึง ปัญหาและอุปสรรคด้านการศึกษาของเด็กไทยไว้ว่าในการศึกษาของไทยมีปัญหาที่หลากหลาย ทั้งปัญหาเด็กด้อยโอกาสซึ่งในประเทศไทยยังมีเด็กหลายคนที่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งเกิดจากหลากหลายสาเหตุ หรือเด็กบางคนที่มีโอกาสได้ศึกษาแต่ต้องมาเจอกับระบบการศึกษาในรูปแบบ“ครูสอนเด็กจำ กระทรวงวัดผล "ซึ่งถ้าพูดกันจริงๆ เมื่อสอบเสร็จเด็กก็จบความรู้ก็คืนครู แล้วถามว่าทำไมไม่ปฏิรูปละครับ? ขอบอกเลยครับว่าทำได้ยากมากเลยครับเนื่องจากคนที่เกี่ยวข้องยังคิดว่าแบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว หรือไม่ก็คิดว่ามันยุ่งยากจนเกินไปจริงไหมครับ แต่ก็มีบางโรงเรียนที่มีการปรับเปลี่ยนบ้างแล้วแต่ก็ไม่ถึงขนาดเปลี่ยนแปลงไปเลยทีเดียวเพราะเนื่องจากยังขึ้นตรงกับกระทรวงอยู่จึงยังมีการวัดผลตามที่เขากำหนดอยู่ดี




ดังนั้น ซึ่งจากสิ่งที่กล่าวไปข้างต้นจึงทำให้การศึกษาของไทยยังคงขาดกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในยุคแห่งการศึกษาแบบใหม่ที่เน้นการให้เด็กมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21ซึ่งการจะทำให้เด็กเกิดทักษะเหล่านี้ได้นั้น ขึ้นอยู่กับกระบวนการสอนที่เป็นหน้าที่ของครูที่ต้องช่วยกันสร้างและพัฒนาการ ฝึกฝนให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้และใช้ชีวิตและปรับตัวอยู่ในยุคของการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่21 ได้จริงไหมค่ะ

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก

หมายเลขบันทึก: 593091เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2015 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2015 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท