คำตอบของ "เด็กดีมีที่เรียน" เมื่อถามว่า "จะขับเคลื่อน ปศพพ. ในมหาวิทยาลัยอย่างไร? "


วันที่ ๒๔ -๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ทีม CADL และรุ่นพี่ๆ ในโครงการเด็กดีมีที่เรียน จัดค่าย "รับน้องเด็กดีมีที่เรียน ปี ๒๕๕๘" เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เตรียมความพร้อมก่อนการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ปศพพ.) ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มี "นิสิตเด็กดีฯ" มาร่วมเวทีนี้ประมาณ ๕๐ คน (รอรายงานสรุปจากทีมทำงาน)

ผมให้นโยบายกับคุณภาณุพงศ์ บุคลากรสำนักศึกษาทั่วไป ที่รับผิดชอบเป็นผู้จัดการโครงการฯ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) รู้จักกันทั้งรุ่นพี่รุ่นน้อง ทำให้เด็กดีฯ ทุกคนรู้จักโครงการเด็กดีฯ มากขึ้น สร้างวิสัยร่วมที่ดีเกี่ยวกับการขับเคลื่อน ปศพพ. ร่วมกัน ๒) สร้างความรู้ความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต ๓) ร่วมกันกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อน ปศพพ. ในมหาวิทยาลัย

กระบวนการที่สำคัญๆ ที่รุ่นพี่จัดไว้ให้รุ่นน้อง มีหลักๆ ดังนี้

  • กิจกรรมละลายพฤติกรรม -> ทำให้รู้คุ้นเคยกัน
  • กิจกรรมเชียร์มหาวิทยาลัย -> ปลูกฝังความดี ที่จะเป็นบัณฑิตที่ดีเพื่อมหาชน ของมหาวิทยาลัย
  • เวิร์คช๊อป "เป้าหมายชีวิต" โดย รศ.ดร.นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล -> วางแผนชีวิต (ภูมิคุ้มกันที่สำคัญ)
  • ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ส่วนนี้ผมเป็นวิทยากรเอง) -> รู้และเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพ โดย "the trainer" -> เสริมความเป็นผู้นำและกล้าแสดงออก
  • กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ -> ทำกรรมดีร่วมกัน เป็นฐานสำคัญของความสามัคคี
  • กิจกรรมระดมสมองและนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อน ปศพพ.
  • กิจกรรมบายศรีผลไม้ ดอกไม้ให้คุณ -> หลอมรวมจิตใจ

กิจกรรมทั้งหมดเป็นอย่างไร คุณภาณุพงศ์ คงให้รายละเอียดไว้ในที่อื่นนะครับ ผมอยากสรุปไว้ตรงนี้ เกี่ยวกับ ผลการระดมสมองถึง แนวทางการขับเคลื่อน ปศพพ. ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งผมสรุปสังเคราะห์ในแผนภาพด้านล่างนี้ครับ



วิธีการขับเคลื่อน

การขับเคลื่อนแบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ ๑) ระดับบุคคล ในที่นี้สำคัญคือ "ตนเอง" ก่อนจะขยายผลไปยังครอบครัวและเพื่อนสนิท ๒) ระดับชุมชน ในที่นี้เริ่มที่ ชุมชนเด็กดีมีที่เรียน แล้วขยายไปยังเพื่อนหรือคนในสาขาวิชา คณะวิทชา และมหาวิทยาลัย และ ๓) ระดับสังคมประเทศชาติ และสากล เป็นการมุ่งขยายผลสู่ผู้คนที่สนใจ ผ่านสื่อและนวัตกรรมในโลกออนไลน์ โดยมีลำดับการดำเนินงานดังนี้

  • เริ่มที่ตนเอง ศึกษาให้เข้าใจ แล้วนำไปปฏิบัติกับตนเองจนเห็นผล ในเรื่องสำคัญ เช่น การทำบัญชีรับ-จ่าย การดำเนินชีวิตประจำวัน ฯลฯ
  • ขยายผลลัพธ์สู่ผู้ปกครองและเพื่อนสนิท หรือผู้สนใจ
  • ร่วมกันจัดตั้งชมรม "เด็กดีมีที่เรียน" และร่วมกันทำกิจกรรมความดีอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น รณรงค์การใช้ทรัพยากรในมหาวิทยาลัยอย่างประหยัดและคุัมค่า
  • ออกค่ายขยายผลกลับไปยังโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะโรงเรียนเดิมที่นิสิตเด็กดีฯ จากมา
  • ช่วยกันสร้างสื่อเผยแพร่ วิธีการและผลลัพธ์ของการขับเคลื่อนฯ ไปยัง เพื่อในสาขาวิชาหรือคณะวิชา และเผยแพร่สู่สาธารณะชนผ่านสื่อสังคมออลไลน์ Facebook, Line เช่น หนังสั้น เพลง แผ่นป้ายงานศิลป์ ฯลฯ



หมายเลขบันทึก: 592970เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2015 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2015 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ให้กำลังใจเป็นคนแรกเลยครับอาจารย์

เยี่ยมมากคะ

ชื่นชมและเป็นกำลังใจให้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท