ทักษะเมตตาดูแลมนุษย์


ผมกราบขอบพระคุณ "ต้นแบบความเป็นครู" ท่านอ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ... ผู้สร้างชีวิตความเป็นผู้นำสุขภาวะให้กับผมในเครืื่อข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำสุขภาวะแนวใหม่ หรือ คศน.

ผมปลื้มใจมากที่ "พี่สาวผู้นำสุขภาวะ" อ.ภครตี ชัยวัฒน์ ริเริ่มหลักสูตรกายภาพบำบัดชุมชนและให้โอกาสผมมีส่วนร่วมสอน "ทักษะจิตสังคม" ในหลักสูตรนี้

ท่านอาจารย์โกมาตรจุดประกายด้วย "การสร้างแรงบันดาลใจในงานฟื้นฟูสุขภาพชุมชนและสังคมสุขภาวะ" ด้วยการเล่าเรื่องราวกรณีศึกษาได้อย่างน่าประทับใจ และมีเนื้อหาที่สรุปเป็น "แผนที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนทำงานชุมชน"

และขออนุญาตท่านอาจารย์นำเสนอประเด็นสำคัญพอสังเขปผ่านภาพสไลด์ของท่านอาจารย์โกมาตรดังนี้:

คุณหมอเอก หนึ่งในผู้นำคศน.ได้ชักชวนคุณไพฑูรย์ พยาบาล ลงชุมชนแล้วช่วยเหลือ "คุณช้าง" จากไม่พูด 15 ปี ด้วยประสบการณ์จิตเภท ได้ฟื้นคืนสุขภาวะด้วยการได้รับยาและฝึกทักษะการประกอบอาชีพปะยางด้วยระยะเวลาการฟื้นฟูเยียวยาใน 1 ปี ปัจจุบันแต่งงานและใช้ชีวิตในชุมชนอย่างมีความสุข - บทเรียนสำคัญของการจำเล่าเรื่องเคสเป็นชื่อคน คือ การทำงานเกินหน้าที่วิชาชีพเพื่อช่วยเหลือคน ครอบครัว และชุมชุมด้วย "หัวใจของความเป็นมนุษย์" ฝึกฝนทักษะเมตตาด้วยความอดทน ใจเย็น รอเวลา และมีศิลปะการสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงคุณค่าในตัวเองสู่การทำงานเป็นทีมให้สร้างพลังการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้อื่นให้มีสุขภาวะ ซึ่งจะหล่อเลี้ยงคุณค่าของตัวเราที่เกิดมาทำความดีเต็มศักยภาพในชีวิตหนึ่งนี้

สิ่งท้าทายคือ "การค้นหาว่า ความหวัง ศรัทธา แรงบันดาลใจ ทัศนคติ ของ "คนที่เรากำลังช่วยเหลือ" อยู่ที่ไหนบ้าง" เราควรฝึกเจริญสติสัมปัชชัญญะที่สมบูรณ์เพื่อทำความเข้าใจ "ระบบการดูแลเคสที่ซับซ้อน" อย่างน้อย 500 ราย ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ ด้วยการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และทำการเรียนรู้ปัจจัยสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างสรรค์ "กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ" ได้แก่ ให้ความสำคัญกับชีวิตครอบครัวกับชุมชน (60%) ที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ (20%) "คนที่เรากำลังช่วยเหลือ รวมถึงการหาวิธีการแบ่งเบาภาระของผู้ดูแล" - บทเรียนสำคัญของการออกนอกกรอบความคิดที่รู้สึกปลอดภัย คือ ในหน้าที่บริการทางการแพทย์ที่รพ. (ที่ช่วยคนเพียง 10%) มาสู่ "การเปลี่ยนแปลงภายในตัวเอง" ให้รอบรู้และเรียนรู้ด้วยความงดงามในชีวิตอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงการดูแลทุกช่วงวัยทุกช่วงชีวิตที่กำลังเจ็บป่วยหรือพิการ...บุคลากรทุกสหวิชาชีพทั้งการแพทย์และอื่นๆ เพื่อสุขภาวะทางสังคมควรริเริ่ม "สร้างพลังชีวิตด้วยการเพิ่มความสามารถในการจัดการดูแลตนเองและครอบครัวแก่ทุกคนในชุมชน" แนะนำศึกษา Roseto Effect และ Johan Galtung เพิ่มเติม - 'Life Begins at the End of Your Comfort Zone - Neale Donald Walsch quotes from BrainyQuote.com'

ทุกวันนี้ บุคลากรทางการแพทย์มองทุกสรรพสิ่งแยกส่วนและเรียนรู้บนฐานคิดของการให้บริการในรพ.มากจนขาดทักษะเมตตาในโลก สังคม ชุมชน ครอบครัว และปัจเจกบุคคล บนฐานความเป็นจริง ... การถูกฝึกเป็น "นักตัดบท" ใช้หูฟังฟังเสียงปอด-หัวใจเพื่อวินิจฉัยรักษาโรค จนลืมใช้ความรู้สึกฟังเสียงของผู้รับบริการด้วย "หัวใจของความเป็นมนุษย์" ท่านอ.โกมาตรย้ำว่า "แม้ระบบบริการสุขภาพจะเหนื่อยและเงินน้อย แต่ครั้งหนึ่่งของชีวิต เราเป็นมนุษย์ที่มีพลังอันสร้างสรรค์ เราควรสร้างความรู้หรือสิ่งใหม่ๆเพื่อช่วยดูแลคนจนสุดหัวใจ มิใช่รักษาไปตามหน้าที่่ มิใช่เสพความรู้ในตำรา เราควรเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ทุกชีวิตในชุมชนให้หล่อเลี้ยงเสียงอุดมคติของเรามิให้ตายเร็ว"

เราควรฝึกทักษะความคิดเชิงระบบให้รู้ทันและเชื่อมโยงระบบการดูแลสุขภาพคนชุมชนระหว่าง "ระบบคิดตามภาวะโรคในรพ.กับระบบทำตามงานดูแลสุขภาพในชุมชน" ถือเป็นความพยายามท้าทายตัวเองด้วยการกระโดดออกจากพื้นที่บริการในรพ.ที่ค่อยๆคลายกลัวและสร้างความมั่นใจในการออกชุมชนเพื่อรู้คุณค่าในวิชาชีพและความเป็นมนุษย์แห่งตนและคนอื่นๆ

ทักษะการทำงานตามหน้าที่และใช้ตำราเป็นฐานคิดอย่างเดียว ถือระดับสมรรถนะแค่ "นักเทคนิค" แต่ศักยภาพของเราควรเพิ่มพูนด้วยการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนทั้งทางเทคนิคและทางสังคม "ยิ่งเราแก้โจทย์ชีวิตคนชุมชนที่ซับซ้อนได้มากเท่าไร ประสบการณ์ชีวิตในการทำงานก็มีคุณค่ามากขึ้นเท่านั้น"

ท่านอาจารย์โกมาตรได้เพิ่มพลังชีวิตผู้เรียนด้วย "ประวัติศาสตร์ของการบุกเบิกงานพยาบาลชุมชนของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกลที่ฝึกพยาบาลดูแลคนป่วยยากจน" ที่ดึงการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้ช่วยเหลือดูแลสุขภาพ รู้จักวัฒนธรรมในชุมชน (คน สถานที่ เวลา และกาลเทศะ) เพื่อสร้างคุณค่า ความหมาย และความสัมพันธ์อันมีศิลปะมากกว่าเทคนิค ท่านอาจารย์โกมาตรย้ำถึงการให้บริการเชิงรุก แม้ว่าจะมีหรือไม่มีนโยบาย การใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐานบริการอย่างต่อเนื่อง บูรณาการ และองค์รวม เช่น การใช้เครื่องมือ 7 ชิ้น (แผนที่เดินดิน ผังเครือญาติ โครงสร้างองค์กรชุมชน ระบบสุขภาพชุมชน ปฏิทินชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน และประวัติชีวิต) เพื่อเข้าใจมุมมองของคนและมองปรากฏการณ์แบบองค์รวม รู้ว่าอะไรสำคัญและจำเป็นต่อการสร้างสุขภาวะอย่างเป็นรูปธรรมแท้จริง ซึ่งดูสองสไลด์ข้างล่างของท่านอาจารย์เพื่อตระหนักถึงหน้าที่ของการดูแลทุกคนในครอบครัวมิให้ "ป่วย" และมิให้ก่อเกิด "ตราบาปในสังคมพิการ"

ดังนั้นบทเรียนสำคัญจากท่านอาจารย์โกมาตร คือ ชีวิตของคนทำงานชุมชนทุกสหวิชาชีพควรฝึกทักษะเมตตาให้รอบรู้ "ดุลยภาพคือสุขภาพที่ควรได้รับการฟื้นฟูเยียวยาทางกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ" เกิดการเชื่อมโยงภูมิปัญญาชาวบ้าน (สมุนไพร พิธีกรรม อาหารธรรมชาติ และวิถีชุมชนครอบครัว) กับความคิดสร้างสรรค์มุ่งช่วยเหลือผู้อื่น โดยเราต้องฝึกทักษะการประสานงาน การจัดการปัญหา การสร้างความสัมพันธ์ และการสร้างแรงบันดาลใจผ่านเรื่องเล่าเร้าพลัง

ตัวอย่างเริ่มต้นง่ายๆ ในการออกชุมชนมุ่งสุขภาวะจากท่านอาจารย์โกมาตร

  • สื่อสารความปรารถนาดีให้เขา "จิตวิญญาณ"
  • คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้เขา (เขาเป็นผู้กระทำ) "ใจ"
  • สื่อเพื่อให้ครอบครัวและสังคมรอบข้างสนับสนุน (เขาสู้ลำพังไม่ไหว) "สังคม"
  • แนะนำวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับเขา (เดิมบุคลากรสุขภาพชอบแนะนำเขาเป็นอันดับแรก - ควรปรับเป็นอันดับท้ายสุด) "กาย"


หมายเลขบันทึก: 592967เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2015 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2015 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ชอบงานทางมานุษยวิทยาการแพทย์ของอาจารย์โกมาตรครับ

ขอบพระคุณมากครับพี่ดารนีและคุณ for far

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.จันทวรรณ

เป็นเรื่องน่ายินดีมาก ๆ ครับ อาจารย์หมอโกมาตร ท่าน คือ ครูผู้สร้างแรงบันดาลใจเสมอ ๆ นะครับ

ขอบพระคุณมากครับคุณเข็มสิริ และคุณวินัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท