การดู "ความเก่า" ในหลัก 1 (123) ของการดูพระแท้


การแจกแจง “ความเก่า (Age define)” ในการพิจารณา พระแท้ ในหลักที่ 1 ของหลักการ 123

ในที่นี้ เก่า หมายถึง......

  • มีลักษณะของการพัฒนาการแบบต่างๆ มามาก
  • ผ่านกาลเวลามานาน มีอายุมาก
  • ผ่านการใช้ การดัดแปลงแบบต่างๆ ทำให้เกิดการสึกกร่อน การสูญหาย ขององค์ประกอบภายใน
  • มีการเคลื่อนที่ การงอก การพอก หรือการกระทำจากปัจจัย และองค์ประกอบภายนอก อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน
  • ทำให้มีการพัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงจากสภาพเดิม อย่างเห็นได้ชัด แบบหลากวาระ หลากสภาพ
  • ทำให้ความเป็นระเบียบสม่ำเสมอมาแต่เดิม เปลี่ยนแปลงไปสู่ความหลากหลาย หลากแบบของผิวและเนื้อ เป็นแบบสามมิติ ทั้งในแนวระดับ แนวดิ่ง โดยรอบ
  • ที่จะเป็นไปตามสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ผ่านมา
  • ที่อาจจะต้องศึกษาเปรียบเทียบทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และหรือ พงศาวดาร ที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น การดูความเก่าให้เป็น ก็คือ

  • พิจารณาลักษณะที่มีพัฒนาการแบบหลากอายุ และใช้เวลา
  • มีการเกิดปละเปลี่ยนแปลงแบบทับซ้อนกันอย่างหลากหลาย บนที่เดียวกัน
  • มีการกร่อน สูญหายของมวลสารเดิม
  • มีการพอก หรืองอกใหม่ ของปัจจัยที่มาจากภายนอก
  • มีความหลากหลายของผิว และเนื้อ
  • มีความเหี่ยว และการเคลื่อนที่ของมวลสารในเนื้อแบบหลากทิศทาง มีเส้นทางและรูปแบบการพัฒนาการที่ชัดเจน
  • การพัฒนาการดังกล่าวสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ผ่านมา
  • สภาพแวดล้อมจะต้องตรวจสอบ และยืนยันด้วยหลักฐาน และหลักการทางวิชาการในทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง

การอธิบาย ต้องมีชี้จุด พร้อมแจงสมมติฐานต่างๆ ในมิติต่างๆ ให้สอดคล้องกับสิ่งที่ปรากฏที่ผิวและเนื้อของพระ จึงจะพิจารณาระดับของความเข้าใจได้อย่างชัดเจน

หมายเลขบันทึก: 592654เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2015 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2015 11:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอสมัครเรียนทางไลน์กับอาจารย์ได้ไหมครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท