ยังพัฒนาหลักสูตรโดยเปิดจากตำราอยู่อีกหรือ


ยังพัฒนาหลักสูตรโดยเปิดจากตำราอยู่อีกหรือ

วิทยากร นักฝึกอบรม ผู้สอนในสถานศึกษา เมื่อถึงคราวต้อง พัฒนาหลักสูตร ก็ไม่พ้นไปรวบรวมหนังสือที่เกี่ยวข้องแล้วมาเรียบเรียงใส่ในหลักสูตรที่จะสอน โดยผู้สอนคาดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้เรียน ยิ่งใส่เข้าไปมาก เชื่อว่าผู้เรียนยิ่งจะได้ประโยชน์มาก ทำให้เนื้อหาที่จะสอนในหลักสูตรมีมากจนเวลาสอนไม่พอ พอสอนจริง มักสอนไม่ทัน เลยตัดส่วนท้ายออกไป (ทั้งที่เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด)

คำถามที่ผู้สอนจะต้องตอบให้ได้คือ ทราบอย่างไรว่าเนื้อหาในหลักสูตรที่สอนนั้นเหมาะกับผู้เรียนจริงๆ และเนื้อหาที่สอนทำให้ผู้เรียนเอาไปใช้ประโยชน์ได้จริง (เข้าตำราที่ว่า อะไรที่ควรสอนแต่ไม่สอน แต่ไปสอนสิ่งที่ไม่ควรสอน)

วิธีการพัฒนาหลักสูตรแบบเปิดจากตำราจึงมีความเสี่ยงอยางยิ่งในด้านที่ นอกจากอาจจะไม่ตรงกับความต้องการของผู้เรียนแล้ว หนังสือส่วนใหญ่ที่นำมาใช้มักเป็นทฤษฎีในด้านต่างๆ ซึ่งทฤษฏีส่วนใหญ่มาจากตะวันตก ที่ยากนำเอาใช้ได้จริงในประเทศไทย นอกจากนั้นทฤษฏีต่างๆ ก็ไม่เหมือนกันหรือขัดแย้งกันเอง เท่ากับว่าผู้สอนนำสิ่งที่เป็นนามธรรม และยังไม่ได้พิสูจน์ว่าใช้ได้จริงมาสอนให้กับผู้เรียน

ในประเทศอังกฤษ ในทศวรรษที่ 80 กลุ่มภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม จำนวนมากเรียกร้องให้ปฏิรูปการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะนั้น เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น ฯลฯ โดยการนำเอาแนวคิดสมรรถนะ (Competency) เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาคนให้สามารถทำงานได้จริง ไม่ใช่การอบรมที่แค่ทำให้คนรู้เหมือนในอดีต โดยสมาคมวิชาชีพของฝ่ายผู้ประกอบการ จะเป็นผู้กำหนดเองว่าบุคคลากรในแต่ละตำแหน่งต้องมีสมรรถนะอะไรบ้าง แล้วให้ฝ่าย Training Providers ทั้งหลาย เช่นบริษัทฝึกอบรม สถานศึกษา จัดพัฒนาหลักสูตร และจัดอบรมคนตามนั้น

ซึ่งปรากฏว่าการปรับรูปแบบนี้ได้ผลดี สามารผลิตบุคคลากรได้มีสมรรถนะ ตรงกับฝ่ายนายจ้างต้องการ จึงได้พัฒนาให้เป็นระดับชาติ เรียกว่า National Vocational Qualification และตั้งแต่นั้นมาการฝึกอบรมจึงเปลี่ยนจากรูปแบบที่เรียกว่า Supply Side เป็น Demand Side (คือฝ่ายองค์กรธุรกิจเป็นผู้กำหนดว่า การพัฒนาหลักสูตรจะต้องทำแบบไหน ต้องใช้เวลาเท่าไหร่ และ จะต้องประเมินแบบไหน)

ดังนั้น การพัฒนาหลักสูตรตามแนวทางสมรรถนะ จึงเป็นการพัฒนาหลักสูตรโดยยึดเอาสิ่งที่ผู้ทำงานจริงมาเป็นพื้นฐานมากกว่ายึดจากตำรา หรือทฤษฏีที่เรามักจะทำกัน อันเป็นการยกระดับ การพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ผู้ผ่านอบรมสามารถเอาไปใช้ประโยขน์ได้จริง ดูเพิ่มเติมที่..........

www.CBTthailand.com

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาหลักสูตร
หมายเลขบันทึก: 592565เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2015 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท