The One
"ไม่ต้องไปหาความสุข ความสมบรูณ์แบบที่ไหนไกล แค่ใจเราสงบ นั่นแหละคือที่ชีวิตที่ดีแล้ว" พ.เพชรศรีจันทร์ Pechsrijun

องค์กรสิ่งแวดล้อมร่วมต้านโครงการเขื่อนยักษ์ใน......เอธิโอเปีย


เขื่อนกิเบ ... ในเอธิโอเปีย.......

......วันก่อน.."คุณยายธี"ได้พูดเรื่องปัญหาของการสร้างเขื่อน...ในเอธิโอเปีย..ให้ฟัง..เลยลองหาข้อมูล..ศึกษาดู..น่าสนใจครับ..สำหรับเรื่องข้อขัดแย้ง...คล้ายๆในเมืองไทยเลย.. มีเล็กๆน้อยๆที่ขอนำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ.........การพัฒนาทางการเกษตรริมฝั่งแม่น้ำโอโม เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการมีเขื่อนกิเบ สูง 243 เมตร ความยาวกว่า 200 กิโลเมตร นับเป็นการลงทุนใหญ่สุดของเอธิโอเปียและเป็นโรงไฟฟ้าใหญ่สุดในทวีปแอฟริกา แต่การก่อสร้างเขื่อนนี้ เต็มไปด้วยข้อครหาละเมิดสิทธิมนุษยชน และถูกมองว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อการชลประทานแก่การทำเกษตรขนาดอุตสาหกรรม อีกทั้งเมื่อแล้วเสร็จและน้ำเต็มอ่างเก็บภายใน 2558 ทะเลสาบทูร์คานา ปลายทางแม่น้ำโอโม จะหดลงเหลือแค่หนึ่งในสามของขนาดปัจจุบัน และกระทบความเป็นอยู่ของชาวบ้าน 3 แสนคน....

............. เอธิโอเปียเริ่มผันน้ำจากเเม่น้ำไนล์เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเพื่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เขื่อนแห่งนี้มีกำหนดสร้างเสร็จในปีพุทธศักราช 2560 และจะทำให้เอธิโอเปียกลายเป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในทวีปอาฟริกา อียิปต์ชี้ว่าไม่เห็นชอบกับการสร้างเขื่อนแห่งนี้ของเอธิโอเปียและประกาศว่าจะขัดขวางไม่ให้การก่อสร้างเพราะมีผลกระทบต่อแหล่งน้ำของอียิปต์

.........องค์กร Survival International เปิดเผยว่า ประชาชนผู้อยู่อาศัยในหุบเขา Omo ไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับของการสร้างเขื่อนเลย และโครงการนี้ยังเพิกเฉยต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของพวกเขา Elizabeth Hunter นักสิทธิมนุษยชนในองค์กร Survival International เรียกโครงการนี้ว่ามันคือ ความหายนะ” “เรากำลังพูดกันในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติที่ในเวลานี้เป็นสิ่งเปราะบางอย่างยิ่ง” เธอเปิดเผย “เพียงข้ามคืนพวกเขากำลังจะสูญเสียส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในชีวิตของพวกเขาที่ต้องใช้เพื่อดำรงชีวิตไป ถ้าเช่นนั้นก็เท่ากับว่าเรากำลังมองดูประชาชนผู้จะกลายมาเป็นผู้อพยพบนผืนดินที่เคยเป็นของพวกเขาเอง” การก่อสร้างเขื่อนเริ่มขึ้นในปี 2006 ซึ่งรัฐบาลเอธิโอเปียยังขาดงบประมาณสำหรับการก่อสร้าง และนั่นทำให้พวกเขากำลังเข้าไปชักชวนแหล่งทุนที่มีศักยภาพ อย่างเช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาแอฟริกา ธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป และธนาคารโลกเพื่อที่จะเป็นแหล่งเงินทุนของการก่อสร้างเขื่อน รัฐบาลเอธิโอเปียยืนยันว่าโครงการก่อสร้างเขื่อน the Gibe คือสิ่งที่มีความจำเป็นต่อประเทศ ด้วยความสูงราว 240 เมตร เขื่อนแห่งนี้จะสูงที่สุดในทวีปแอฟริกา มันถูกคาดหมายว่าจะผลิตกำลังไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของเอธิโอเปียที่เพิ่มมากขึ้นได้ รัฐบาลให้เหตุผลว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและประชากรในท้องถิ่นนั้นจะมีเพียงน้อยนิดและเกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ประชากรส่วนใหญ่ในชนบทของเอธิโอเปียมีไฟฟ้าใช้ในสัดส่วนที่น้อยมาก ส่วนเมือง Addis Ababa ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเอธิโอเปียก็ต้องเจอกับประสบการณ์ไฟดับอยู่บ่อยครั้ง มีการประมาณการณ์ว่าพลังงานไฟฟ้า 80-90 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้ภายในประเทศเอธิโอเปียมากจากไฟฟ้าพลังงานน้ำ และเอธิโอเปียมีแผนว่าจะก่อสร้างเขื่อนอีกหลายแห่งเพื่อที่จะนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมากมายเหล่านั้นมาใช้ ซึ่งถ้าหากโครงการเหล่านั้นดำเนินไปจนประสบผลจริงๆ รัฐบาลคาดหวังว่า เอธิโอเปียจะกลายเป็นผู้ส่งออกไฟฟ้าไปยังประเทศอื่นๆในที่สุด โครงการ The Gibe ก่อสร้างขึ้นโดยบริษัทจากอิตาลีซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างเขื่อนขนาดเล็กกว่าอย่างเขื่อน Gibe โดยโครงการนี้ถูกตรวจสอบในเดือนมกราคมหลังจากที่ส่วนประกอบหนึ่งของเขื่อนตกลงมาในระยะเวลาเพียง 10 วันหลังจากเริ่มดำเนินการก่อสร้าง

.........เขื่อน...สร้างขึ้นเพื่อแก้ภัยแล้งและอุทกภัย เป็นแหล่งชลประทานครอบคลุมพื้นที่หลายล้านไร่ ผลิตไฟฟ้าได้ 2.1 กิกะวัตต์ และสนับสนุนอุตสาหกรรมประมง แต่ผลกระทบทางลบก็มากมายมหาศาล พื้นที่ทำการเกษตรแถบลุ่มน้ำไนล์ ในอียิปต์ เสื่อมทรามลงอย่างช้าๆ เพราะน้ำและดินตะกอนอันอุดมด้วยแร่ธาตุที่เคยมากับกระแสน้ำไนล์ยามเพิ่มระดับขึ้นสูง ถูกกักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำ ไม่ได้ไหลลงมาตามธรรมชาติ รัฐบาลอียิปต์จัดหาโคลนปุ๋ยเทียมแก่เกษตรกรราว 1 ล้านตันต่อปี แต่ก็ไม่อาจชดเชยกับโคลนปุ๋ยที่แม่น้ำไนล์พัดพามา 40 ตันต่อปีเหมือนเมื่อก่อน

อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ทางการเอธิโอเปียไม่ยอมเปิดเผยว่าได้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยในบริเวณก่อสร้างเขื่อนหรือไม่ แต่เปิดเผยเพียงเเค่ว่ากำลังเฝ้าติดตามดูความขัดแย้งในเรื่องนี้กับอียิปต์อย่างใกล้ชิด.....

..........ความขัดแย้งระหว่างอียิปต์ ซึ่งอยู่ได้ด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์กับเอธิโอเปียและซูดาน ซึ่งเป็นประเทศต้นน้ำของแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลกสายนี้ เอธิโอเปียยากจนมาก และต้องการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อกักน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตร อียิปต์ขู่ว่าถ้าเอธิโอเปียทำเช่นนั้น สงครามอาจเกิดขึ้น ณ วันนี้เอธิโอเปียยังไม่ได้สร้างเขื่อน เพราะปัญหาความไม่สงบภายใน และไม่สามารถหาทุนจากภายนอกได้เพียงพอเนื่องจากถูกอียิปต์ปิดกั้น แต่ในวันหนึ่งข้างหน้าเอธิโอเปียอาจแก้ปัญหาการเมืองภายในสำเร็จ และอาจได้รับการสนับสนุนทางเทคนิค และทางการเงินจากอิสราเอล ซึ่งต้องการใส่ไฟให้ความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์ ในเอธิโอเปีย และชาวมุสลิมในอียิปต์คุกรุ่นต่อไป ในวันนั้นสงครามแย่งน้ำอาจเกิดขึ้นจริงๆ

..........................อียิปต์เองได้สร้างเขื่อนขนาดยักษ์เพื่อกักน้ำขึ้นที่อัสวัน จริงอยู่เขื่อนนั้นเก็บน้ำไว้ได้ตามคาด แต่มันกำลังสร้างความเสียหาย ซึ่งคาดไม่ถึงมาก่อน เช่น น้ำในทะเลสาบเหนือเขื่อนระเหยอย่างรวดเร็ว เพราะอากาศแถบนั้นร้อนมาก ทำให้น้ำที่ควรจะไหลไปถึงชุมชนสูญหายไปจำนวนมาก เขื่อนกักเอาตะกอนไว้ในทะเลสาบทำให้น้ำที่ไหลต่อไปใส และดินดอนที่ปากน้ำถูกทำลายเพราะไม่มีตะกอนมาคอยเสริมเมื่อถูกน้ำทะเลกัดเซาะ ชาวประมงในย่านปากน้ำ จับปลาได้น้อยลง เพราะน้ำที่ไม่มีตมอยู่ด้วยไม่ช่วยผลิตอาหารของปลา ผลกระทบระยะยาวของเขื่อนอัสวัน ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ที่แน่นอนก็คือ ประชาชนตามสายน้ำไนล์เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ความต้องการน้ำอันหายากเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว...

..ในมุมมองที่แตกต่าง...ก็อาจทำให้เรื่องนี้...เป็นข้อพิพาททางความคิด...ไปอีกนาน....การศึกษาผลกระทบ..ในแค่มุมต่างๆ...คงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ...สำคัญเรื่องใหญ่ๆแบบนี้...ติดตามกันต่อไป.........นะครับ...



หมายเลขบันทึก: 591857เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2015 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2015 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท