Kevin Hewison: ความไม่เสมอภาค และการเมืองในประเทศไทย ตอนที่ 1


ผลงานที่ชื่อ ประชาธิปไตยในเอมริกา (Democracy in America)นั้น Alexis de Tocqueville ได้ประกาศหลักการเรื่องความเสมอภาคของเงื่อนไขที่เป็นสากลหรือโดยรวม (แปลว่าความเสมอภาคในทุกเงื่อนไข) ที่เป็นหลักการพื้นฐานประชาธิปไตยของอเมริกา ในประเทศไทย สิ่งนี้มีความแตกต่าง เพราะคำว่าความเสอมภาคในทุกเงื่อนไขไม่เป็นความจริง หากเราจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงคำของ Tocqueville แล้วหละก็ พวกเราสามารถกล่าวได้ว่าความไม่เสมอภาคในประเทศมีอิทธิพลอย่างมหาศาลและส่งผลต่อทุกๆส่วนของสังคม ที่ว่ามีอิทธิพลอย่างมหาศาลก็เพราะความไม่เสอมภาคนี้ได้กำหนดอุดมการณ์ของรัฐ และมีแนวโน้มที่จะกำหนดจะที่จะสร้างกฎหมายเฉพาะ ให้หลักการต่อกลุ่มอำนาจที่ปกครองประเทศ และแบบแผนการประพฤติต่อผู้อยู่ใต้ปกครอง อิทธิพลของความไม่เสมอภาคนี้ขยายไปเกินการเมืองและกฎหมาย เช่น ก่อให้เกิดความคิดเห็น, ก่อให้เกิดความรู้สึก, นำเสนอการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน และปรุงแต่งสิ่งที่ยังไม่ถูกผลิตขึ้นมา (สร้างเรื่องโกหก) ความไม่เสมอภาคหรือความไม่เท่าเทียมในทุกเงื่อนไขก็คือข้อเท็จจริงที่เป็นพื้นฐานที่เป็นต้นตอของทุกสิ่ง

ความยากจน, รายได้, และความไม่เสมอภาค

ความไม่เสมอภาคทั้งการเมืองและเศรษฐกิจเกิดขึ้นมาจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจถูกควบคุมโดยชนชั้นนำ การควบคุมทางเศรษฐกิจนี้จะผลิตโครงสร้างทางการเมืองที่กีดกันคนอื่นออกไป และควบคุมโดยชนชั้นนำที่มีอำนาจมากๆ โดยการผ่านยุคความเจริญทางเศรษฐกิจตั้งแต่ 1950 เป็นต้นมา ระบบข้าราชการหรือระบบการปกครองแบบอำนาจนิยมจึงเข้าควบคุมอำนาจทางเศรษฐกิจ, ผลิตทุนนิยม และนายทุนตลอดจนชนชั้นกลางเอาไว้ ในขณะที่จำกัดสิทธิทางการเมืองเอาไว้ ความเจริญได้ลดทอนความยากจนก็จริง แต่ความไม่เท่าเทียมกันนั้นกลับสูงขึ้น ดังนั้นในขณะที่ความเจริญเติบโตส่งผลต่อคนส่วนใหญ่ แต่นายทุนและพันธมิตรของนายทุนได้รับส่วนแบ่งแบบต่างๆ

ความยากจนไม่ได้ลดทอนความไม่เสมอภาค เพราะการเพิ่มขึ้นของรายได้นำมาสู่ความร่ำรวยของคนที่รวยอยู่แล้ว ค่าสัมประสิทธิ์จึงมีอยู่ในระดับสูงที่ 0.45-0.53 มาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 และมาตรวัดความมั่งคั่งอื่นๆ ก็สะท้อนออกมาในแบบเดียวกัน ข้อมูลจากปี 2007 แสดงให้เห็นว่าครอบครัวประมาณ 10% ที่อยู่ในชั้นบนควบคุมมากกว่า 51% ของความร่ำรวย ในขณะที่ พวกชนชั้นล่างประมาณ 50 % ได้ควบคุมเพียงแค่ 8.5 % เมื่อพูดถึงที่ดิน, บ้าน และบรรดาทรัพย์สินที่บุคคลเป็นเจ้าของ จะมีประชากรประมาณ 10% เป็นเจ้าของสิ่งเหล่านี้ประมาณ 90 % ข้อมูลอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงการปรับการกระจายรายได้จากแรงงานไหลไปสู่ทุน เนื่องจากผลิตภาพที่สูงขึ้นของแรงงานยิ่งสั่งสมความมั่งคั่งให้ทุนด้วยกำไรที่เพิ่มขึ้น ในตอนปลายปี 2011 ค่าแรงที่เป็นจริงก็ยังคงอยู่กับที่ และเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างนี้

แปลและเรียบเรียงจาก

Kevin Hewison. Inequality and Politics in Thailand

http://kyotoreview.org/issue-17/inequality-and-politics-in-thailand-2/

หมายเลขบันทึก: 591698เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2015 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2015 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท