เรียนรู้ คู่ชุมชน กลยุทธ์ของการเรียนในศตวรรษที่21 แบบไทย


สวัสดีครับ ก่อนอื่น ผมขออนุญาต แนะนำตัว เนื่องจากเป็น บันทึกแรกของผม ที่ได้เริ่มมาแบ่งปันในโลกออนไลน์ ผมชื่อ นายพันเทพ กู่นอก ปัจจุบันทำการสอนที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จังหวัดมหาสารคาม รับผิดชอบสอนวิชา เคมี ครับ


สำหรับการเรียนในครั้งนี้ เป้นการเรียนในรายวิชา ชุมนุม ซึ่งผมเปิดชุมนุม สนุกกับหนังวิทยาศาสตร์ (Sci-fi Movies adventure) ซึ่งมีนักเรียนสนใจมาร่วมกิจกรรม 22 คน ซึ่งในครั้งนี้ ผมได้นำการประยุกต์ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ กลยุทธ์ PLC ที่นักวิชาการหลายท่าน กำลังผลักดันกัน เพื่อพัฒนาการศึกษาไทย อย่างเต็มที่ ....

ซึ่งในการเรียนครั้งนี้ ผมได้รับความอนุเคราะห์จาก หมอลำที่มีชื่อเสียง อย่าง ดร.ราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร (หมอลำ ที่เรียนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกคนแรกของไทย : ข้อมูลจากการสอบถาม) ซึ่งท่านให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ ดนตรีกับชีวิต และท่านได้ จัดกิจกกรมให้เรียนรู้ตามความสนใจของผู้เรียน (นักเรียนที่สนใจเป่าแคน ก็เรียนรู้ ศิลปะของแคน และนักเรียนที่สนใจ เกี่ยวกับ การร้องหมอลำ ก็เรียนรู้ ที่มาและทักษะทางหมอลำ) ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เรียนเป็นอย่างมากครับ นักเรียนหลายคน "ไม่เคย" สัมผัสการร้องหมอลำ หรือ ไม่เคยฟังการร้องหมอลำ ทั้งๆที่มีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการเปิดโลกทัศน์ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียน อย่างแท้จริง ครับ และได้รับเสียงตอบรับจากผู้เรียน ให้จัดกิจกรรมเช่นนี้บ่อยๆ

ซึ่งหลายท่านคงสงสัยว่า ผมสอนในชุมนุมวิทยาศาสตร์ และทำไม เอาหมอลำ มาจัดเป็นกิจกรรม ที่ทำเช่นนี้ เพราะผมอยากจะสร้างทักษะในการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน ได้เกิดความคิดใหม่ๆ หรือ "ไอเดีย" ในการต่อยอด องค์ความรู้ที่ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ เมื่อ ได้รับทักษะเหล่านี้แล้ว ผู้เรียน ก็จะเกิดเป็น กลไก ในการจัดกระทำข้อมูลที่ได้ มาสังเคราะห์ เป้น องค์ความรู้ของตนเอง เนื่องจาก ความรู้นอกห้องเรียนมีจำนวนมาก แต่ นักเรียนน้อยคนจะมองเห็น ซึ่งในครั้ง ผมได้ตั้งโจทย์ว่า จากการฟังหมอลำ นักเรียนสามารถโยงเข้ามาสู่ความรู้ วิทยาศาสตร์ในด้านใดบ้าง ซึ่ง หนึ่งในคำตอบที่น่าสนใจ คือ "การฟังหมอลำ มีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข หรือไม่"

เดี่ยวในการเขียนบันทึกครั้งต่อไป จะนำบางส่วนมาให้ได้ชมครับ


โดยส่วนตัว ผมมองว่า ความรู้โดย ปราญช์ชาวบ้าน หรือ คนในชุมชน ค่อนข้างสำคัญ และจำเป็นสำหรับคนรุ่นหลัง มากครับ เพราะเป็นความรู้ที่คนไทยได้ทดลอง จากการกระทำของตนเอง ลองผิด ลองถูก จนมาเป็น วัฒนธรรม และ ประเพณี อันดีงาม ที่กำลังจะจางหายไปจากสังคมไทย อย่างเช่น หมอลำ ในทุกวันนี้ ครับ


ขออนุญาตเล่าให้ฟังเพียงเท่านี้ ขอขอบคุณสำหรับกำลังใจจากเพื่อนครู และ ความร่วมมือของนักเรียน ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยการอาศัยทักษะของโลกอนาคตครับ


สวัสดีครับ

พันเทพ กู่นอก

15 มิถุนายน 2558

หมายเลขบันทึก: 591117เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2015 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2015 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท