นวัตกรรมราชทัณฑ์ ตอน เรือนจำสมองให้จำคุกพันปี


เรือนจำสมองให้จำคุกพันปี เป็นนวัตกรรมเรือนจำที่มีลักษณะที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ ซึ่งทั้งวิธีการใช้ยาเสพติดจัดการกับกระบวนการรับรู้ของผู้กระทำผิด เป็นการใช้ยาเสพติดผ่านเทคโนโลยีล้ำสมัยให้ผู้กระทำผิดรู้สึกว่าได้ติดในคุกเป็นเวลานานนับพันปี แม้ว่าในความเป็นจริงจะใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง และ ฟังก์ชั่นการถ่ายโอนของสมองนักโทษที่ในทางทฤษฎีสามารถมีชีวิตอยู่ไปเรื่อย ๆ แต่จะรู้สึกว่าถูกลงโทษจำคุกนานนับพันปี ทั้งนักปรัชญา เฮเลน่า รีเบคก้า ที่ได้ให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ และ สตีเฟ่น ฮอว์คิง ผู้เชี่ยวชาญด้านความรอบรู้ในระบบจักรวาล ได้ให้ความเห็นว่านวัตกรรมเรือนจำสมองให้จำคุกพันปีนี้ไปไกลเกินสถานะของเทคโนโลยีปัจจุบัน .......................................


นวัตกรรมราชทัณฑ์ ตอน เรือนจำสมองให้จำคุกพันปี


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ นบ. นม.


เรือนจำสมอง


ในปัจจุบันเรือนจำประเทศต่างๆ มีปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ปัญหาเรือนจำแออัด หรือปัญหานักโทษล้นคุกโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่มีปัญหามาก เพระในขณะนี้มีนักโทษสูงถึง 2.4 ล้านคน เป็นภาระแก่ผู้เสียภาษีที่จะต้องจ่ายค่าที่พัก และ อาหารแก่นักโทษเป็นประจำทุกปี ประมาณ ปีละ 36,000.000,000 ดอลลาร์


ปัญหาเรือนจำแออัด


เรือนจำสมอง เป็นนวัตกรรมใหม่อีกนวัตกรรมหนึ่งในยุคปัญหาเรือนจำแออัด ก่อนหน้านี้ได้มีการนำเสนอนวัตกรรมเรือนจำที่มีลักษณะที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ คือ นวัตกรรมเรือนจำยานอวกาศนานาชาติ ถ้าจำไม่ผิดคิดว่าน่าจะเป็นโครงการที่นำเสนอโดยประเทศจีน สำหรับบทความเรื่อง นวัตกรรมเรือนจำ ตอน เรือนจำสมองให้จำคุกพันปี ที่นำเสนอในบทความนี้ ข้อมูลจาก เว็บไซต์ http://www.pravda-tv.com/2014 /03/gehirn-gefangnisse-ermoglichen-tausend-jahrige-haftstrafen/ โดย aikos 2309 เมื่อ 27 มีนาคม 2014 พบว่า เรือนจำสมองให้จำคุกพันปี เป็นโครงการที่นำเสนอโดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยฟอร์ด ในการใช้ยาเสพติดเพื่อลดความแออัดของนักโทษในระบบกฎหมายอาญา เป็นการใช้ยาเสพติดจัดการกับกระบวนการรับรู้ของผู้กระทำผิด เวลา รวมตลอดถึงการยึดทรัพย์ของบุคคลที่ถูกตัดสินแล้ว โดยจะใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่จะทำให้ผู้กระทำผิดมีความรู้สึกว่าพวกเขาติดอยู่ในคุกเป็นเวลานานนับพันปี


การใช้ยาเสพติด


ลักษณะของการใช้ยาเสพติดจัดการกับการรับรู้ของผู้กระทำผิด เป็นการใช้ยาเสพติดผ่านเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น การใช้สารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและปราสาท โดยการใช้ LSD หรือ เห็ด ที่อาจนำไปสู่การรับรู้ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกต่อเวลาของตัวเองหลายๆครั้ง การใช้ยาเสพติดจัดการกับกระบวนการรับรู้ของผู้กระทำผิดที่สามารถทำให้ผู้กระทำผิด รู้สึกว่าได้ติดอยู่ในคุกเป็นเวลานานนับพันปี แม้ว่าในความเป็นจริงจะใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง


ถูกจำคุกเป็นเวลานานนับพันปี


และการถ่ายโอนสมอง จากคำอธิบายของ นักปรัชญา เฮเลน่า รีเบคก้า พบว่า การถ่ายโอนสมองเป็นกระบวนการอัพโหลดสมองกับคอมพิวเตอร์ เป็นแนวความคิดในการที่สมองของนักโทษจะถูกโอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ฟังก์ชั่นการถ่ายโอนของสมองนักโทษในทางทฤษฎีสามารถมีชีวิตอยู่ไปเรื่อย ๆ และได้รับการลงโทษอย่างไม่มีกำหนด

ด้านสตีเฟ่นฮอว์คิง ผู้เชี่ยวชาญด้านความรอบรู้ในเรื่องระบบจักรวาล ได้ให้ความเห็นว่า แนวความคิดในการการถ่ายโอนสมอง มีความเป็นไปได้ เพราะสมองจะทำงานคล้ายกับโปรแกรมในใจ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎีที่จะคัดลอกสมองกับคอมพิวเตอร์ และ จากนั้นจะมีการผลิตรูปแบบของชีวิตหลังความตาย ตามกระบวนการจากรายงานของการ์เดียน แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แต่นวัตกรรมเรือนจำสมองให้จำคุกพันปีนี้ไปไกลเกินสถานะของเทคโนโลยีปัจจุบัน


เทคโนโลยีการถ่ายโอนสมองในอนาคต


ถูกจำคุกเป็นเวลานานนับพันปี


โดยสรุป


นวัตกรรมเรือนจำ ตอน เรือนจำสมองให้จำคุกพันปี เป็นนวัตกรรมเรือนจำที่มีลักษณะที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ ซึ่งทั้งวิธีการใช้ยาเสพติดจัดการกับกระบวนการรับรู้ของผู้กระทำผิด เป็นการใช้ยาเสพติดผ่านเทคโนโลยีล้ำสมัยให้ผู้กระทำผิดรู้สึกว่าได้ติดในคุกเป็นเวลานานนับพันปี แม้ว่าในความเป็นจริงจะใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง และ ฟังก์ชั่น การถ่ายโอนของสมองนักโทษที่ในทางทฤษฎีสามารถมีชีวิตอยู่ไปเรื่อย ๆ แต่จะรู้สึกว่าถูกลงโทษจำคุกนานนับพันปี ทั้งนักปรัชญา เฮเลน่า รีเบคก้า ที่ได้ให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ และ สตีเฟ่น ฮอว์คิง ผู้เชี่ยวชาญด้านความรอบรู้ในระบบจักรวาล ได้ให้ความเห็นว่านวัตกรรมเรือนจำสมองให้จำคุกพันปีนี้ไปไกลเกินสถานะของเทคโนโลยีปัจจุบัน ซึ่งผู้เขียนเองก็เห็นพ้องด้วย และถ้าเป็นไปได้ในอนาคตเรือนจำคงจะถึงคราวขาดแคลนนักโทษอย่างแน่นอน


........................




หมายเลขบันทึก: 591071เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2015 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2015 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท