การเรียนการสอนแบบ “M-LEARNING”





ในยุคการเรียนรู้ในปัจจุบันจะพบว่ารูปแบบของการศึกษาเรียยนรู้จะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไป ค่อนข้างมาก นวัตกรรมทางการศึกษาเรียนรู้จะปรับเปลี่ยนและเกิดขึ้นอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิตัล (Digital Age) ที่วิทยาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก้าวไกลอย่างรวดเร็ว นิยามของการเรียนไม่อาจจำกัดอยู่เฉพาะผู้เรียนกับผู้สอน หรือการเรียนรู้ในห้องเรียนอีกต่อไป แต่การเรียนรู้สามารถกระทำและ เกิดขึ้นได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยอิทธิพลของเทคโนโลยีการสื่อสารที่เกิดขึ้น

สื่อเทคโนโลยีการสื่อสารที่กำลังจะก้าวเข้ามาเป็นสื่อกระแสหลักที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารทางสังคมในยุคปัจจุบันก็คือ สื่อเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) หรือการสื่อสารผ่านอุปกรณ์แบบพกพาขนาดเล็กสะดวกต่อการนำไปใช้และติดตัวผู้ใช้ในการเคลื่อนย้าย เพื่อให้เกิดความสะดวกและความคล่องตัวเช่น โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์แบบพกพา ซึ่งมีสมรรถนะของการสื่อสารแบบไร้ขีดจำกัด ซึ่งสื่อเหล่านี้เป็นที่นิยมและรู้จักกันโดยทั่วไปของสังคมทุกเพศทุกวัยในปัจจุบัน เรียกชื่อสื่ออุปกรณ์ไร้สายเหล่านี้ว่า "อุปกรณ์สื่อสาร ประเภทโมบาย (Mobile Devices)" เมื่อมีความนิยมและนำมาใช้ในการจัดการศึกษาเรียนรู้จึงเรียกว่า "โมบาย เลิร์นนิ่ง (Mobile Learning)" หรือเรียกชื่อตัวย่อเรียกว่า m-Learning (เอ็ม-เลิร์นนิ่ง) เพื่อชี้ให้เห็นความสำคัญของสื่อการเรียนรู้และการสื่อสารข้อมูลสามารถจัดกระทำได้ในทุกหนแห่งอย่างไร้ขอบเขต (Seamless) และเป็นสื่อ การเรียนรู้ที่กำลังเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้ใช้กันค่อนข้างสูงในปัจจุบัน

การเรียนแบบโมบายเลิร์นนิ่ง (Mobile Learning) หรือ m-Learning หมายถึง การเรียนรู้จาก กระบวนการสื่อสารผ่านช่องทางการใช้เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายและแบบพกพาที่สามารถกระทำได้

ในทุกเวลา ทุกสถานที่ตามศักยภาพการเชื่อมโยงของเทคโนโลยีที่ใช้นั้น และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของการศึกษา เรียนรู้จากการกระทำดังกล่าวของผู้เรียน/ผู้ใช้

สำหรับพัฒนาการของการเรียนแบบโมบายเลิร์นนิ่ง (Mobile Learning : M-Learning) จะเป็น พัฒนาการที่มีความสัมพันธ์และพัฒนามาจากการเรียนการสอนในระบบการเรียนรู้ทางไกล (Distance Learning : D-Learning) และการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือแบบอีเลิร์นนิ่ง (Electronics Learning : E-Learning) ในทางปฏิบัติแล้ว เอ็มเลิร์นนิ่งจะเป็นการเรียนในรูปแบบแบบอีเลิร์นนิ่งที่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาเพื่อเข้าถึงบทเรียนและเพิ่มประสบการณ์ทางการเรียนของผู้เรียน และในขณะเดียวกัน อีเลิร์นนิ่ง ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของดีเลิร์นนิ่ง (การศึกษาทางไกลหรือการเรียนการสอนทางไกลหรือ Distance Learning)

การเรียนการสอนทั้ง 3 รูปแบบคือ M-Learning, E-Learning และ D-Learning จะเป็นรูปแบบการ เรียนรู้ที่ถูกกำหนดไว้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 15 ที่กล่าวถึงการจัดการศึกษาว่ามี 3 รูปแบบได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบจะมีจุดมุ่งหมาย วิธีการ หลักสูตร ระยะเวลา การวัดและประเมินผลเฉพาะของแต่ละรูปแบบ ซึ่งโรงเรียนหรือสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบในแห่งเดียวกันก็ได้

โมบายเลิร์นนิ่ง (Mobile Learning) จึงถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งของสังคมที่กำลังกลายมาเป็นกระแสนิยมของผู้บริโภคในวงการศึกษาและนอกวงการศึกษา ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากวิวัฒนาการของสื่อการเรียนรู้แบบพกพาที่กลายมาเป็นสื่อกระแสหลักของผู้ใช้ในการสื่อสารและนำไปสู่กระบวนการเรียนการ สอนในต่างสถานที่ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้สื่อสารด้วยกันในทุกวงการ ดังนั้น การสร้างความพร้อมของการใช้เทคโนโลยีพกพาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกฝ่ายไม่ควรมองข้าม

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 589499เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2015 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2015 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท