กริยาที่เป็นกลุ่มคำ : วิธีสอน และ แนวทาง (Multi-word verbs: Method and approach) ตอนที่ 3


การสอนผ่านตัวบท (Teaching through texts)

บางทีการสอนที่ค่อนข้างจะแบบธรรมชาติ (natural approach) จะสอนกริยาวลีที่ปรากฏอยู่ในตัวบท การสอนภาษาในบริบท จะเรียนได้ดียิ่งขึ้น ในตัวบทที่มีสภาพเหมือนจริง ความสัมพันธ์ระหว่างกริยาจะไม่ค่อยมี ดังนั้นจึงอาจลดความสับสนได้ นอกจากนั้นสื่อที่มีสภาพเหมือนจริงจะไม่มีลดระดับโครงสร้างหรือคำศัพท์ ดังนั้นการใช้เวลากับการสื่อที่มีสภาพเหมือนจริงจึงมีประโยชน์

การใช้ตัวบทในห้องเรียน (One way of using texts in the classroom)

แนวทางที่เป็นไปได้ก็คือการขีดเส้นใต้กริยาที่เป็นกลุ่มในตัวบท ซึ่งคุณคาดหมายให้นักเรียนมีการสังเกต ต่อจากนั้น ถามให้พวกเขาคาดการเกี่ยวกับความหมาย นักเรียนจำเป็นต้องใช้บริบทหรือคำที่รอบๆคำนั้นในการเดาความหมาย

การเดาความหมายของคำศัพท์ใหม่จากบริบท คือทักษะการเรียนรู้คำศัพท์ที่มีลักษณะสำคัญ ประเทศบ่งชี้เรื่องนี้ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน 3 ข้อ ในการเข้าใจคำศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย การอนุมาน หรือการสรุป (infer) จากบริบท เป็นภาระงานที่ยาก แต่อย่าลืมว่า ภาระงานที่ตัดสินใจยากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งจำ และระลึกได้มากขึ้นเท่านั้น

ขั้นต่อมาก็คือ จากการตระหนักรู้ไปสู่การผลิตภาษา บ่อยครั้งที่ฉันจะทำสิ่งนี้โดยการตั้งสถานการณ์ขึ้นมา ต่อจากนั้นฉันจะให้นักเรียนใช้กริยาวลี โดยการผลิตตัวบทให้คล้ายกับต้นฉบับ เช่น ถ้าตัวบทที่เด็กๆอ่านเป็นการโฆษณาเกี่ยวกับโรงยิม ต่อจากนั้นฉันก็จะให้เด็กๆเขียนโฆษณาอีกอันหนึ่งเกี่ยวกับโรงยิม หรืออาจให้นักเรียนทำเป็นงานกลุ่มก็ได้

Carter และ McCarthy ได้เน้นในเรื่องความสำคัญของการเรียนรู้ที่รู้ความหมายกับตัวพวกเขาเอง ที่อยู่ในของคำ และความสัมพันธ์ระหว่างคำ ที่พวกเขาเจอในตัวบท ภาระงานที่เป็นตัวของตัวเองนี้ (personalization) จะมีส่วนช่วยในการเรียนรู้คำศัพท์ที่ประสบความสำเร็จมากๆ

ข้อสรุป (Conclusion)

มีวิธีอีกหลายวิธีในการสอนกริยาที่เป็นกลุ่มคำในห้องเรียน วิธีที่ผสมผสานกันทั้งการให้นักเรียนได้เจอบริบทและทำบ่อยๆ พร้อมกับการตระหนักรู้อาจเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ถึงแม้ว่านักเรียนจะเรียนรู้เป็นคำๆ แต่การเรียนรู้โดยผ่านการนำเสนอที่ทำให้จำได้ ที่เราเรียกว่าภาระงานที่เป็นตัวของตัวเอง และการทบทวนซ้ำอยู่เสมอ พวกเราจึงบรรลุการรับรู้คำศัพท์ได้ (vocabulary acquisition)

หนังสืออ้างอิง

Vanessa Steele. (2015). Multi-word verbs: Methods and approaches. http://www.teachingenglish.org.uk/article/multi-word-verbs-methods-approaches?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=%20bc-teachingenglish-facebook

หมายเลขบันทึก: 588952เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2015 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2015 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท