ดุลยภาพของการเรียนรู้เเบบ PBL


............การเรียนรู้เเบบ PBL ( Problem based learning ) เป็นการเรียนรู้บนสภาปัญหาของชีวิตจริง โดยนำปัญหาหรือประเด็นที่สนใจ หรือ ควรค่าเเก่การเเก้ไข มาให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ โดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นที่กระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ของเด็กๆที่เกิดขึ้น เพื่อเสริมทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เด็กเรามี 21st century skiils หรือ ทักษะจำเป็นในการอยู่ในสังคมยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะเป็นนักเรียนรู้ในอนาคต ที่พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม ทักษะจำเป็น เช่น ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการทำงาน ทักษะการใช้ชีวิต ทักษะการเเก้ไขปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม/การปรับตัวเข้ากับสังคม เป็นต้น ซึ่งทักษะต่างๆนั้น เกิดจากการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ

............ทักษะหรือความรู้ที่เกิดขึ้นในการเรียนรู้เเบบ PBL สามารถเเยกอย่างง่าย ได้เเก่ ทักษะทางการคิด เช่น คิดเป็นระบบ คิดเชื่อมโยง คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ เป็นต้น ทักษะทางการกระทำ เช่น การพูด การกล้าเเสดงออก การเเก้ไขปัญหา การทำงาน เป็นต้น เเละทักษะทางใจ การจัดการอารมณ์ การสร้างพลังใจ ขันติ ซื่อตรง เป็นต้น ซึ่งทั้ง 3 ทักษะล้วนสำคัญต่อผู้เรียนในยุคนี้ ให้ผู้เรียนเป็นดนดีของชาติบ้านเมือง ซึ่งเราควรปลูกฝังทักษะเหล่านี้ พร้อมไปกับเนื้อหาความรู้ในเชิงวิชาการ ที่ต้องมาพร้อมกับการปลูกต้นคุณธรรมในใจของผู้เรียนตามไปด้วย

............ดุลยภาพของการเรียนรู้เเบบ PBL ใที่นี้หากเรามองที่ภาพรวมเเล้ว อาจมองเห็นอีกทรรศนะหนึ่งว่า เป็นการเรียนรู้บนฐานของปัญหา เพื่อให้เด็กๆผ่านกระบวนการของ PBL ได้เเก่ การหาประเด็น สาเหตุ ผลกระทบ การลงมือเเก้ไข เเละภาพฝันหรือเป้าหมายที่เกิดขึ้น เด็กจะได้เรียนในรูปเเบบนี้ผ่าน Project ของเขา ซึ่งองค์ความรู้ต่างๆเเละทักษะต่างๆเกิดจากการเติมจาก Coach ทั้งในห้องเรียนเเละนอกห้องเรียน ซึ่งเมื่อเรียนรู้จนเกิดความรู้เเละทักษะที่เขาได้รับจาก Project ของเขาเองเเล้วนั้น ผลที่จะเกิดขึ้นภายในของตัวเขาเอง เขาจะเกิดการ Act เพื่อส่วนรวมหรือเรียกว่า อัตถจริยา เกิดปีติ ที่เป็นผลของงานสู่ใจ ที่ผ่านการฝึกผ่านการเรียนรู้เเบบ PBL เเละเกิดปัญญา ที่เป็นทักษะทางการคิด ไม่ได้เกิดจากความรู้ เเต่ปัญญาเกิดจากการนำความรู้มาผ่านกระบวนการคิด จึงเกิดปัญญาขึ้น ผลที่เกิดขึ้นต่อตนเองทั้ง 3 อย่างนี้ จะอยู่ด้วยกัน เเยกออกจากกันไม่ได้ ฉะนั้นเเล้ว การประคองสมาธิหรือสมานัตตา จากการเรียนรู้นี้ ในความหมายอีกทรรศนะหนึ่ง จึงหมายถึงสุขภาวะทางปัญญา เป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว เเต่จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ จากการลงมือทำเเละเรียนรู้ผ่านปัญหาสู่ปัญญา ดังที่ไอน์ไตน์ได้กล่าวไว้ว่า Knowledge is not wisdom (ความรู้ไม่ใช่ปัญญา) เมื่อได้พัฒนาปัญญาตนเองให้มีสุขภาวะที่ดีอยู่เรื่อยๆ ข้าพเจ้าเรียกสิ่งนี้ว่าเป็นดุลยภาพแห่งปัญหาที่เเท้จริง ที่จะทำให้ตัวผู้เรียน รับมือกับภาวะทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ อย่างมีสติ รู้เท่าทันสังคม เเละรู้เท่าทันความคิด ความรู้สึก การกระทำของตนเอง

............การเรียนรู้เเบบ PBL เรียนรู้จากปัญหา เเล้วพยายามหาวิธีการเเก้ไขโดยมองที่สาเหตุ เเก้ที่สาเหตุเพื่อนำไปสู่ภาพฝันที่ผู้เรียนอยากจะเห็น เเล้วเราก็อยากจะเห็นภาพนั้นของผู้เรียนเราด้วย เมื่อเขาได้เกิดการเรียนรู้เเบบนี้ เมื่อเครื่องมือเดินทางไปเเล้วนั้น เขาจะเกิดทักษะทางการคิด ที่พร้อมรับมือกับความรู้ ทำให้เข้าใจเเละเเตกฉานในเรื่องนั้นๆได้ ด้วยตนเอง โดยการคิดเป็นระบบ คิดเชื่อมโยง คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดประเมิน คิดวิพากย์ เป็นต้น ทักษะทางการคิดนี้เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เขา มีภูมิคุ้มกันที่ดี ในสังคม

............เกิดทักษะทางการกระทำ ที่ได้อัตถจริยาหรือได้ทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมที่เขาอยู่ หรืออาจเรียกได้ว่า เป็น Active citizen หรือพลเมืองของชาติที่มีจิตอาสา ฯ ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นที่สะท้อนว่า เขาได้เรียนรู้ด้วยการพัฒนาตนเอง มีการพัฒนาผู้อื่นไปด้วย เช่น เพื่อน (เรียนรู้ไปด้วยกัน สอนกัน)

............เกิดปีติหรือความสุข หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นพลังใจในการทำงาน ขั้นเเรก คือ เกิดความสุขในการทำงาน เกิดการพัฒนาจิตใจตนเอง เกิดความตั้งมั่นในใจขึ้น เเละอาจถึงขั้นเผื่อเเผ่ปีติของตนเองให้กับผู้อื่น โดยพยายามให้ผู้อื่นได้เกิดการเรียนรู้ เเละเกิดความรู้สึกดีๆ อย่างที่ตนเองรู้สึก หรือการปันน้ำใจให้ผู้อื่นมีความสุขกับเราด้วย

............รูปแบบการเรียนรู้เเบบ PBL เป็นรูปแบบที่ดี เเต่เครื่องมือที่ดีที่สุดนั้น "ไม่มี" เพราะขึนอยู่กับเเต่ละพื้นที่ในการจัดการรูปเเบบการศึกษาของตนเองให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองมากที่สุด ปัญญาจะเกิดสุข ได้นั้น จึงจะต้องเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ จึงจะเกิดทักษะทางการคิด สู่ ปัญญา ทักษะทางการกระทำพร้อมจะอัตถจริยา เเละ ทักษะทางใจ สู่ ความปีติภายใน

.

.

หมายเลขบันทึก: 588876เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2015 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2015 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท