การพยาบาลหลังผ่าตัดสมอง


F: เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดสมอง

วัตถุประสงค์ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

กิจกรรมการพยาบาล

1.ประเมินและบันทึกอาการ อาการแสดง และลักษณะทางคลินิก ดังต่อไปนี้

1.1ประเมินทางระบบประสาท (neurological signs) ได้แก่ Glasgow coma scale รูม่านตา motor power ลักษณะการหายใจ และประเมินสัญญาณชีพ

1.2ประเมินลักษณะ สี จำนวน content ที่ออกมาจากท่อระบายซึ่งอาจเป็น ventriculostomy drain หรือ vacuum drain

2.ส่งเสริมการเคลื่อนไหว (mobility) โดย

2.1กระตุ้นให้มีการพลิกตะแคงตัว (ถ้าไม่มีข้อห้าม)

2.2กระตุ้นให้มี early ambulation

ในกรณีหลังผ่าตัดใหม่ๆ ต้องระวังภาวะ postural hypotension ที่อาจเกิดกับผู้ป่วยได้ ควรไขหัวเตียง จัดให้นอนศีรษะสูงก่อนในระยะแรกก่อนที่จะให้ผู้ป่วยลงยืนข้างเตียง

3.ลดแรงดันในกะโหลกศีรษะ (decreased intracranial pressure)

3.1จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 30 องศา ศีรษะและลำคออยู่ในแนวตั้งตรง

3.2ควรวางแผนในการทำกิจกรรมการพยาบาลให้กับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยได้พักบ้าง

3.3หลีกเลี่ยงการกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอ หรืออาเจียน

3.4ดูดเสมหะเท่าที่จำเป็น และควรปฏิบัติอย่างระมัดระวังและนุ่มนวล

4.ดูแลด้านความปลอดภัยในแก่ผู้ป่วย

4.1ในกรณีที่ผู้ป่วยสับสน หากต้องผูกมัด (restraint) ควรหาผ้านุ่มรองบริเวณที่รัดตรึงผู้ป่วย และควรประเมินผิวหนังบริเวณดังกล่าวด้วย

4.2ยกไม้กั้นเตียงขึ้นไว้ตลอดเวลาเมื่อผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง

5.ส่งเสริมภาวะสมดุลของสารน้ำและอิเล็คโทรลัยต์

5.1ตวงและบันทึกปริมาณน้ำเข้า/น้ำออก

5.2วัดค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะ (urine specific gravity)

5.3ติดตามผลการตรวจอิเล็คโทรไลต์

5.4ดูแลผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ พยายามให้ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารทางปากได้ตามปกติให้เร็วที่สุด ประเมินภาวะกลืนลำบาก และภาวะ absence of gag reflex

6.ดูแลเรื่องความสุขสบายของผู้ป่วย

6.1ดูแลความสะอาดทั่วๆ ไป ทั้งด้านร่างกายและสิ่งแวดล้อม

6.2ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา

6.3ประคบเย็นให้เมื่อมีอาการปวดศีรษะ

7.การเตรียมผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน โดยส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย ประเมินเครือข่ายทางสังคมของผู้ป่วย โดยเน้นการให้ข้อมูล ความรู้ และทักษะในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยและญาติ

ประเมินภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยหลังผ่าตัดบริเวณต่อมพิทอิทารี่ คือ ภาวะเบาจืด (diabetes insipidus: DI) ที่เกิดเนื่องจากการลดปริมาณของ anitidiuretic hormone (ADH) อาการและอาการแสดงของภาวะเบาจืด คือ ปัสสาวะมาก (polyuria) และกระหายน้ำมาก (polydipsia) ผู้ป่วยจะปัสสาวะมากถึง 2-15 ลิตต่อวัน ค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะประมาณ 1.005 หรือน้อยกว่า การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประเมินจากค่า serum osmolality, serum sodium, urine levels of sodium ถ้ามีภาวะเบาจืด สิ่งที่ตรวจพบ คือ ปัสสาวะออกมากกว่า 4 มล./กก./ชม. ร่วมกับ serum osmolality สูง urine osmolality ต่ำ วิธีการรักษา คือ ให้สารน้ำทดแทนและให้ฮอร์โมนต้านการขับถ่ายปัสสาวะ ทดแทน ได้แก่ demopressin (DDAVP) หรือ minirin ซึ่งให้ได้ทั้งทางหลอดเลือดดำหรือพ่นทางจมูก

เอกสารอ้างอิง:

เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, & นภาพร วาณิชย์กุล. (2553). สาระหลักทางการพยาบาลศัลยศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วัฒนาการพิมพ์.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, การญจนา สิมาจารึก & เพลินตา ศิริปการ. (บรรณาธิการ). (2556). การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ในระยะวิกฤต.ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

หมายเลขบันทึก: 588671เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2015 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2015 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท