วัยรุ่น อุ่นรัก พักคิด ... วัยรุ่นป่วย ช่วยเปิดใจ


ขอบพระคุณกรณีศึกษาวัยรุ่นทั้ง 13 รายและผู้ปกครองที่พยายามเข้าใจให้ความรักแก่ลูกๆวัยรุ่นที่มีภาวะบกพร่องเรื้อรังทางร่างกายและ/หรือจิตสังคม ที่เปิดโอกาสให้นักกิจกรรมบำบัดกับนักกายภาพบำบัดได้ร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมสุขภาวะเพื่อให้น้องๆทุกคนมีความสุขในฐานะพลเมืองดีของสังคมไทย

เมื่อทุกท่านกำลังอยู่ในช่วงปรับตัวหัวใจสู้กับการย่างก้าวจากวัยเด็กสู่วัยรุ่น...ก็คงมีประสบการณ์ทุกข์สุขไม่มากก็น้อย

แต่ วัยรุ่นกลุ่มหนึ่งที่สร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ดร.ป๊อป อาจารย์นักกิจกรรมบำบัดด้านสุขภาพจิตสังคม เน้นการประเมินและการออกแบบโปรแกรมการจัดการความล้าหลังภาวะเจ็บป่วย เรื้อรังจากออสเตรเลีย ... ก็ทำให้ผมประทับใจปนประหลาดใจไม่น้อยเมื่อวานนี้

กิจกรรมบำบัดช่วงเช้า 9.00-10.00 น. วัยรุ่นที่มีภาวะกระดูกหลังคด จำนวน 11 ท่าน

การประเมินสุขภาวะ: การปรบมือด้วยรหัส 3 ครั้ง (รู้สึกดีมาก) 2 ครั้ง (รู้สึกดี) 1 ครั้ง (รู้สึกเฉยๆ)

การประเมินก่อนทำกิจกรรมบำบัด: วัยรุ่น 1 ท่านรู้สึกเฉยๆ วัยรุ่น 5 ท่านรู้สึกดี วัยรุ่น 5 ท่านรู้สึกดีมาก

การออกแบบสื่อทางกิจกรรมบำบัด

  • การ ใช้ตัวเราบำบัด: นักกิจกรรมบำบัดกับนักกายภาพบำบัดแสดงท่าทางมีชีวิตชีวา กระตื้อรือล้น มีรอยยิ้ม สื่อสารชวนสนุกหัวเราะ และแนะนำน้องๆวัยรุ่นให้รู้สึกอบอุ่น ทำตัวสบายๆ ยืดหยุ่นเวลา และลองเปิดใจให้รู้สึกดีๆกับการทำกิจกรรม
  • การสร้างสัมพันธภาพ: การแนะนำชื่อเล่นด้วยป้ายชื่อทีละท่านแล้วให้สบตาพายิ้มแล้วลองปิดป้ายชื่อ เพื่อจดจำชื่อเพื่อนๆข้างๆ กัน ตามด้วยการใช้ภาษาท่าทาง (ไม่พูด) ให้จดจำวันเกิด (จ.-อา.) ของเพื่อนๆ ให้ครบทุกท่าน
  • การปรับสิ่งแวด ล้อม: การจัดเก้าอี้ล้อมวงให้ใกล้ชิดกัน และย้ายเก้าอี้ได้ง่ายเพื่อนั่งทำกิจกรรมบนพื้นห้องจนถึงการลุกยืนแสดงท่า ทางต่างๆ
  • การวิเคราะห์กิจกรรม: การจัดกิจกรรมหลากสี แต่ให้จับคู่ต่อหนึ่งสี ให้มีพี่นักกายภาพบำบัดช่วยเป็นคู่น้อง 1 ท่าน การจัดกาวแท่ง 2 หลอดจะได้มีการสื่อสารขอยืมกัน และกล่องสีเทียน 1 กล่องให้เลือกครบ 12 ท่าน เพื่อจับคู่วาดรูปเพื่อนที่คู่แบบไม่มองกระดาษ ให้สบตาจดจ่อในใบหน้าที่สดใสของเพื่อน พร้อมกับให้เพื่อนที่เป็นแบบพูดชี้นำลายเส้นที่วาดได้ แล้วสลับกันเป็นผู้วาดกับแบบวาด ตามด้วยการใช้มือฉีกโครงรูปวาดแล้วนำเศษกระดาษสีไปแลกเปลี่ยนกับคู่วาดอื่นๆ เพื่อตกแต่งภาพให้มีสีสัน สุดท้ายเขียนคำอวยพรด้านหลังรูปและลงชื่อเป็นที่ระลึก
  • การจัดการ เรียนรู้: การจัดกลุ่มพลวัติเพิ่มทักษะจิตสังคมแบบคู่ขนานและเปิดใจสะท้อนความรู้สึก ในตอนท้ายให้หลับตาจับมือคู่เพื่อระลึกถึงภาพและเสียงขณะที่ทำกิจกรรมวาดรูป ด้วยใจแล้วนึกถึงความสุขที่แต่ละท่านรู้สึก ลืมตาแล้วมอบภาพให้เพื่อนตามด้วยการจับเขย่ามือด้วยความประทับใจ

การประเมินหลังทำกิจกรรมบำบัด: วัยรุ่น 11 ท่านรู้สึกดีมาก

กิจกรรมบำบัดช่วงเช้า 13.00-15.00 น. วัยรุ่นที่มีภาวะดาวน์ซินโดม จำนวน 1 ท่าน มาพร้อมคุณน้าและคุณแม่

การประเมินสุขภาวะ: การรับรู้จับกลุ่มสีวัตถุรูปทรงต่างๆ พร้อมแยกช่องให้ถูกต้อง พบว่า คุณน้ากระตุ้นช่วยน้องได้เหมาะสมไม่เกิิน 3 ครั้งต่อหนึ่งชิ้นรูปทรง คุณแม่กระตุ้นช่วยน้องได้ไม่เหมาะสมมากถึง 5 ครั้งต่อหนึ่งชิ้นรูปทรง น้องใช้เวลาเฉลี่ย 1 นาทีต่อการจัดแยกหนึ่งชิ้นรูปทรง และใช้เวลาทั้งหมดต่อ 5 สีรูปทรง (ทำได้ 50 ชิ้น) รวม 30 นาที สังเกตว่า น้องจะตอบสนองช้า (คิด ตัดสินใจ และใส่รูปทรงต่างๆถูกสี) ถ้ามีกระตุ้นด้วยคำพูดซ้ำๆ แต่น้องจะตอบสนองเร็วขึ้นจากที่ช้าประมาณ 10% ถ้าชี้นำด้วยภาษาท่าทางหลังพูด 1-2 ครั้งด้วยคำพูดที่สั้นและไม่ซ้ำไปมา หรือบางครั้งช่วยสัมผัสจับทำแต่ไม่พูดก็จะช่วยได้เช่นกัน นอกจากนั้น้องเคลื่อนไหวในท่าเดินแบบงุ่มง่าม ด้วยเหตุของการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ช่วยทำให้ลูกอย่างเร็วและไม่มีโอกาสจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทำกิจกรรมใน/นอกบ้าน น้องเรียนแบบบังคับและช่วยเหลือจนจบม.3 ไม่มีโอกาสเรียนรู้ทักษะชีวิตกับเพื่อนวัยเดียวกันเพราะน้องมีพัฒนาการหลายด้านที่ช้าและไม่ได้รับการฝึกใดๆจากบุคลากรทางการแพทย์ ขณะนี้มีอายุ 23 ปี แต่การวัดสติปัญญาเทียบเท่าอายุ 17 ปี คุณแม่มีโอกาสให้ลูกฝึกอาชีพเขียนคัดลอกที่อยู่ลงใบเสร็จผู้มารับบริการที่ปั้มน้ำมันส่วนตัว ก็ทำได้ดีและกำลังฝึกป้อนข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ แต่ช่วงปรับปรุงกิจการ เลยไม่มีกิจกรรมใดๆให้ลูกจนรู้สึกว่าน้องขี้เกียจมากขึ้น

การประเมินก่อนทำกิจกรรมบำบัด: การตอบโต้จากคำสั่งหรือโจทย์เพื่อเตรียมกิจกรรมระบายสีภาพ ทำได้เพียงขั้นตอนเลือกภาพ ต้องมีคนช่วยแกะพลาสติก แกะสี และช่วยระบายสีด้วย รวมช่วยเหลือและกระตุ้นในการเคลื่อนไหวตา-มือและการเดินปิดเปิดประตูเลื่อนถึง 60%

การออกแบบสื่อทางกิจกรรมบำบัด

  • การใช้ตัวเราบำบัด: นักกิจกรรมบำบัดแสดงท่าทางมีชีวิตชีวา กระตื้อรือล้น มีรอยยิ้ม สื่อสารช้าๆ สบตา สังเกตและอ่านความรู้สึกของน้อง และสัมผัสช่วยเหลือไม่เกิน 20%
  • การสร้างสัมพันธภาพ: การสร้างความร่วมมือให้คุณน้าและคุณแม่ช่วยน้องตามธรรมชาติและจริตของแต่ละท่าน ส่วนนักกิจกรรมบำบัดจะสรุปและแนะนำให้ปล่อยวาง ขอเวลานอก และย้ำการรู้คิดในแต่ละขั้นตอนที่น้องไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง
  • การปรับสิ่งแวดล้อม: การจัดเก้าอี้ให้นักกิจกรรมบำบัดประกบน้อง และตรงข้ามมีโต๊ะเพื่อทำกิจกรรมและมีเก้าอี้ให้คุณน้ากับคุณแม่นั่งใกล้กัน มีการวางแผนให้เคลื่อนย้ายจากห้องที่เงียบลงลิฟต์ไปสำรวจสิ่งแวดล้อมที่ท่าน้ำ ซึ่งน้องขอเป็นรางวัลหลังระบายสีภาพเสร็จ
  • การวิเคราะห์กิจกรรม: การจัดกิจกรรมเลือกภาพที่ชอบ 1 ใน 3 ภาพ มีการเลือกสีเทียนใน 1 กล่อง มีการช่วยวาดตามภาพและอิสระ ให้ช่วยกันคิดช่วยกันทำกับคุณน้า จนเสร็จใน 30 นาที ขณะที่นักกิจกรรมบำบัดพาคุณแม่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในอดีตสู่การวางแผนทักษะการประกอบอาชีพในอนาคต พร้อมให้คุณแม่ทำความเข้าใจการบำบัดด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่คุณแม่ควรให้โอกาสสอนลูกทำ เช่น งานบ้าน งานอาชีพ งานอดิเรกที่มีการเคลือนไหว ฯลฯ คุณแม่คิดได้ 8 กิจกรรมงานบ้านรวมทั้งการออกกำลังกาย ใช้เวลา 30 นาที ขณะที่คุณน้าพาน้องไปสำรวจสิ่งแวดล้อมที่ท่าน้ำพร้อมนักกิจกรรมบำบัด โดยตั้งกิจกรรมให้จำจดสิ่งที่เห็น 5 อย่าง ปรากฎว่าต้องกระตุ้นการสื่อสารถามตอบถึง 3-5 ครั้งกว่าจะระลึกข้อมูลได้ 2 ใน 5 อย่าง (เรือ ปลา คน ธง โป๊ะ) และตอนเดินกลับ น้องมีภาวะกลัวและเกร็งตัวไม่เดินต่อถึง 4 ครั้ง ต้องบอกให้ผ่อนคลายแล้วใช้แรงเล็กน้อยพาเดินต่อ มีการหยุดมองซุ้มขายของที่ระลึก ซึ่งต่อมาให้น้องสื่อสารผ่านการเขียนทำได้ดีกว่าการพูดตอบ และจดจำภาพสิ่งของจากการมองได้ดีมาก เช่น ช้าง พวงกุญแจ เค้ก (มีเทียนวันเกิด - เป็นสิ่งที่ชอบ)
  • การจัดการเรียนรู้: การจัดกลุ่มพลวัติเพิ่มทักษะจิตสังคมแบบช่วยกันคิดช่วยกันทำ ในตอนท้ายให้ปรับการสื่อสารด้วยภาพ การสาธิตให้ดู การสัมผัสช่วยจับทำ และการสื่อสารตอบโต้ผ่านการเขียน และจะติดตามผลหลังให้คุณแม่ลองฝึกน้องเองวันละ 1 กิจกรรมรวม 8 วัน

การ ประเมินหลังทำกิจกรรมบำบัด: การตอบโต้จากคำสั่งหรือโจทย์เพื่อเตรียมกิจกรรมคัดลอกที่คุณแม่เตรียมฝึกที่ บ้าน การระลึกจำข้อมูลต่างๆ ทำได้คล่องในการใช้ปากกาเขียนบนกระดาษและทำได้ช้าถ้ากระตุ้นถามซ้ำๆ รวมช่วยเหลือและกระตุ้นในการเคลื่อนไหวตา-มือและการเดินปิดเปิดประตูเลื่อน ลดลงเหลือ 40%

กิจกรรมบำบัดช่วงเช้า 15.00-17.00 น. วัยรุ่นที่มีภาวะอารมณ์สองขั้ว จำนวน 1 ท่าน

การประเมินสุขภาวะ: น้องได้ปรึกษาจิตแพทย์ถึงการปรับยาจิตเวชให้ลดลงแล้วลองฝึกสมาธิกับอาจารย์ท่านหนึ่ง แต่เมื่อหนึ่งอาทิตย์มีความรู้สึกตัวอุ่น ร้อนวูบท้ายทอย และมีอารมณ์หงุดหงิดอยากปาข้าวของกับอยากตะคอกใส่ใครๆที่บ้าน ใช้วิธีการทำสมาธิและพยายามหลับตานอนพักก็ดีขึ้นเล็กน้อย ก่อนหน้านี้ดร.ป๊อปได้ตรวจประเมินและให้โปรแกรมการกระตุ้นสมองด้านการมอง เห็นกับการทรงตัวเพื่อตั้งสติเรียนรู้การจัดการความล้าทางความคิด และแนะนำให้ตั้งใจออกกำลังกายด้วยกิจกรรมปั้นจักรยานรอบหมู่บ้าน 1 รอบเพื่อเพิ่มสมรรภาพทางร่างกาย-ลดความล้าทางจิตใจ เมื่อให้น้องเขียนสำรวจกิจวัตรประจำวันที่ผ่านมา 1 อาทิตย์ ส่วนใหญ่ก็เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ กิจกรรมเตรียมเดินทางไปต่างประเทศ กิจกรรมการขึ้นทะเบียนทหาร และกิจกรรมครอบครัว รวม 80% ส่วนกิจกรรมการฝึกจัดการอารมณ์มีไม่เกิน 20% ส่งผลให้ยังคงมีความล้า ความวิตกกังวล และความง่วงนอน (นอนดึกตี 2 ทุกวันและตื่นย้ำคิดย้ำทำเดินเข้าห้องน้ำกลางดึก 5 ครั้ง ก่อนหน้านี้ดร.ป๊อปไปประเมินแบบค้างกับน้องด้วยที่บ้านและให้คำแนะนำการลดภาวะนี้ แต่ไม่มีคนคอยกระตุ้นฝึกกลางคืนอย่างต่อเนื่อง เลยไม่เห็นผล)

การประเมินก่อนทำกิจกรรมบำบัด: ความล้าทางร่างกายประมาณ 6/10 มีหาวง่วงนอนและไปล้างหน้า 3 ครั้ง มีกล้ามเนื้อแขนซ้ายกระตุก 2 ครั้ง ใช้ขาขวาทรงตัว (ไม่กางแขน) ได้ 15 วินาที ใช้ขาซ้ายทรงตัวได้ 29 วินาที ตาซ้ายทนแจ้งไฟจ้าได้น้อยกว่าตาขวา แขนทั้งสองข้างอ่อนแรงเมื่อตรวจระบบการมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัสมือข้างซ้าย (สมองอารมณ์และสมองซีกชวาทำงานมากกว่าซีกซ้าย)

การออกแบบสื่อทางกิจกรรมบำบัด

  • การใช้ตัวเราบำบัด: นักกิจกรรมบำบัดแสดงท่าทางมีชีวิตชีวา กระตื้อรือล้น มีรอยยิ้ม สื่อสารด้วยเหตและผลผ่านการประเมินระบบสมองด้วยข้อมูลเครื่อมือที่ประจักษ์ เช่น ตัวเลขจำนานครั้งที่ทำได้ ตัวเลขเวลาที่ทำได้ การคิดเป็นระบบขณะตรวจสมองทีละด้าน ได้แก่ ช้าๆ สบตา พายิ้ม ชวนคุยเรื่องที่น้องสนใจ สังเกตและอ่านความรู้สึกของน้อง
  • การสร้างสัมพันธภาพ: การสร้างความร่วมมือแบบให้กำลังใจและแสดงบทบาทพี่ช่วยน้องตามธรรมชาติ สบตา และฟังอย่างตั้งใจลึกซึ้งเพื่อจับประเด็นความคิดความเข้าใจของน้อง
  • การปรับสิ่งแวดล้อม: การจัดสิ่งแวดล้อมในคลินิกให้เหมือนบ้าน มีการให้ลุกขึ้นมาส่องกระจก ปิดปรับแสงให้ผ่อนคลาย นั่งลงนอนบนเตียงได้ตามสบาย และปรับให้เล่นลูกบอลข้ามสิ่งกีดขวางได้อย่างสนุกสนานในห้องเล็กๆ
  • การวิเคราะห์กิจกรรม: การเคลื่อนไหวร่างกายเลี้ยงลูกบอล (น้องชอบ) ไปมาข้ามสิ่งกีดขวาง 6 นาทีเพื่อให้สมองซีกซ้ายนำซีกขวาให้ใช้สหสัมพันธ์ของตา มือ เท้า และร่างกาย จากนั้นก็ให้ทบทวนความรู้สึกผ่านการทรงตัวขาข้างซ้าย (น้องถนัดและฝึกยืนกระต่ายขาเดียวข้างซ้ายก่อนหน้านี้) นับ 1-10 ตามด้วยนั่งสมาธิตามที่น้องเคยเรียนกับอาจารย์ท่านหนึ่งมานับในใจ 1-30 ถ้าลืมตาแล้วมีอาการง่วงแบบหงุดหงิดและทนไม่ไหวก็ให้นอนพัก 15 นาที (ตั้งนาฬิกาปลุก - เวลานี้ได้ทดสอบในคลินิกว่า เวลาใดเหมาะสมระหว่าง 5, 10, และ 15 นาที) แล้วตื่นมาเคลื่อนไหวลุกออกจากที่นอนไปทำกิจกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับถ้าไม่ง่วงหรือพอทนง่วงไหว ให้ไปทำกิจกรรมต่างๆที่ชอบและเน้นการเคลื่อนไหวอย่างมีเป้าหมาย (แนะนำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น ปั้นจักรยาน)
  • การจัดการเรียนรู้: การจัดกิจกรรมที่ใช้สมองเพื่อประเมินขอบเขตการนอนหลับพักผ่อนกับการทำกิจกรรมทางร่างกาย มีการใช้คำแนะนำแบบแปลความรู้และถามตอบให้น้องเข้าใจผ่านแผนภาพ และจะติดตามผลหลังน้องฝึกด้วยตนเองรวม 7 วัน รวมทั้งมีการอธิบายแบบสุขภาพจิตศึกษาเกี่ยวข้องกับการลดความคาดหวังที่เข้าใจว่า "รูปแบบคลื่นอารมณ์ของคนทั่วไปจะราบเรียบนั้นเป็นไปไม่ได้ คนทั่วไปจะแกว่งขึ้นลงแบบพาราโบลาแต่ความกว้างของคลื่นจะไม่มากเท่าคนที่เป็นอารมณ์สองขั้ว แม้จะคุมด้วยยาที่ลดลงกับการบำบัดด้วยกิจกรรมที่กำลังจะออกแบบให้อยู่ในชีวตจริง ก็จะค่อยๆแกว่งขึ้นลงได้ใกล้เคียงคนทั่วไป ขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นและตั้งใจจะฝึกฝนจัดการอารมณ์ของน้องอย่างค่อยเป็นค่อยไป"

การประเมินหลังทำกิจกรรมบำบัด: ความล้าทางร่างกายลดลง(4/10)มีหาวง่วงนอนและไปล้างหน้า 1 ครั้ง

ไม่มีกล้ามเนื้อกระตุก ใช้ขาขวาทรงตัว (ไม่กางแขน) ได้ 8 วินาที ใช้ขาซ้ายทรงตัวได้ 49 วินาที ตาซ้ายทนแจ้งไฟจ้าได้มากขึ้นเท่ากับตาขวาแขนทั้งสองข้างแรงเท่ากันเมื่อตรวจระบบการมองเห็น การได้ยิน และการสัมผัสมือข้างซ้าย (สมองอารมณ์และสมองซีกชวาทำงานลดลง)

หมายเลขบันทึก: 588459เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2015 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2015 11:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

_สวัสดีครับพี่หมอ...

_ตามมาอ่านกิจกรรมบำบัด...

_มาชวนพี่หมอไปทำกิจกรรมบำบัด...กำจัดความเมื่อยล้า...ด้วยกันครับ..

ขอบคุณค่ะ คุณหมอ ที่ถ่ายทอดความรู้ให้ได้อ่าน

ชื่นชมในความมุ่งมั่นของคุณหมอค่ะ

ขอบพระคุณมากครับสำหรับกำลังใจจากคุณเพชรน้ำหนึ่ง คุณอร คุณ Tuknarak และคุณ GD

มาเป็นกำลังใจให้หมอ pop ผู้มีอุดมการณ์ สู้ ๆ นะครับ

ขอบพระคุณมากครับคุณครูหยินและพี่โอ๋ อโณ

น่าสนใจมากน้องดร.Pop

มีกิจกรรมที่ดีมาก

ขอบคุณมากครับ

ขอบพระคุณมากครับพี่เปิ้ลกับพี่โอ๋

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท