พระสมเด็จจิตรลดา


พระสมเด็จจิตรลดา

พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน ถือว่าเป็นพระพุทธรูปพิมพ์องค์เดียวที่สร้างในเมืองไทย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้สร้าง แต่ไม่ได้มีพิธีพุทธาภิเษก เหมือนเช่น พระเครื่อง เหรียญ หรือวัตถุมงคลอื่นๆ ที่จะต้องผ่านพิธีพุทธภิเษกเสียก่อน เพื่อให้มีพุทธานุภาพ โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจากวัดต่างๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายไพฑรูย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถ์ศิลป์ กรมศิลปากรเข้ามาเป็นผู้แกะแม่พิมพ์ พระพุทธรูปพิมพ์นี้ในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และได้ทรงตรวจพระพุทธศิลป์ฯ ของพระพุทธรูปพิมพ์องค์นี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้พุทธศิลป์ที่สมบูรณ์จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระพุทธรูปพิมพ์ที่แกะถวายนั้นเป็นพระพุทธรูปพิมพ์ปางนั่งสมาธิแบบขัดราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ประทับเหนือดอกบัวบาน บน 5 กลีบ ล่าง 4 กลีบ ตรงกับรัชกาลที่ 9 รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขนาดกว้าง 2 ซม. สูง 3 ซม. ส่วนพระพิมพ์องค์เล็กขนาดกว้าง 1.2 ซม. สูง 1.9 ซม.

ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้แกะแม่พิมพ์เพิ่มอีกภายหลังจากนั้นไม่มากนัก เพื่อพระราชประสงค์ในการพระราชทานให้แก่เด็กๆพระองค์ได้ทรงสร้างขึ้นด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เองทั้งสิ้น ตั้งแต่การถอดแบบแม่พิมพ์ ทรงผสมมวลสาร ทรงเทลงแม่พิมพ์ ทรงตกแต่งองค์พระพิมพ์เพื่อให้ดูงดงามทั้งหมดนี้ โดยทรงใช้เวลาหลังจากพระอักษร และทรงงานอันเป็นพระราชภารกิจในตอนดึก ประกอบด้วยผงมงคลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั้งส่วนในพระองค์และวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ที่พุทธศาสนิกชนทั่วพระราชอาณาจักรปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน

พระสมเด็จจิตรลดา ทุกองค์ จะได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะมี ใบพระราชทาน (ใบกำกับพระพิมพ์) ขนาดกว้างประมาณ ๑๒.๗ ซม. ยาว ๑๕.๘ ซม. พื้นสีขาว ด้านบนมีภาพพิมพ์องค์ พระสมเด็จจิตรลดา ประกอบอยู่ แต่ไม่ใช่องค์ที่พระราชทานให้ ขนาดจะใหญ่กว่าองค์พระจริงเล็กน้อย สีน้ำตาลเข้ม เป็นเอกสารส่วนพระองค์

มีการประมาณการว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสร้าง พระสมเด็จจิตรลดา พระพุทธรูปพิมพ์ไม่มากไปกว่า สามพันองค์ เนื่องจากแพทย์หลวงได้ทูลเกล้าฯ ถวายคำแนะนำว่า พระองค์ทรงแพ้สารเคมีและผงฝุ่นบางชนิดในส่วนผมขององค์พระ ทำให้พระองค์ทรงพระประชวรด้วยพระโรคทางเดินหายใจบ่อยครั้ง ในช่วงหลังๆ

อีกทั้งพระองค์ท่านทรงไม่อยากเห็นพสกนิกรผู้ปรารถนาในพระพุทธรูปพิมพ์ของพระองค์อีกจำนวนมาก จะต้องสิ้นทรัพย์มากเป็นหมื่นๆ อย่างขาดสติ เป็นเหยื่อของคนสิ้นคิด ซึ่งแอบทำพระพุทธรูปพิมพ์นี้ปลอมกันออกมามาก ในระยะนั้น

ดังนั้นในราวปลายปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ จึงไม่ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปพิมพ์นี้ โดยพระหัตถ์ของพระองค์เองอีกเลย



พระราชประสงค์ในการสร้างพระพุทธรูป



พระราชประสงค์ ในการสร้างพระพุทธรูปพิมพ์นี้ สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพวงมาลัยดอกไม้สดจากประชาชนในการเสด็จพระราชดำเนิน เปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต และได้ทรงแขวนไว้ ณ ที่บูชาองค์พระพุทธรูปปฏิมากรตลอดเทศกาล จนถึงคราวที่เสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ทรงเห็นเป็นสำคัญที่ควรเก็บดอกไม้แห้งเหล่านี้ไว้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อเป็นสิริมงคล ประโยชน์ที่จะใช้ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า สมควรใช้เป็นส่วนผสมสำหรับสร้างเป็นพระพุทธรูปพิมพ์ โดยมีพระราชประสงค์เป็นเบื้องต้น เพื่อจะบรรจุที่ฐานบัวหงายขององค์พระพุทธนวราชบพิตร และพระราชทานแก่ข้าราชบริพารฝ่ายในที่ถวายงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท รวมทั้งราชองค์รักษ์ประจำเท่านั้น



พุทธลักษณะ



พระพุทธรูปพิมพ์ ปางสมาธิขัดราบ ประทับเหนือดอกบัวบาน 9 กลีบ พุทธศิลป์คล้ายพระพุทธปฏิมาสมัยสุโขทัย

ขนาดพระพิมพ์
พระพิมพ์ใหญ่ขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร สูง 3 เซนติเมตร ความหนาโดยประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร ขอบองค์พระพิมพ์ทั้ง 3 ด้าน จะป้านเฉียงออกสู่ด้านหลังองค์พระพิมพ์มากน้อยขึ้นอยู่กับความหนาขององค์พระพิมพ์ที่ทรงสร้าง พิมพ์เล็กขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ความหนาโดยประมาณ 0.5 เซนติเมตร ขอบองค์พระพิมพ์ทั้ง 3 ด้าน จะป้านเฉียงออกสู่ด้านหลังขององค์พระพิมพ์เล็กน้อย

พระพักตร์
ใบหน้าองค์พระพิมพ์ ดูลักษณะคล้ายผลมะตูมอิ่มเอิบ

พระเกศ
พระเกศขององค์พระพิมพ์ดูเด่นชัด

พระกรรณ
ใบหูทั้งสองข้างขององค์พระพิมพ์จะติดเด่นชัด และโค้งอ่อนช้อย ยกเว้นพระพิมพ์ที่ทรงสร้างในปีพุทธศักราช 2508-2509 จะติดไม่เด่นชัด

พระนาสิก
จมูกขององค์พระพิมพ์จะดูเป็นสันเด่นชัด ยกเว้นพระพิมพ์ที่ทรงสร้างในปี 2508-2509 จะไม่ติดเป็นสันเด่นชัด

ดอกบัวบาน
กลีบดอกบัวบานจะอ่อนช้อยได้สัดส่วนเด่นชัด ส่วนมากมักมีการประทุของฟองอากาศเป็นรูปเล็กๆ

เกสรดอกบัว
เกสรเหนือกลีบดอกบัวบาน จะติดเป็นเม็ดกลมเรียงกันเป็นแถวเด่นชัด ส่วนมากมักจะเกิดการประทุของฟองอากาศเป็นรูเล็กๆ ส่วนพระพิมพ์ที่ทรงสร้างในปีพุทธศักราช 2508-2509 มักจะไม่ติดเป็นเม็ดกลมๆและเรียงกันเป็นแถว

มวลสาร
มวลสารหลักที่ปรากฏให้เห็นในองค์พระพิมพ์ จะเป็นเศษชิ้นเล็กๆ ส่วนมากจะเป็นเศษของดอกไม้แห้ง เศษของผงธูป และก้านธูป เศษชิ้นส่วนของสีที่ขูดจากผ้าใบภาพฝีพระหัตถ์ และจากเรือใบพระที่นั่งที่ทรงต่อขึ้น จะเป็นเศษสีแดง สีเขียว สีเขียวอ่อน สีเขียวอ่อนอมฟ้า สีขาวนม เศษชิ้นเล็กๆของแกนเทียนชัย เนื้อเทียนชัยสีขาวนม เศษชิ้นเล็กๆของเม็ดกรวด เม็ดทราย เศษดิน เศษชิ้นส่วนของทองคำเปลว บางองค์จะปรากฏเส้นพระเจ้า(เส้นผม) ส่วนมากจะฝังอยู่ด้านขอบข้างหรือด้านหลังขององค์พระพิมพ์ มวลสารศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ จะมีจำนวนมากน้อย แบบหยาบ แบบหยาบปนละเอียด หรือแบบละเอียด ขึ้นอยู่กับปีที่ทรงสร้างพระพิมพ์ ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน

แล้วทรงนำมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆผสมรวมกับตัวประสานหลักที่ทรงในการสร้างพระพิมพ์ คงจะเป็นโพลีเอสเตอร์เรซิน(เป็นพลาสติกในรูปของเหลว) และใช้ ฮาร์ดเดนเนอร์(ตัวทำให้แข็ง) หรือที่เรียกกันว่า คะตะลิสต์(ตัวเร่งปฏิกิริยา) เมื่อใส่สารเร่งปฏกิริยาบางชนิดลงไปในเนื้อของเรซิ่น จะทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีขึ้น โดยการเปลี่ยนสภาพจากพลาสติกเหลว เป็นพลาสติกแข็งใส หรืออมเหลืองอมแดงแล้วแต่ชนิดของวัตถุดิบที่ทรงใช้ โดยตามธรรมชาติของเรซิ่นแล้ว จะเกิดความมันใส และเมื่อถูกผสมกับตัวเร่งปฏิกิริยา จะก่อให้เกอดความร้อน จึงเป็นสาเหตุให้องค์พระพิมพ์ส่วนมากปรากฏการประทุของฟองอากาศเป็นรูเล็กๆ หรือไม่ก็เป็นฟองอากาศอยู่บนผิวขององค์พระพิมพ์(ที่เข้าใจว่าทรงใช้โพลีเอสเตอร์เรซินเป็นตัวประสานหลัก อันเนื่องมาจากในช่วงนั้น พระองค์ทรงกำลังต่อเรือใบพระที่นั่งพอดี

ที่มา:http://guru.sanook.com/2478/

หมายเลขบันทึก: 587726เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2015 07:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2015 07:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท