คลื่นความคิดสร้างสรรค์ลูกใหม่จากไอบีเอ็ม


ระบบการจัดการความรู้มีความสำคัญสูง
MySpace

 คลื่นความคิดสร้างสรรค์ลูกใหม่จากไอบีเอ็มที่จะนำทรัพยากรบุคคลขององค์กร เข้าสู่ความเป็นหนึ่ง

มร.จีออฟ บลังโค รองประธานฝ่ายวิจัยด้าน KM/EDMS แห่ง Doculabs ได้กล่าวไว้ว่า โลตัสกำหนดแนวทางที่จะเข้าไปช่วยให้องค์กรต่าง ๆ ประสบความสำเร็จในการจัดการด้านความรู้ไว้เป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งโลตัสเองได้วางความสำคัญของธุรกิจ KM ไว้อันดับต้น ๆ และยังเดินหน้าต่อไปในการพัฒนาสินค้าพร้อมเร่งทำให้ลูกค้าตระหนักถึงความสำคัญในการลงทุนด้านการจัดการความรู้ ทั้งนี้ โลตัสได้จัดอันดับตัวเองว่าเป็นผู้นำในตลาดการจัดการความรู้สอดรับกับกระแสการเติบโตที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยในสหรัฐอเมริกามีการสำรวจพบว่าประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารระดับสูงในบริษัทชั้นนำกว่า 300 แห่ง ต่างลงความเห็นว่าระบบโนว์เลดจ์ เมเนจเมนต์ หรือระบบการจัดการความรู้ มีความสำคัญสูง

การจัดการความรู้ คืออะไร?

การจัดการภูมิปัญญานั้นเป็นมากกว่าเรื่องของเทคโนโลยีหรือเรื่องของคอมพิวเตอร์ ถ้าเรายอมรับหลักที่ว่าการจัดการภูมิปัญญานั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมดในการค้นหาและสร้าง กระจาย และใช้ประโยชน์จากความรู้และประสบการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยที่ในบางครั้งเราอาจจะรับรู้หรือไม่ก็ตาม การจัดการภูมิปัญญาก็ยังคงมีผลกระทบอย่างลึก ๆ ต่อการตัดสินใจและการกระทำ การจัดการภูมิปัญญานั้นเป็นเรื่องที่ต้องนำวัฒนธรรม, กระบวนการ, และเทคโนโลยี มาพิจารณาร่วมกันดังนั้นเราจึงอาจจะสรุปได้สั้น ๆ ว่าการจัดการภูมิปัญญานั้นน่าจะหมายถึง ศิลป์ในการสร้างคุณค่าจากทุนทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ ขอองค์กร ซึ่งรวมถึงการเก็บเกี่ยว, จัดการ, แชร์, และวิเคราะห์ความรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ทำไมต้อง Knowledge Management ?

ในอดีตนั้นระบบเศรษฐกิจในโลกของเราอาจแบ่งได้เป็นสามยุคตามวิวัฒนาการในการผลิต โดยในสังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมที่การผลิตยังต้องพึ่งที่ดินและแรงงาน จึงทำให้ในยุคนั้นเป็นยุคของการจับจองเป็นเจ้าของที่ดินและการมีบริวาร ต่อมาในสังคมอุตสาหกรรมซึ่งอาศัยเครื่องไม้เครื่องมือหรือเครื่องจักรกลในการผลิต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ทำให้ยุคของสังคมอุตสาหกรรมกลายเป็นยุคของนายทุน ในปัจจุบันสังคมของเราเคลื่อนเข้าสู่ยุคของการค้นหาความคิดใหม่ ๆ และการประมวลผลข้อมูลข่าวสารในกระบวนการการผลิต จึงส่งผลให้ความรู้ ความสามารถและความชำนาญกลายเป็นสิ่งมีค่าที่สุดสำหรับการดำเนินการขององค์กรต่าง ๆ ทำให้ยุคนี้คือยุคของทุนทรัพย์ทางปัญญา และสิ่งนี้เองก็คือเหตุผลว่าทำไมองค์กรต่าง ๆ ต้องหันมาสนใจกับการจัดการด้านความรู้

เศรษฐกิจเชิงความรู้

เศรษฐกิจเชิงความรู้คือเศรษฐกิจที่มีแรงผลักดันมาจากความรู้ความชำนาญซึ่งทำให้เกิดความมั่งคั่ง สำหรับเรื่องของเศรษฐกิจเชิงความรู้ระดับประเทศ การที่จะลงทุนเทคโนโลยีในยุคข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันได้นั้นประเทศจะต้องมีทุนที่เป็นความรู้ความสามารถรวมถึงความชำนิชำนาญที่เพียงพอ ซึ่งแตกต่างจากในยุคก่อน ๆ เช่นยุคอุตสาหกรรมที่เครื่องจักรที่แทนแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้กับระบบเศรษฐกิจ ถ้าเรามองย่อยลงมาในระดับองค์กรนั้นควารู้ยังสามารถช่วยให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายลงได้ในขบวนการผลิต หรือแม้กระทั่งเพิ่มคุณค่าใช้จ่ายลงได้ในขบวนการผลิต หรือแม้กระทั่งเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลผลิต เช่น ในอดีตที่มีการเปลี่ยนเอาอลูมิเนียมมาใช้ในการผลิตกระป๋องน้ำอัดลมแทนเหล็ก ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงทนมากขึ้นและยังมีน้ำหนักทีเบากว่ามาก

free image hosting

I Need Somebody (อยากขอสักคน)
บี้ เดอะ สตาร์

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 58733เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2006 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท