เรื่องเล่าจากการทำวิจัยชิ้นที่2 : ตาเกือบแตก


ช่วงนี้ผู้เขียนได้เสนอบทความในงานวิจัย เลยอยากเล่าถึงความเป็นมาและเป็นไปของงานวิจัยชิ้นที่ 2 ซึ่งเล่นเอาตาจะแตกหรือเจ็บตามากนั่นเอง!!

เพราะแค่คิดและตั้งใจอยากจะทำคงจะไม่สำเร็จ แต่ต้องลงมือทำถึงจะได้เห็นเค้าลางบ้าง เรื่องที่สองทำเรื่องการศึกษาผลการตรวจสุขภาพของผู้มารับบริการภายในรพ.สงขลานครินทร์ จำได้ว่าช่วงแรกนั่งหาข้อมูลเก็บทีละราย ๆ ทั้ง Lab. NO เพศ อายุ ผลการตรวจรายการ Glucose BUN Creatinine Cholesterol Triglyceride Uric acid AST ALT และ ALP แล้วก็จดลงสมุดบันทึก ทำได้ 2 -3 เดือน อาศัยช่วงที่ตัวเองลงผลการตรวจไปด้วย ทำไปด้วย ตอนนั้นเจ็บตามาก ๆ มือก็จะหงิก จึงต้องพักสายตาและมือบ่อยๆ มีพี่คนหนึ่งอาสาช่วย แต่ดันจดแต่  Lab. No. เราก็ต้องไปตามเก็บใหม่อีก

ตอนนั้นพี่ปนัดดาเห็นพวกเราแล้วเกิดความสงสาร เลยแนะนำให้ไปขอข้อมูลจากหน่วยคอมฯ เผอิญผู้เขียนก็เกิดความเหนื่อยล้าแล้วด้วย เลยไปขอข้อมูลมา ซึ่งการขอข้อมูลต้องมีทั้งลายเซ็นต์ผู้บังคับบัญชา และรายละเอียดของโครงการที่ลงทะเบียนทำวิจัย ซึ่งผู้เขียนก็มีพร้อมอยู่แล้ว...

คิดว่าจะได้ข้อมูลมาจะง่าย ๆ  คิดผิดถนัด คือเข้าใจว่าข้อมูลที่ได้จะเป็นราย  ๆ ไป ซึ่งมีชื่อ เพศ อายุ และรายการทดสอบครบในคนคนเดียวที่มาที่คลินิกตรวจสุขภาพ  ..ที่ไหนได้ข้อมูลที่ได้รับมา แยกแต่ละการทดสอบกันอยู่ คือมีข้อมูลของ Glucose ของแต่ละคนมา 12 เดือน มีข้อมูลของ BUN ของแต่ละคนที่มา 12 เดือน..

เดือดร้อนผู้เขียนต้องมาจับการทดสอบทั้งหมด 9 รายการมารวมเป็นของคนเดียวกัน เป็นพัน ๆ  ซึ่งต้องอาศัยทั้งเวลา สมาธิ ไม่งั้นตาลายจับคู่ผิดราย ก็ต้องเริ่มใหม่ ซึ่งงานนี้ผู้เขียนจะเก็บถนอม Data ดิบไว้อย่างดีเป็นพิเศษ สำหรับตรวจสอบ

 งานนี้ที่เจ็บตาจะแตก ก็เลยระเบิดเลย เจ็บตาและปวดตามาก จนต้องหยุดไปสักพัก จนข้อมูลเรียบร้อยได้ที่แต่ก็ยังไม่ได้ไปหาหมอสักที แต่ตอนนี้รู้ตัวว่าสุขภาพตาไม่ดีเหมือนเก่าแล้ว... 

ถึงขั้นตอนวิเคราะห์กว่าจะคลำทางจับแยกกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มตามที่ต้องการ งานนี้เลยต้องใช้เวลา พักใจและสายตาเป็นระยะ ๆ กว่าจะเสร็จ ดู ๆ ไปงานชิ้นแรกจะเขียนง่ายซะกว่าอีก  

ลองหาแนวทางศึกษา หรือขอคำแนะนำ ปรึกษากับบางคนพบว่าบอกให้ศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี จริง ๆ ก็เป็นความคิดที่ดีอยู่หรอก แต่ผู้เขียนขอปฏิเสธทันที เพราะแค่นี้ปีเดียว ก็ได้ทำท่าว่าจะต้องไปหาหมอตาอยู่แล้ว

สรุปว่าไม่มีงานวิจัยชิ้นไหนที่ทำได้อย่างง่ายดายเลย คิดไปคิดมาก็งง งง เหมือนกันว่าทำมาได้อย่างไร???

หมายเลขบันทึก: 58725เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2006 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ถ้าเป็นข้อมูลอยู่ในตารางแยกกัน สามารถจับมาหลอมรวมคืนเป็นตารางเดียวกันได้ครับ โดยใช้ภาษา SQL เช่น ใช้โปรแกรม Microsoft Access เดี๋ยวเดียวก็เสร็จครับ ลองถามทางหน่วยคอมพ์ของคณะดูนะครับ ที่เขาไม่ทำให้ บางทีเป็นเพราะเราไม่ได้ขอไป
  • ทำได้ครับ ให้ดึง record หมายถึงยึด Labno เป็นหลัก ใน record นี้ก็จะมี glu bun creat..... อยุ่ใน record เดียวกัน แล้ว ไป link กับ ฐานของเวชระเบียน ให้ดึง เพศ และ อายุ มาเพิ่มอยู่ใน record เดียวกัน สรุปว่า ใน 1 record จะมี  HN เพศ อายุ และ ผลแล็บ glu bun cre และอื่นๆ ตามที่ต้องการ โดยแยกเป็นรายปี จะให้ย้อนหลังกี่ปีก็ได้ โดยใส่เงื่อนไขว่าให้ดึงเฉพาะจากคลินิกตรวจสุขภาพ
  • กลับไปคุยกับพี่อุไรวรรณใหม่ครับ แล้วสื่อสารกับพี่อุไรวรรณ ให้เข้าใจว่าต้องการอะไร อย่างไร data ของเดิมที่ได้มา ลืมไปได้เลยครับ อย่าเสียเวลาทำต่อเลย
  • ข้อมูลลักษณะนี้มีเก็บอยู่แล้วในฐานข้อมูล ไม่จำเป็นต้องทำ manual ครับ ดึงจากฐานมาแล้วเอาเข้าไปวิเคราะห์ใน SPSS ได้เลยครับ การจัดกลุ่มต่างๆ หรือจะวิเคราะห์แยกเป็นรายปีเปรียบเทียบกัน สามารถทำได้บน SPSS เลยครับ
เพิ่มเติมอีกนิดครับ
  • ข้อมูลที่ต้องมีใน 1 record คือ LabNo และ HN ครับ เพราะ ฐานข้อมูลของแต่ละหน่วย ใช้การเชื่อมโยงด้วย labNo และ ฐานข้อมูลอื่นๆ ใช้การเชื่อมโยงด้วย HN  ดังนั้น หากใน 1 record มีข้อมูลทั้งสองนี้อยู่ด้วย เมื่อต้องการข้อมูลอื่นเพิ่มเติม ก็สามารถเพิ่มเข้าไปได้ โดยสะดวกครับ
  • เงื่อนไขการใช้ข้อมูล ของภาคฯ จะมีปัญหา เรื่องการมี HN อยู่ใน record ครับ ถ้าไม่เอาชื่อคนไข้ติดมาด้วย ก็ไม่น่าจะมีปัญหา (ผมคิดเอาเอง) เรื่องนี้อาจต้องคุยกับหัวหน้าภาคครับ เพราะอาจต้องแก้ไขเงื่อนไขการขอข้อมูลใหม่ ผมยืนยันครับ ว่าการขอข้อมูลผู้ป่วยเพื่อวิเคราะห์ จำเป็นต้องมี HN ผู้ป่วยติดมาด้วย อย่างน้อย เพื่อใช้ตรวจสอบได้ว่า ผู้ป่วยรายนี้มีการส่ง lab ซ้ำเข้ามาหรือไม่ การตรวจสอบจาก LabNo โดยไม่มี HN ติดมาด้วย ไม่สามารถทำได้ครับ
  • คำถามข้างบนเป็นสิ่งที่ต้องเจอแน่ๆครับ ว่าในช่วงที่เราศึกษามีคนไข้คนเดียวกันส่งมาตรวจมากกว่า 1 ครั้งหรือไม่ แล้วเรามีวิธีการแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร
สิ่งที่คุณ wwibul แนะนำ จริงๆ แล้วพี่อุไรวรรณที่คุณศิริไปขอข้อมูลทำให้ได้เลย เพียงแต่สื่อสารให้ดีว่าอยากได้อะไร 
  • หากทำตามที่คุณหมอปารมีว่าไว้ ข้อมูลเก่าทิ้งไปเลยยังได้ แต่ปัญหาจะอยู่ตรงสื่อกับโปรแกรมเมอร์ได้ตรงใจหรือเปล่า
  • อีกเรื่องคือ ความคิดที่แนะให้ทำย้อนหลังไป 5 ปี จะเป็นความคิดที่น่าสนใจ เพราะทำ 5 ปี กับทำ 1 ปี ความยากก็ไม่ต่างกัน
  • ปัญหาใหญ่จะอยู่ที่การตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะัห์ข้อมูลครับ เพราะถ้าโปรแกรมเมอร์เข้าใจความต้องการของเราผิด ผลจะออกมาเป็นอีกเรื่อง (ซึ่งรับรองได้ว่าเข้าใจไม่ตรงกัน 100 % อยู่แล้ว)

 

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำหลายท่านมาก ๆ ค่ะ เสียดายที่...

  • หากผู้เขียนได้เขียนบันทึกได้เร็วกว่านี้ก็คงดี
  • สำหรับเรื่องโปรแกรมคอมพิวเตอร์ผู้เขียนคล้าย ๆ กับเป็ดค่ะ ใช้พอเป็นในหลายโปรแกรม แต่ก็ไม่ชำนาญสักอย่าง ทั้ง word Excel SPSS ภูมิใจอยู่อย่างคือพิมพ์สัมผัส แต่ก็ได้เฉพาะไทยอย่างเดียว 
  • อาจเป็นไปได้ว่าผู้เขียนผิดเองที่สื่อความได้ไม่ชัดเจน  
  • ตอนนี้สนใจเรียน Access แต่ส่วญใหญ่ตอนนี้เปิดสอนเสาร์-อาฑิตย์ ซึ่งผู้เขียนติดอยู่เวรอีก
  • ขอบคุณทุกท่านอีกครั้งค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท