ความฝันผู้กล้า @ กาฬสินธุ์


ความฝันผู้กล้า @ กาฬสินธุ์

๒๙ กรกฏาคม ๒๕๕๗ ณ ศูนย์รักษ์ภูมิปัญญา

กิจกรรล้านกล้ารากแก้วเป็นที่มาของการคุยกันว่า ปิดเทอม 6 เดือนนี้สร้างปัญหา!! ทำให้ นศ ต้องหางานทำและไม่เข้ามาเรียนต่อ "จะทำไงให้เขามีรายได้และอยู่ในพื้นที่" จนทำให้เกิดความร่วมมือในการคิดแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันของ ทีมงานรากแก้ว ทีมงานปราชญ์ของศูนย์รักษ์ภูมิปัญญา และทีมงานอาจารย์จากมรภ.กาฬสินธุ์ ชื่อโครงการ "ความฝันผู้กล้า"

การออกแบบแนวคิดนี้ครั้งแรกเป็นการสร้างหมู่บ้านของนักศึกษา(ภายหลังเรียกหมู่บ้านรากแก้ว)โดยให้นักศึกษาที่สนใจหารายได้ด้วยการเกษตรระหว่างเรียนมาอยู่ด้วยกัน ภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยและอาศัยองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ภูมิปัญญาร่วมกับพ่อ-แม่ปราชญ์ในศูนย์รักษ์ภูมิปัญญา โดยหวังว่าจะลดการพึ่งพิงจากครอบครัว เพื่อลดปัญหาการกู้หนี้ยืมสินมาส่งลูกเรียน

ลูกกตัญญูฤาเหล่าผู้กล้าทั้งหลายเมื่อทราบข่าวโครงการนี้ก็มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก แต่การขับเคลื่อนโครงการยังไม่สามารถที่จะทำให้ฝันของเหล่าผู้กล้านั้นเป็นจริงได้ เนื่องจากการเริ่มโครงการติดอุปสรรคต่างๆ ตั้งแต่เรื่องนโยบายจนถึงงบประมาณ จนทำให้โครงการนี้ได้หยุดชะงักลง ทำให้ผู้ร่วมขับเคลื่อนทุกฝ่ายได้มาร่วมกันสังเคราะห์ปัญหาอะไร ที่ทำให้โครงการไม่สามารถขับเคลื่อนได้

สรุปปัญหาที่พบ

- ฝั่งศูนย์รักษ์ภูมิปัญญา

- พร้อมให้ความรู้กับนักศึกษาที่สนใจ
- ฝั่งทางมหาวิทยาลัยฯ

- ขาดบุคคลากรที่จะมาเป็นที่ปรึกษาและนำนักศึกษาเข้ามาร่วมกิจกรรม

- ขาดนโยบายของผู้บริหารที่ให้การสนับสนุนและพื้นที่การดำเนินงาน

- ขาดงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม

- ฝั่งทางรากแก้ว

- ขาดการประสานแหล่งทุนเพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรม


๒๓ มกราคม ๒๕๕๘ ณ บ้านป้านาง

หลังจากโครงการความฝันผู้กล้าหยุดนิ่งดั่งรถไถร้อยแรงม้าขาดน้ำมันในเครื่อง ส่วนทางผู้ร่วมขับเคลื่อนก็พยายามขับเคลื่อนโดยมิได้หยุดหย่อน แต่อาจเป็นเพราะฤดูฝนพัดลมสาดเลยทำให้ขึ้นสนิมบ้างก็เป็นได้ แต่ในวันที่มองไม่เห็นทางก็ได้มีแสงแรกแห่งฤดูความหวังสาดส่องมา

ในวันหนึ่งก็ได้ทราบข่าวจากทางพ่อ-แม่ปราชญ์ว่ามีนักเรียนสามขาพัฒนาสังคมเข้ามาเรียนรู้ในภูมิปัญญาแต่ละมิติ และได้มีอาจารย์ที่มีความสนใจในวิถีชีวิตภูมิปัญญา คาดว่าทั้งอาจารย์และนักศึกษาน่าจะเหมาะสมกับโครงการความฝันผู้กล้า เมื่อได้ยินเช่นนั้นทางทีมงานรากแก้วก็ได้ขอความร่วมมือกับผู้ร่วมขับเคลื่อนในการขอนัดพูดปะพบคุยถึงความฝันผู้กล้า ยามอากาศหนาวเย็นวันนั้นก็ได้มาถึง เราได้สุมกองไฟเพื่อไล่ความเหน็บหนาว หลังจากพูดคุยกับอาจารย์ผู้กล้าทั้งสองท่านแล้วทำให้เห็นโอกาสในการเริ่มต้นโครงการที่ดีต่างๆ ในอนาคต

.. แล้วความฝันผู้กล้าจะเกิดขึ้นจริงมั้ย?.. คำถามนี้ยังคงติดค้างคาในใจของผู้ร่วมขับเคลื่อนทุกคน ยามดึกที่เงียบสงัด ลดเย็นพัดโบกกองไฟเริ่มมอด แต่คำตอบนั้นดูเหมือนจะห่างไกลออกไป แต่แล้วความอบอุ่นเริ่มก่อตัวขึ้นพร้อมกับกองไฟที่ทุกคนหยิบฟืนมาสุมจนลุกโชนโชติช่วง พร้อมกับเวลาดึกที่ทุกคนต้องแยกย้ายสลายตัว คำถามสุดท้ายที่ติดค้างคาใจทุกคนได้หยิบยกเป็นประเด็นสุดท้าย เพื่อถามอาจารย์ทั้งสองท่านก่อนกลับ

ก่อนคำตอบจะได้เอื้อนเอ่ยออกมา กลิ่มไหม้ปนหอมของข้าวจี่ก็ลอยมา ทุกคนต่างได้รับข้าวจีที่หอมและอุ่นๆ ร้อนๆ อยู่ในมือ ระหว่างที่กำลังกินอาหารวัฒนธรรมอย่างอเร็ดอร่อยคำตอบที่รอคอยของผู้ร่วมขับเคลื่อน ก็ได้เผยตัวออกมาพร้อมกับรอยยิ้มที่อิ่มใจของทุกคน ทำให้การกินข้าวจี่มื้อนั้นอร่อยยิ่งกว่าอาหารทั้งปวง

สรุปแนวทางกาแก้ไข

- แนวคิด : ปรับเปลี่ยนความเป็นอยู่ตามปกติแต่ร่วมกันทำกิจกรรมในพื้นที่ส่วนกลาง(มรภ.กาฬสินธุ์) โดยมีระบบการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ อย่างมีระเบียบและสามารถวัดผลได้

- ฝั่งศูนย์รักษ์ภูมิปัญญา

- ให้ความรู้และการสนับสนุนเรื่องการเพาะเห็ด

- ให้การสนับสนุนองค์ความรู้เรื่องเห็ดอย่างครบวงจรและร่วมมือกันสร้างโรงเห็ด
- ฝั่งทางมหาวิทยาลัยฯ

- อาจารย์เป็นที่ปรึกษาและนักศึกษาเข้ามาร่วมกิจกรรม โดยบูรณาการเข้าสู่รายวิชา

- รายวิชา การจัดการองค์กรและเครือข่าย

- รายวิชา การจัดการองค์การธุรกิจ

- มีนโยบายของผู้บริหารที่ให้การสนับสนุนและพื้นที่การดำเนินงาน

- งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมของโครงการพระราชดำริ

- ฝั่งทางรากแก้ว

- การประสานแหล่งทุนเพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรม


๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ณ ม.เกษตร สกลนครฯ

หลังจากได้คำตอบและคำมั่นสัญญาจากวงข้าวจี่ ทางโครงการรากแก้วก็ได้มีการจัดสัมมนา "อุดมศึกษากับการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และในการจัดสัมมนาครั้งนี้ได้มีการจัดเวทีแรกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ "ความฝันผู้กล้า" ซึ่งผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในวันนี้ได้มาอัพเดตการทำกิจกรรมขอตนเอง โดย มรภ.กาฬสินธุ์ได้นำเสนอความคืบหน้าโครงการ โดยแผนที่จะดำเนินการมีดังนี้


๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ นาดอนโมเดล

เมื่อได้นำเสนอแผนการดำเนินกิจกรรมแล้ว ในวันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม 2558 ทางทีมงานรากแก้วร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มผู้ขับเคลื่อนโครงการความฝันผู้กล้า โดยประกอบด้วย คณะทำงานศูนย์รักษ์ภูมิปัญญา คณะอาจารย์และนักศึกษา มรภ.กาฬสินธุ์ โดยเนื้องานหลักคือการวางแผนการจัดกิจกรรม

การวางแผนการจัดกิจกรรม โดยกิจกรรมที่เหล่าผู้กล้าจะต้องทำเพื่อหารายได้ในระหว่างเรียน และลดการพึ่งพิงจากครอบครัว เพื่อลดปัญหาการกู้หนี้ยืมสินคือ "เพาะเห็ด เพาะฝัน เพาะผู้กล้า" ซึ่งโครงการดังกล่าวคือการนำการเพาะเห็ดมาเป็นอาชีพเสริมระหว่างเรียน เนื่องจากในภาคอีสานเห็ดขอนดำเป็นที่นิยมเพาะง่ายและมีตลาดรองรับได้ถึงวันละ 4 ตัน ซึ่งน้องๆ เห็นถึงศักยภาพของการตลาดรวมถึงการผลิตที่ง่ายไม่ซับซ้อนจึงเกิดความต้องการที่จะทำการเพาะเห็ด โดยวันนี้น้องๆ นักศึกษาได้มาคุยกันถึงการวางระบบการจัดการ ซึ่งน้องๆ บอกว่าอยู่ในเนื้อหาการเรียน และวันนี้เป็นวันปฐมฤกษ์แห่งการลงมือปรับพื้นที่และการวางผังโรงเรือน

ตอนเย็นได้แลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมมือในการขับเคลื่อนเพื่อขอทราบความก้าวหน้า มีรายละเอียดที่เพิ่มเติม โดยการทำกิจกรรมนี้ได้มีการบูรณาการการเรียนร่วมกันจำนวน 3 ของนักศึกษาทั้งสองสาขา(การจัดการวัฒนธรรมและพัฒนาสังคม)เข้ากับทั้งสองรายวิชา(การจัดการองค์การธุรกิจและการจัดการองค์กรและเครือข่าย) และได้มีการออกแบบโลโก้เรียบร้อยแล้ว

สรุปควาคืบหน้า

- ฝั่งศูนย์รักษ์ภูมิปัญญา

- นำบุคลากรของศูนย์มาร่วมกันทำกิจกรรมปรับพื้นที่

- นำบุคลลากรมาจัดทำแผนผังโรงเห็ด 4 โรง
- ฝั่งทางมหาวิทยาลัยฯ

- อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันกับบุคคลากรในการปรับพื้นที่ และวางผังโรงเห็ด

- มีการร่วามกันวางแผนและการจัดทำโครงการ

- มีการจัดำโลโก้โครงการ

- ฝั่งทางรากแก้ว

- ประสานงานเพื่อหางบประมาณมาร่วมกับคณะทำงาน

หมายเลขบันทึก: 587013เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2015 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2015 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในที่สุดบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาได้รับ มีอยู่บทเรียนหนึ่งที่ไม่สามารถสอนกันได้คือ วิชา "ปณิธาน" ในเรื่อง การมีปณิธานร่วมกัน
ปณิธานร่วมกันเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนกระบวนการที่มีพลังมากมาย เป็นแกนหลังของความสามัคคี เป็นต้นทุนทางจิตใจและความคิด
สิ่งที่ได้รับในโครงการนี้มีค่ามากกว่า "เงิน"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท