รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการอาหารกลางวันนักเรียน #ขับเคลื่อนโนยบายสาธารณะโภชนาการสมวัย


รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการอาหารกลางวันนักเรียนหลังจากขึ้นเป็นคนละ 20 บาท และการดำเนินโครงการอาหารกลางวันนักเรียนประถมศึกษา


การจัดการคุณภาพอาหารกลางวันหลังได้รับงบประมาณ 20 บาท ยังพบปัญหาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ กล่าวคือ ในเชิงปริมาณยังมีโรงเรียนหลายแห่งที่ยังไม่ได้รับงบประมาณ 20 บาท สำหรับในเชิงคุณภาพคือ ขาดการจัดการอาหารและโภชนากรที่มีคุณภาพได้มาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย ที่ควรเป็นไปตามปริมาณพลังงานและสารอาหารมื้อกลางวัน ควรได้รับ 40% ต่อวัน (ตารางที่ 4) ซึ่งหากพัฒนาความรู้ให้ผู้เกี่ยวข้องจากสื่อและนวัตกรรรมของกรมอนามัยจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

แต่อุปสรรคสำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ ในโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก ที่จ้างเหมาบริการจัดอาหารกลางวัน ยังขาดมาตรฐาน (Spec)ที่กำหนดปริมาณและสารอาหารไว้ในมาตรฐานอาหารกลางวันในโรงเรียนไทย(ตารางที่ 5) ซึ่งกรมอนามัยได้จัดทำเพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมคุณภาพและราคาอาหารใช้สำหรับตรวจรับ เพราะการจัดซื้อจัดจ้างด้วยการพิจารณาราคาต่ำไม่สามารถใช้ได้กับเรื่องอาหารเด็ก ด้วยจะทำให้เด็กได้รับคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอกับการเจริญเติบโต

ข้อค้นพบจากการติดตามและประเมินผลการจัดการอาหารกลางวันนักเรียนมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. ข้อสังเกตจาการตรวจเยี่ยมโรงเรียน 4 ภาค พบว่า

1)ผู้บริหารโรงเรียน คุณครูผู้รับผิดชอบ แม่ครัว และผู้ประกอบการอาหารยังไม่เข้าใจหลักการการจัดการอาหารและโภชนาการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย

2)เครื่องมือ สื่อ นวัตกรรม ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาคุณภาพอาหารโรงเรียนมีน้อยและไม่เพียงพอ รวมทั้งผู้ใช้ไม่เข้าใจและเห็นประโยชน์ เช่น

    • คู่มือการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการ สำหรับผู้บริหาร ยังไม่มี /คู่มือผู้นิเทศใช้ประเมินคุณภาพ อาหารยังไม่มี
    • คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติงานมีน้อย
    • โปรแกรม Thai School Lunch ผู้ใช้ยังไม่เข้าใจ และไม่เห็นประโยชน์

3)สถานที่ปรุง ประกอบอาหาร วัสดุอุปกรณ์งานบ้าน งานครัว เช่น เขียง จาน ถาดหลุม สถานที่ ล้างจาน สถานที่เก็บอุปกรณ์หลายโรงเรียน ยังไม่ผ่านเกณฑ์สุขาภิบาลอาหาร

4)โรงเรียนที่มีโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันและการเรียนรู้ของเด็กจะจัดอาหารกลางวันได้ หลากหลาย ครบ 5 หมู่ มากกว่าโรงเรียนที่ไม่มีโครงการฯ

5)โรงเรียนที่มีครูจบการศึกษาด้านคหกรรมศาสตร์ รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน จะจัดบริการ อาหารกลางวันได้คุณภาพตามมาตรฐาน โภชนาการมากกว่าโรงเรียนที่ไม่มีครูจบคหกรรมศาสตร์

2. ข้อเสนอแนะในการจัดอาหารกลางวันสำหรับเด็กให้มีคุณภาพ

1)มาตรฐานอาหารกลางวันในโรงเรียนไทย


2)ปริมาณสารอาหารร้อยละ 40 ของความต้องการประจำวันของเด็กไทยแต่ละวัยที่กำหนดเป็นเป้าหมายสำหรับการจัดอาหารกลางวันและอาหารว่างในโรงเรียน


3)เคล็ดลับในการจัดชุดสำรับอาหารกลางวันต่อสัปดาห์


ที่มา. น.ส.วรลักษณ์ คงหนู สำนักโภชนาการ กรมอนามัย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท